ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ข่าวเด่น / ไฮไลท์ ย้อนกลับ
ไทยหวังเป็น HUB ด้านการแพทย์ โชว์จมูกนาโซฟอร์มแก้ปากแหว่งเพดานโหว่
14 ม.ค. 2562

ไทยหวังเป็น HUB ด้านการแพทย์  โชว์อุปกรณ์ควบคุม  จมูกนาโซฟอร์มแก้โรคปากแหว่งเพดานโหว่

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ โชว์นวัตกรรม “อุปกรณ์ควบคุมจมูกนาโซฟอร์ม” แก้โรคปากแหว่งเพดานโหว่ทำให้จมูกผู้ป่วยใกล้เคียงปกติ อีกทั้งสามารถถอดทำความสะอาดได้ง่าย ลดโอกาสที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขซ้ำ ช่วยเพิ่มความมั่นใจที่ในการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ และ การใส่“รากฟันเทียมนวัตกรรมใหม่” ช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยลง ลดระยะเวลาในการรักษา 

น.ส.ทิพวัลย์ เวชการัณย์ ผอ.สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์(สอว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ภายใต้การสนับสนุนของ สอว.ได้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ โดยได้ค้นคิด “อุปกรณ์ควบคุมจมูกนาโซฟอร์ม (Nasoform)” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการปรับและควบคุมรูปร่างจมูกหลังผ่าตัดเพื่อช่วยพยุงโครงสร้างของจมูกจนสามารถอยู่ตัวได้เองหรือเปรียบได้กับไม้ค้ำยันไม่ให้ล้ม

รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.พนารัตน์ ขอดแก้ว  คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  กล่าวว่า
อุปกรณ์ควบคุมจมูกนาโซฟอร์มได้มีการทดลองใช้ในกลุ่มผู้ป่วยกว่า 100 ราย พบว่าสามารถควบคุมรูปร่างจมูกหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ได้ดี ทำให้จมูกผู้ป่วยใกล้เคียงปกติ อีกทั้งสามารถถอดทำความสะอาดได้ง่าย ลดโอกาสที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขซ้ำ ช่วยเพิ่มความมั่นใจที่ในการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวคาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเด็กที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ โดยหากมีการใช้งานประมาณ 200 ครั้ง จะสามารถช่วยลดต้นทุนในการผ่าตัดซ้ำเพื่อแก้ไขรูปทรงของจมูกได้สูงถึง 600 ครั้ง หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 19.2 ล้านบาท 
"นอกจากนี้ยังได้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการแพทย์กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว ในการให้ความรู้ทางด้านการปรับแก้รูปทรง จมูกและปากที่ผิดปกติ และหวังจะเป็นศูนย์กลางด้านการเรียนรู้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านด้วย"

 นอกจากนี้ ทางคณะทันตแพทย์ยังได้ คิดค้นรากฟันเทียมนวัตกรรมใหม่ เพื่อช่วยในการรักษารากฟัน
รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร.ปฐวี คงขุนเทียน ผู้ประดิษฐ์และเจ้าของงานวิจัย “เทคโนโลยีรากฟันเทียมนวัตกรรมใหม่” กล่าวว่า ปกติการรักษารากฟันเทียมทั่วไปที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ระยะเวลานาน เนื่องจากต้องผ่าเปิดแผลเพื่อใส่รากเทียม เจาะและเย็บปิด ก่อนรอเวลาอีกราว 3 เดือน รวมทั้งเมื่อแผลหายดีแล้วจึงจะใส่ฟันเทียมได้ โดยเฉพาะการรักษารากฟันแต่ละครั้งนั้นมีราคาสูง ดังนั้น เทคโนโลยีรากฟันเทียมนวัตกรรมใหม่ (NOVEM IMPLANT) จึงได้รับการพัฒนาขึ้นให้มีการออกแบบที่จำเพาะของรากฟันเทียม ทำให้มีความเสถียรสูง โดยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนหัวที่ยึดกับฟันปลอม และส่วนลำตัวที่ยึดติดกับกระดูกกราม ซึ่งการใช้งานนั้นจะเปิดแผลขนาดเล็กเพื่อใส่ส่วนลำตัวที่ยึดกระดูกกราม ทำให้คนไข้เจ็บน้อยลง การฟื้นตัวเร็วขึ้น ไม่ต้องรอนาน เนื้อเยื่อเสียหายไม่มาก คนไข้สามารถใส่รากฟันเทียมแล้วเสร็จในครั้งเดียว แผลเล็กหายเร็ว ยึดกับกระดูกได้ดี เมื่อสึกหรอจากการใส่เข้า-ออกฟันปลอมแล้ว สามารถเปลี่ยนส่วนหัวได้ทันที ไม่จำเป็นต้องรื้อทิ้งเหมือนเดิม ทั้งยังใช้ร่วมกับทันตกรรมดิจิตอลได้ เช่น การสแกนฟัน การคลอบฟัน เป็นต้น ที่สำคัญ ราคาถูกลงในระดับที่คนไทยสามารถจ่ายได้ และเทคโนโลยีรากฟันเทียมนี้จะมีการนำงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ในรูปแบบ Tech Start Approach โดยได้ดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทภายใต้ชื่อ บริษัท โนเว็ม อินโนเวชั่น จำกัด ซึ่งผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีดังกล่าวมีมาตรฐานการผลิต ISO 13485 และผ่านการรับรองมาตรฐานของสหภาพยุโรป (CE mark) มุ่งเน้นการจำหน่ายยังต่างประเทศ เช่น กลุ่มอาเซียนและยุโรป เป็นต้น โดยมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการใช้งานเทคโนโลยีการพัฒนาการรักษาด้วยวิธีการใช้รากฟันเทียม ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยลง ลดระยะเวลาในการรักษา และสร้างการรับรู้ถึงศักยภาพด้านนวัตกรรมของคนไทยก้าวไกลสู่สากล พร้อมทั้งคาดการณ์ว่าการส่งออกเริ่มต้น ในกลุ่มประเทศอาเซียน คิดเป็นมูลค่า 21 ล้านบาทต่อปี หรือ 63 ล้านปีในระยะเวลา 3 ปี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...