ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ข่าวเด่น / ไฮไลท์ ย้อนกลับ
แพทย์เผยอาการท้องเสียในเด็ก แนะพ่อแม่สังเกตได้
24 พ.ค. 2562
          สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์เผยปัญหาท้องเสียในเด็กเป็นเรื่องที่พบเจอได้บ่อยแต่อย่านิ่งนอนใจควรสังเกตหากการขับถ่ายมีลักษณะที่ผิดปกติไปจากเดิม ให้รีบพาไปพบแพทย์
 
          นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริรองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ท้องเสียเป็นกลไกการกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกายพบว่าประมาณ 70%ในเด็กเล็กอายุไม่เกิน 1 ปีเกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย ซึ่งมักจะเข้าทางปากโดยการกินอาหารหรือดื่มนมซึ่งปนเปื้อนเชื้อโรคแม้กระทั่งการหยิบจับสิ่งของคลานเล่นรับเอาเชื้อโรคเข้าปากโดยยังไม่รู้จักวิธีป้องกันตัวเองรวมทั้งเด็กมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ซึ่งภูมิต้านทานโรคส่วนหนึ่งอาจได้รับมาจากการกินนมแม่และการได้รับวัคซีน อีกส่วนหนึ่งร่างกายสร้างขึ้นโดยการสัมผัสเชื้อโรคตามธรรมชาติและสร้างภูมิต้านทานจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งต้องใช้ระยะเวลาทั้งนี้หากเด็กมีอาการท้องเสียพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถดูความผิดปกติได้จากลักษณะและความถี่ของอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติเช่นเป็นเนื้อเหลวความถี่ 3 ครั้งขึ้นไป เป็นมูกเลือด1 ครั้งหรือเป็นน้ำปริมาณมาก 1 ครั้งขึ้นไป ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง
 
          นายแพทย์วิบูลย์  กาญจนพัฒนกุล รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีป้องกันท้องเสียที่ดีที่สุดคือ การรักษาความสะอาดเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าปากเด็กทั้งนี้เริ่มตั้งแต่ผู้เลี้ยงเด็กต้องหมั่นล้างมือทุกครั้ง ก่อนจะหยิบจับอาหารหรือชงนมให้เด็กที่กินนมผสมรวมทั้งขวดนมจุกนม ต้องล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทันทีและฆ่าเชื้อโดยการต้มจนเดือดอย่างน้อย10 - 15 นาที ควรชงนมในปริมาณที่กินหมดในครั้งเดียว ถ้ายังกินไม่หมดควรมีฝาครอบจุกให้มิดชิดและไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 2 ชมแต่ถ้าเด็กมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือมูกเลือดไข้สูงหรือชักอาเจียนบ่อยท้องอืดหอบลึกไม่ยอมดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทุกชนิดไม่ยอมดื่มนมหรือกินอาหารหรือหากดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่แล้วแต่เด็กยังดูเพลียซึมถ่ายอุจจาระเป็นน้ำบ่อย (มากกว่า 10 ครั้งต่อวัน)ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...