ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ข่าวเด่น / ไฮไลท์ ย้อนกลับ
โรคกระดูกข้อสะโพกตาย ใส่ใจก่อนสายเกินแก้
26 ก.พ. 2563

          นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีการการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคกระดูกข้อสะโพกตาย พบได้ในช่วงอายุ 30-40 ปี เกิดจากเส้นเลือดที่มาเลี้ยงหัวกระดูกข้อสะโพกเกิดการอุดตัน หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุ ทำให้เลือดไม่สามารถนำสารอาหารมาหล่อเลี้ยงหัวกระดูกข้อสะโพกได้จนทำให้เซลล์หัวกระดูกข้อสะโพกค่อยๆตาย และผิวข้อสะโพกเสีย หลังจากนั้นหัวกระดูกข้อสะโพกจะไม่สามารถรับน้ำหนักร่างกายได้จึงเกิดการยุบตัวของหัวกระดูก สร้างความเจ็บปวดต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และทำให้ไม่สามารถเดินได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังเกิดจากอุบัติเหตุโดยตรงต่อผิวข้อ ที่พบบ่อยคือ พบการแตกหักของกระดูกบริเวณข้อสะโพก ส่งผลทำให้เส้นเลือดที่มาเลี้ยงถูกทำลาย เส้นเลือดที่ฝังตัวอยู่ฉีกขาด จนทำให้เกิดการตายของหัวกระดูกต้นขา ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ทานยาสเตียรอยด์จำนวนมากเป็นประจำ มีไขมันในเลือดสูง และการได้รับเคมีบำบัด เป็นต้น

          นายแพทย์ศักรินทร์ วงศ์เลิศศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กล่าวว่า ในระยะแรกที่อาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดที่ขาหนีบหรือข้อสะโพก และเวลาเดินจะมีอาการปวดมากขึ้น ต่อมาจะยืนเดินลำบากมาก และรู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อขยับข้อสะโพก การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธี x-ray และ MRI โดย x-ray จะเห็นถึงความแข็งแรงของโครงสร้างและหัวกระดูกสะโพกทรุดตัวมากน้อยแค่ไหน ส่วน MRI สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างกระดูกในช่วงแรก ซึ่งอาจไม่เห็นในภาพถ่าย x-ray และ MRI ยังช่วยประเมินได้ว่าโรคนี้ส่งผลกระทบต่อกระดูกมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ยังตรวจพบภาวะกระดูกข้อสะโพกตายได้ตั้งแต่เริ่มต้น สำหรับการรักษาโรคนี้โดยการทำกายภาพบำบัด เป็นเพียงประคับประคองตามอาการเท่านั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดข้อสะโพก แต่จะผ่าตัดเล็กหรือผ่าตัดใหญ่ขึ้นอยู่กับการตรวจพบเร็วแค่ไหน ดังนั้นถ้ามีอาการที่สงสัยหรือทำให้เกิดการกังวลอย่านิ่งนอนใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์และรักษาทันที

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...