ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สังคม / บุคคล ย้อนกลับ
กฟผ. ปล่อยคาราวานตู้ตรวจความดันบวกและลบ มอบ รพ. 100 แห่ง สู้ COVID-19
22 เม.ย. 2563

                กฟผ. ปล่อยขบวนรถคาราวานตู้เก็บสิ่งส่งตรวจความดันบวกและความดันลบ ที่ กฟผ. ผลิต จำนวน 120 ตู้  มอบให้กับโรงพยาบาล 100 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อสู้วิกฤต COVID-19 ช่วยลดความเสี่ยงจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย

              วันนี้ (21 เมษายน 2563) นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานในพิธีปล่อยขบวนรถคาราวานตู้เก็บสิ่งส่งตรวจความดันบวกและความดันลบนำไปมอบให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อสู้วิกฤต COVID-19 โดยมีผู้บริหาร และพนักงาน กฟผ. เข้าร่วมในพิธี ณ กฟผ. สำนักงานกลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

            นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. เล็งเห็นความสำคัญในการร่วมแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)​ จึงระดมสรรพกำลังความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมของและเทคโนโลยีสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ ผลิตตู้เก็บสิ่งส่งตรวจความดันบวกและความดันลบ เพื่อลดความเสี่ยงจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย สู้วิกฤต COVID-19 จำนวน 120 ตู้ มอบให้กับโรงพยาบาลจำนวน 100 แห่ง ทั่วประเทศ โดยเบื้องต้นได้ส่งมอบตู้เก็บสิ่งส่งตรวจระบบความดันบวก จำนวน 10 ตู้ และตู้เก็บสิ่งส่งตรวจระบบความดันลบ จำนวน 10 ตู้ ให้กับโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 ตู้ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า โรงพยาบาลบางกรวย 1 โรงพยาบาลบางบัวทอง 1 และ 2 โรงพยาบาลบางใหญ่ โรงพยาบาลไทรน้อย ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน โรงพยาบาลปากเกร็ด 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า โรงพยาบาลทหารเรือพังงา โรงพยาบาลสมุทรปราการ โรงพยาบาลสถาบันราชประชาสมาสัย โรงพยาบาลบางปะกง และโรงพยาบาลวังน้อย แห่งละ 1 ตู้ ส่วนอีก 100 ตู้ จะดำเนินการส่งมอบให้กับโรงพยาบาลที่มีความต้องการต่อไป

สำหรับตู้เก็บสิ่งส่งตรวจความดันบวกและความดันลบ ที่ กฟผ. พัฒนาขึ้น ร่วมกับ นพ.อนวัช เสริมสวรรค์ รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยมทรงสูง ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และสูง 2 เมตร ผลิตจากแผ่นอะคริลิกใส หนา 6 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นขนาดและความหนาที่ศึกษาแล้วว่ามีเหมาะสมต่อการใช้งาน สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย โดยภายในตู้มีช่องสำหรับสอดมือซึ่งปิดผนึกอย่างมิดชิด เพื่อใช้เก็บสารคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยตู้เก็บสิ่งส่งตรวจความดันบวก บุคลากรทางการแพทย์จะปฏิบัติหน้าที่อยู่ภายในตู้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยแพร่กระจายเชื้อสู่บุคลากรทางการแพทย์ ส่วนตู้เก็บสิ่งส่งตรวจความดันลบ ผู้ป่วยจะอยู่ภายในตู้เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสจากผู้ป่วยแพร่กระจายออกมาในอากาศ โดยมีชุดควบคุมแรงดันอากาศ (Filter Box) ทำหน้าที่ดูดอากาศผ่านชุดกรองฆ่าเชื้อ (Hepa)​ และฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC เพื่อกรองอากาศและฆ่าเชื้อโรคก่อนปล่อยอากาศออกสู่ภายนอก จึงสามารถช่วยลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ในการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยและจำกัดพื้นที่การฟุ้งกระจายสารคัดหลั่งของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ เมื่อผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 แล้ว ตู้เก็บสิ่งส่งตรวจความดันบวกและความดันลบของ กฟผ. ยังสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้อีกด้วย

           นอกจากนี้ กฟผ. ยังจัดหาแอลกอฮอล์เพื่อสนับสนุนหน่วยงานด้านสาธารณสุขและคิดค้นสิ่งประดิษฐ์อย่างต่อเนื่อง อาทิ หน้ากากครอบใบหน้าความดันบวกสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ฉากกั้นอะคริลิคป้องกันเชื้อ เสากดแอลกอฮอล์เจลแบบเท้าเหยียบ กล่องอะคริลิกครอบศีรษะผู้ป่วย กล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการและจะส่งมอบให้โรงพยาบาลที่มีความต้องการต่อไป

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...