ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
หมอมงคลชี้ CPTPPไทยเสียเปรียบเข้าถึงยา/เพาะเมล็ดพืช
29 เม.ย. 2563

จากกระแสคัดค้านจากสังคมส่วนใหญ่ในที่สุดกระทรวงพาณิชย์ ได้ถอนการเสนอเรื่อง CPTPP เข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุม ครม. แล้วเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เหตุผล เมื่อยังมีความเห็นแย้งกันอยู่ระหว่างฝ่ายต่างๆ จึงได้ถอนเรื่องออกไปแล้ว และจะไม่เสนอเรื่องนี้อีก ตราบใดที่ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมยังมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ จากเดิมการเสนอเป็นไปตามมติของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ(กนศ.) ที่มี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2563 ที่ผ่านมา
CPTPP หรือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ซึ่งแต่เดิมคือ TPP (Trans-Pacific Partnership) เคยมีสหรัฐฯ เป็น 1 ใน 12 ประเทศสมาชิก มีจุดเริ่มจากประเทศชิลี สิงคโปร์ และนิวซีแลนด์ ได้มีการเจรจาเอฟทีเอระหว่างกันเมื่อปี 2546 หวังเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชีย อเมริกาใต้ และแปซิฟิก เข้าด้วยกัน จนบรรลุผลทั้ง 12 ประเทศ ลงนามความตกลงในปี 2559
เนื้อหาการลงนามครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุนเพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ โดยต้องมีอย่างน้อย 6 ประเทศ รับรองความตกลงฯ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ พร้อมการส่งสัญญาณความพร้อม ในการเปิดรับสมาชิกใหม่ โดยไทย สนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก ตั้งในสมัยรัฐบาล คสช.
 นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นหนึ่งในผู้คัดค้าน ออกชี้ชัดเป็นการเอารัดเอาเปรียบประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า ในหลายๆ เรื่องโดยเฉพาะการเข้าถึงยา ไทยจะไม่สามารถใช้สิทธิ (ซีแอล) นำเข้ายาต้านไวรัสเอชไอวี และยามะเร็งมาใช้ดูแลรักษาประชาชนได้ และจะกระทบเกษตรกร ไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองผูกขาด นำไปปลูกในฤดูกาลถัดไปได้ จะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกครั้ง

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...