ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ย้อนกลับ
หัวส่ายหางกระดิก!ทำบุญไม่ต้องไปวัด(สัมภาษณ์พิเศษรก.ผอ.เขตบางซื่อ)
04 มิ.ย. 2559

          การทำงานของกรุงเทพมหานคร นอกจากทีมผู้ว่าฯและรองฯแล้วยังมีฝ่ายบริหารที่ต้องถือว่าเป็นกลไกสำคัญต่อการปกครองในรูปแบบท้องถิ่นพิเศษรูปแบบนี้นั่นคือ ผู้อำนวยการเขต (ผอ.)ซึ่งในกทม.มีทั้งหมด 50เขต มีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บริหารสูงสุด แต่ละเขตจะแบ่งกันบริหารพื้นที่ ซึ่งวันนี้อปท.นิวส์ จะพาไปทำความรู้จักกับสำนักงานเขตบางซื่อโดยนายวุฒิชัย บุญสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตบางซื่อในฐานะรักษาการณ์ผู้อำนวยการเขต

อปท.นิวส์ - ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานการดูแลในพื้นที่เป็นอย่างไรบ้าง ?

รก.ผอ.เขตบางซื่อ - ปัญหาและอุปสรรคในพื้นที่บางซื่อ จริงๆแล้วมันก็ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่เราเองด้วย เพราะตัวเจ้าหน้าที่เรานี่เป็นตัวสร้างปัญหา ที่พูดแบบนี้เพราะว่า งานบางอย่างมันจะมีปัญหาหรือไม่มีปัญหา มันอยู่ที่ตัวเจ้าหน้าด้วย มันคือบุคลิกของแต่ละคน แล้วบางคนก็เป็นเพราะบุคลิกของผู้นำด้วย คนที่เป็นผอ.เขต คือเป็นผู้นำ นโยบายแต่ละเขตก็จะออกมาจากผู้นำ  มีอำนาจสูงสุดของเขต บางคนชอบทำเรื่องใหญ่ก็ให้เป็นเรื่องใหญ่ นั่นคือเป็นสไตล์คนโดยที่เขาก็ไม่รู้ตัวหรอก แต่บางคนชอบทำเริ่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก แล้วก็ทำเรื่องเล็กให้ไม่เป็นเรื่อง คือพูดง่ายๆว่าทำเรื่องเล็กให้ไม่มีเรื่อง ทีนี้ถามว่าทุกคนอยากทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ไหม ทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องมโหฬารไหม ถ้าตอบแบบวิญญูชน ทุกคนจะบอกผมไม่ต้องการๆ แต่บางคนทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่โดยไม่รู้ตัว เพราะด้วยบุคลิกหรือนิสัย เขาเรียกว่าทัศนคติแต่ละคนเป็นแบบนั้นจริงๆ ลองสังเกตเวลาไปคุยกับคน บางคนคุยง่ายแป๊บเดียวก็รู้เลย มองตาก็รู้แล้วว่า ต้องถามคำถามอะไร เราก็รู้ว่าเขาจะยิงคำถามแบบนี้ หรือมีเจตนาแบบนี้ เราก็จะรู้สึกพอใจ

          บางคนพูดแล้วทำเป็นไม่รู้เรื่อง ต้องให้เราอธิบายจนเวิ่นเว้อ ความรู้สึกประชาชนที่มาติดต่อก็เริ่มมีอาการ ทีนี้ที่บอกทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก และทำเรื่องเล็กให้ไม่เป็นเรื่อง ผมเองชอบเป็นคนอย่างนี้ แต่บางคนแทนที่จะเดินตรงไปต้องอ้อมไปก่อน ตรงนี้แหละที่จะทำให้ประชาชนรู้สึกว่า หน่วยราชการเป็นแบบนี้เหรอ เจ้าหน้าที่บุคลิกแบบนี้เหรอ ตรงนี้คือปัญหาๆหนึ่ง ทีนี้พอถามว่า ปัญหาเกิดจากอะไรบ้าง หนึ่งปัญหาจากพื้นที่ สองเรื่องตัวบุคลากร ทีนี้การทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็กบางครั้งมันอาจไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะระเบียบมันต้องเดินตามสเต็ป ทีนี้งานบางอย่างกับบ้านเมืองพัฒนาในหลายเรื่องๆ บวกกับภาวะประชาชนที่ต้องการในบางเรื่อง ตามขั้นตอนต้องรอการสอบสวน ต้องมีกรรมการ มีพยาน ต้องนำมาจำนวนเท่านี้ กี่คน แบบนี้ประชาชนเหนื่อย วิ่งหาพยานมาเพิ่ม แต่ถ้าเจ้าหน้าที่จะเชื่อตั้งแต่พยานคนแรก สองคนแรกก็จบแล้ว นี่คือปัญหาที่เกิดจากตัวเจ้าหน้าที่ มีส่วนให้เกิดปัญหา ถ้าเจ้าหน้าที่รู้จักย่นย่อ ใช้หลักการปกครองมากๆอย่าไปยึดกฎระเบียบแบบแผนเสียจนขาดเหลือไม่ได้เลย แต่ของผมไม่ได้มีแบบนั้น จะพูดจาให้ชัดเจน อธิบายให้ชัด พูดนานพูดเยอะไม่ใช่พูดส่งเดช ต้องยอมเสียเวลาพูดให้ประชาชนเข้าใจ ประชาชนถ้าเขาฉลาด ถ้าเขารู้ เขาจะไม่มาพึ่งเราหรอก ที่เขามาเพราะเขาไม่รู้ เช่นเดียวกับข้าราชการจะรู้บางเรื่องที่ประชาชนไม่รู้ บทบาทสื่อเราก็ไม่รู้หรอก มันขึ้นอยู่ความถนัดวิชาชีพ  เราต้องสื่อสารกับเขาให้เข้าใจ เจ้าหน้าที่มีส่วนให้เกิดปัญหา บางคนมาหน่วยราชการอ้างผู้ใหญ่ แต่อ้างในเรื่องที่ตัวเองก็ทำผิด แต่บางคนที่มาก็ดี ซึ่งนี่คือปัญหาที่เกิดจากประชาชนเอง ต้องให้เกียรติข้าราชการด้วยคือทั้งสองส่วน 

          ข้าราชการขึ้นอยู่กับว่าถ้าผู้บังคับบัญชาบอกห้ามเยอะ เขาก็จะเยอะไม่ได้ ถ้ามันจะเยอะต้องแอบ แต่ก็จะมีจำนวนน้อย แต่ถ้าหัวไม่ใส่ใจเช้ามาก็เซ็นงาน เย็นก็กลับบ้าน เช้าชามเย็นชามแบบนี้ ลูกน้องก็เละ แต่ผมไม่ชอบคนอย่างนั้น ผมไม่สนใจใครจะมาเช้ามาสาย บางคนมาเช้าเพราะกลัวรถติด มาถึงก็นอนกับโต๊ะ ไม่ได้ประโยชน์ บางคนมาสายแต่ทำเต็มที่ใส่ใจประชาชน ผมพูดกับข้าราชการเสมอนะว่าการทำงานทุกวันนี้ นอกจากได้เงินเดือนกินแล้วทำตามหน้าที่แล้วบริการประชาชนได้บุญด้วย ประชาชนที่เดือดเนื้อร้อนใจมาหาแล้วมีความสุขกลับไป ปัญหาเขาได้รับการแก้ไข เราก็เหมือนได้บุญ เขาบอกว่าทำบุญไม่ต้องไปทำที่วัดหรอก บำบัดทุกข์บำรุงสุข การแก้ปัญหาแก้ไขได้ แก้เป็นก็จบ ต้องเจรจา ผมกล้าพูดข้าราชการแก้เป็นหมดแหละ แต่บางคนขี้เกียจสันหลังยาว ไม่อยากแก้

อปท.นิวส์ - ให้ชาวบ้านไปแก้กันเอง ?

รก.ผอ.เขตบางซื่อ – ให้ไปคุย ไปว่ากันเอง เป็นเรื่องส่วนตัว ไปว่ากันเองอยู่บ้านใกล้เคียงกัน ปล่อยให้เขาไปแก้กันเองพูดแบบนี้คือปัดสวะให้พ้นตัว แบบนี้จะมีหน่วยข้าราชการไว้ทำไม ไม่ใช่บำบัดทุกข์บำรุงสุข เราต้องไปพูดให้เขาเชื่อ ให้เขาเข้าใจ เมื่อเข้าใจกันแบบนี้ก็เรียกว่าปรองดอง

          การขอคืนพื้นที่ในกรุงเทพฯบางแห่ง เช่น ที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่เขาต้องการที่คืนแต่คนไม่ยอมย้ายออกบอกว่าอยู่มานานแล้วตั้งแต่รุ่นพ่อแม่เป็นตำนาน การอยู่นานมันจะเปลี่ยนจากที่คุณผิดเป็นคนถูกหรือเปล่า มันไม่ใช่  คือคุณจะอยู่นานขนาดไหนก็ตาม ถ้ามันผิด ก็คือผิดนั่นแหละ การเวนคืนก็ต้องมีมาตรการชดเชยที่เหมาะสมถูกต้อง เป็นธรรมด้วยนี่พูดเฉพาะที่บุคคล ส่วนที่ทรัพย์สินนี่ไม่ต้องพูดถึง  เขาต้องการพื้นที่คืนได้อยู่แล้ว ซึ่งก็มีการจ่ายชดเชยด้วยแม้จะต้องให้ออกก่อนสัญญากัน การบอกว่าอยู่มานานก็ใช่ว่ามันจะถูก ต้องใช้กฏหมายบังคับโดยเด็ดขาด ใช้นิติศาสตร์

อปท.นิวส์ - สถานที่สำคัญของเขตบางซื่อ ?

รก.ผอ.เขตบางซื่อ – พื้นที่ทั่วไปก็มีรถไฟฟ้าเหมือนเขตจตุจักร ต่อไปประชาชนจะหนาแน่น ส่วนสถานที่ที่น่าสนใจทางด้านประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา มีวัดเด่นๆ คือ วัดสร้อยทอง มีเรื่องเล่าขานกันมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง วัดโดนระเบิด ทั่วย่านนั้นโดนระเบิดกันหมด แต่มีพระพุทธรูปที่คู่กับวัดสร้อยทอง เขาเรียกว่า หลวงพ่อเหลือ ไม่ชำรุดเสียหาย คนก็ถือว่าเป็นบุญบารมี  ก็กราบไหว้เคารพกันมาจนถึงทุกวันนี้ ทีนี้ที่นั่นก็มีพิพิธภัณฑ์ด้วยเป็นของท้องที่จะรวบรวมประวัติว่าเขตบางซื่อมีความเป็นมายังไง  มีวัดอะไรที่สำคัญ มีบุคคลใดที่สำคัญ มีชุมชนอะไรบ้าง มีรูปตั้งแต่อดีตคือพิพิธภัณฑ์จะรวบรวมประวัติศาสตร์เขตบางซื่อทั้งหมด เมื่อก่อนบางซื่อเป็นอำเภอ ตอนหลังมาเปลี่ยนเป็นสำนักงานเขตสาขาที่แยกมาดุสิต ก่อนนั้นเป็นแค่ตำบลบางซื่อซึ่งขึ้นกับเขตดุสิต แล้วมาเป็นสำนักงานเขตบางซื่ออย่างเต็มตัว

          อีกที่หนึ่งที่แหล่งสำคัญคือวัดเวตวันธรรมมาวาส หรือวัดเชิงหวาย วัดนี้ประชาชนภายนอกไม่ค่อยรู้จักเท่าไหร่ มีพระพุทธรูปเก่าแก่ ชื่อหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระยุคสมัยสุโขทัย ตอนนั้นมีโรคระบาด โรคห่าในพื้นที่ ท่านเข้าฝันให้คนไปขุดคนเฒ่าคนแก่ก็ไปขุดแล้วเจอ อยู่บริเวณใกล้ๆโบสถ์ไม่รู้ฝังกันมาแต่ยุคไหน แต่เป็นประวัติที่เล่ากันมา จะมีการแห่เรือกันปีละครั้ง ปีหนึ่งคนที่จะจับได้คือนายอำเภอ ทีนี้เขตบางซื่อไม่มีนายอำเภอแล้ว ต้องเป็นผู้อำนวยการเขต ผมไปอุ้มท่านมาสองปีซ้อนแล้ว อยู่ช่วงรักษาการณ์ ตั้งแต่ครั้งโบราณไม่ให้ผู้หญิงแตะต้อง ทางวัดไม่ค่อยประชาสัมพันธ์ทางวัดเก็บไว้อย่างดีลึกลับเลย ไม่ได้เปิดให้เข้าไปกราบไหว้บูชา เหมือนเอาหลวงพ่อไปขังคุก น่าจะมีวิธีที่จัดเก็บดีกว่านั้น เขากลัวหาย เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ขุดมาจากดิน มีหลวงพ่อผลที่เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...