ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
มติคกก.ยาสูบชาติ เร่งพีอาร์"เลิกสูบ ลดเสี่ยง" โควิด-19
09 พ.ค. 2563

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ (คผยช.) ครั้งที่ 2/2563 โดยมีผู้บริหารจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการคลัง การท่องเที่ยวและกีฬา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พาณิชย์ แรงงาน ศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สปสช. สสส. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมประชุม

          ดร.สาธิตกล่าวว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ทุกหน่วยงานเดินหน้ามาตรการเชิงรุก ภายใต้ประเด็น “เลิกสูบ ลดเสี่ยง” ด้วย 2 มาตรการสำคัญ คือ 1.ให้คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด และกรุงเทพมหานคร บังคับใช้กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ เน้นพื้นที่เสี่ยง แหล่งรวมผู้คน เช่น สถานีขนส่ง และตลาด ภายหลังมีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ หากพบเห็นการฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะให้จับปรับดำเนินคดีทันที รวมทั้งปราบปรามการทำโปรโมชัน ส่งเสริมการขายบุหรี่ของธุรกิจยาสูบที่ฉวยโอกาสสถานการณ์โควิด 19 ลักลอบกระทำผิดกฎหมาย และ 2.มาตรการขยายและยกระดับการให้บริการคลินิกเลิกบุหรี่ครบวงจรให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อรองรับนักสูบที่ตัดสินใจเลิกบุหรี่ มีเป้าหมายคืนคนปอดดีสู่ครอบครัว 10,000 คน ภายในปี 2564

           ดร.สาธิตกล่าวต่อว่า ที่ประชุมต้องการให้การบังคับใช้กฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกจังหวัดเห็นผลชัดเจน จึงมอบหมายกระทรวงมหาดไทย กำชับหรือสั่งการไปยังผู้ว่าราชการทุกจังหวัด ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด ให้สั่งการผ่านคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด และคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กทม. ให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทุกหน่วยงาน ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายเชิงรุก และรายงานผลให้คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ รับทราบ

          “ขณะสูบบุหรี่ต้องถอดหน้ากากเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสรับเชื้อโควิด 19 จึงขอความร่วมมือประชาชนเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกันผลักดัน “เลิกสูบ ลดเสี่ยง” ปกป้องสิทธิของตนเองและสังคม เพื่อคนไทยสุขภาพดี ไม่ติดโควิด 19  หากพบเห็นผู้ฝ่าฝืนกฎหมายแจ้งได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง”

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...