ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
อปท.เชิญเป็นแขก ย้อนกลับ
เอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส มุสลิมคนแรก การปฏิบัติงานจะต้อง “รวดเร็ว ถูกต้อง ต่อเนื่อง และเป็นระบบ
15 พ.ค. 2563

           สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เป็นที่ทราบกันดีว่า มีความวุ่นวายเกี่ยวกับผู้ก่อความไม่สงบมาอย่างต่อเนื่องหลายปี ขณะเดียวกันเมื่อมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ขึ้น ก็ยิ่งสร้างความหนักใจขึ้นอีกเท่าทวีคูณ เพราะมีการเคลื่อน ย้ายผู้คนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จากประเทศเพื่อนบ้าน มาเลเซียเป็นจำานวนหลายพันคน เสี่ยงต่อการแพร่ ระบาดค่อนข้างสูง ดังที่ได้มีการออกมาตรการกักตัว ผู้เดินทางเข้ามาทันทีตามระยะเวลาที่กำหนด

อย่างไรก็ตาม จำาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความ สามารถของผู้บริหาร กำกับดูแลในพื้นที่จังหวัดชายแดน ดังกล่าว ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อพูดถึง เรื่องนี้แล้ว เมื่อไม่นานมานี้ ทีมงาน อปท.นิวส์ มีโอกาส ลงไปยังพื้นที่ชายแดนดังกล่าวมาจังหวัดหนึ่ง นั่นก็คือ จังหวัดนราธิวาส อันมีพื้นที่ติดกับมาเลเซียนั่นเอง ซึ่งที่ ผ่านมาต้องยอมรับว่า พื้นที่จังหวัดนราธิวาสมีมาตรการ ควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี และ นั่นก็เป็นฝีไม้ลายมือของบุคคลที่ชื่อ เอกรัฐ หลีเส็น  ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส มุสลิมคนแรก

           อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ฉบับนี้จึงขอนำท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับผู้ว่าฯ คนเก่งคนนี้ไปด้วยกัน ซึ่ง จากบุคลิกเบื้องต้นที่เป็นกันเองที่ได้พบเห็นนี้เอง จึง ไม่สงสัยเลยว่า ทำไมผู้ว่าฯ เอกรัฐ จึงมีความใกล้ชิด กับประชาชนคนในพื้นที่และถือเป็นหนึ่งในผู้ว่าราชการ จังหวัดที่ประชาชนมีความภาคภูมิใจ

ผู้ว่าฯ เอกรัฐเริ่มต้นเล่าให้ฟังว่า จบการศึกษาปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วก็ รับราชการเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2528 ไต่เต้ามาตั้งแต่เป็น ปลัดอำาเภอ เป็นนายอำเภอมาก็หลายพื้นที่ในภาคใต้  เป็นรองผู้ว่าฯ ที่สงขลา 2 ปี รองผู้ว่าฯ ที่พังงา 1 ปี รองผู้ว่าฯ นราธิวาส 1 ปี จนมาเป็นผู้ว่าฯ นราธิวาส ซึ่งปีนี้ก็เป็นปีที่ี 2 แล้ว ก็ทำหน้าที่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้มา ตลอด สลับไปมาทั้งภาคใต้ตอนบน ภาคใต้ฝั่งตะวันตก และก็ภาคใต้ชายแดน ก็สลับวนไปวนมาในการทำหน้าที่

เมืถ่อามถึงทัศนคติในการทำงานและการทำหน้าที่ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ผู้ว่าฯ เอกรัฐ  บอกว่า ถือคติอยู่ 2-3 เรื่อง นั่นคือ การน้อมนำ ยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา  มาเป็นแนวทางในการทำงาน และอีกเรื่องคือ การรู้รักสามัคคี รวมถึงมีคติประจำใจที่เชื่ออยู่เสมอว่า ไม่มี ปัญหาใดที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ถ้าหากมีความมุ่งมั่น  มีความรักและสามัคคีกัน ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ต้องผ่าน ไปได้ อย่างเช่นเรื่องวิกฤติโควิด-19

“ผมเชื่อมั่นว่า ถ้าทุกฝ่ายเดินไปในทิศทางเดียวกัน มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน ก็จะ สามารถผ่านปัญหานี้ไปได้ ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็เชื่อมั่น ว่า ทุกคนพยายามที่จะช่วยกันและร่วมกันแก้ปัญหานี้ รวมถึงภาพรวมของรัฐบาลเองด้วย ก็เชื่อว่าได้ดำเนิน การในเรื่องนี้อยู่อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ มาตรการการแก้ปัญหาสาธารณสุข การช่วยเหลือเยียวยา การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” ผู้ว่าฯ เอกรัฐ กล่าวกับ  อปท.นิวส์

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจังหวัดนราธิวาสเองนั้น ก็ยึดถือแนวทางเหล่านี้มาปรับใช้ และก็มีการประชุมมอบนโยบาย สั่งการ และติดตามในทุกภาคส่วน ไม่ว่า จะเป็นในส่วนของจังหวัด กำลังตำรวจ ทหารปกครอง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งหากแต่ละภาคส่วนให้ ความร่วมมือก็จะช่วยชะลอการระบาดและช่วยให้การ แพร่ระบาดลดลงได้

“เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่่แต่ละคนไม่รับผิดชอบต่อสังคม และส่วนรวม ไม่อยู่บ้าน ไม่ป้องกันตนเองด้วยการใส่ แมส ไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่ล้างมือทำความสะอาด บ่อยๆ ก็จะไม่สามารถที่จะคุมหรือแก้ปัญหาไปได้ ซึ่งนี้ก็ เป็นข้อห่วงใยที่มีต่อประชาชนในช่วงสถานการณ์วิกฤติ โควิด -19 นี้”

        ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เล่าให้ฟังต่อว่า มีหลายคนถามว่า การที่ตัวเขาทำงานและทำหน้าที่อยู่ ในพื้นที่ภาคใต้มาตลอดนั่น มีความหวาดกลัวหรือวิตก กังวลถึงสถานการณ์ในพื้นที่บ้างหรือไม่ ซึ่งก็มักจะตอบ กลับไปว่า ไม่ได้มีความวิตกกังวลอะไรมากนัก แต่ก็ไม่ ตั้งอยู่บนความประมาท เพราะทุกพื้นที่มีอะไรเกิดขึ้นได้ เสมอ ซึ่งเราก็มีวิธีการของเราในการตรวจสอบข้อมูล ข่าวสาร การวางแผนล่วงหน้า รวมทั้งทำงานร่วมกัน แบบทีมเวิร์กทั้งทหาร ตำรวจ และเชื่อมั่นว่า เมื่อตั้งใจดี ในการทำงานและดูแลทุกข์สุขของคนในพื้นที่ก็จะมีแต่ สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้น

สำหรับเวลาว่างจากการทำงาน ผู้ว่าฯ เอกรัฐ บอกว่า  จะพักผ่อนอยู่กับครอบครัว พูดคุยกันให้กำลังใจกัน ซึ่ง ตัวเขาจะเน้นย้ำเรื่องของการดูแลสุขภาพกันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารร่วมกัน การออก กำลังกาย ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำได้เพียงแค่อยู่ที่บ้าน ไม่ต้องออกไปไหนไกล ซึ่งก็สอดรับกับสถานการณ์โควิด ขณะนี้ที่รณรงค์ให้อยู่บ้านเพื่อหยุดการแพร่เชื้อ

สำหรับประวัติผู้ว่าฯ เอกรัฐ หลีเส็น นั้น เกิดเมื่อ วันที่ 17 ตุลาคม 2505 พื้นเพเป็นชาวจังหวัดสงขลา แต่ มาเติบโตและเรียนหนังสือที่จังหวัดสตูลเป็นส่วนใหญ่ และผ่านการรับราชการในพื้นที่จังหวัดสตูลและจังหวัด ในภาคใต้หลายพื้นที่ จบปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สิงห์ดำ) ปริญญาโท รัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มีประวัติการทำงาน นายอำเภอยะรัง จังหวัด ปัตตานี นายอำเภอละแม จังหวัดชุมพร นายอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล นายอำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล นายอำเภอละงู จังหวัดสตูล ปลัดจังหวัดสตูล จังหวัด สตูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา รองผู้ว่าราชการ จังหวัดพังงา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และ ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสเมื่อปี 2561 จนถึงปัจจุบัน

โดยผู้ว่าฯ เอกรัฐ ได้บันทึกการทำงานเมื่อเข้ารับ ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสไว้ตอน หนึ่งว่า จะมุ่งเน้น “การทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อให้งานสัมฤทธิผล  ประชาชนพึงพอใจ” โดยการปฏิบัติงานจะต้อง “รวดเร็ว ถูกต้อง ต่อเนื่อง และเป็นระบบ”

เกียรติประวัติดีเดินในการรับราชการ ปี 2552 นายอำเภอแหวนเพชร จ.ชุมพร ปี 2554 นายอำเภอที่ มีผลงานดีเด่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จ.สตูล) ปี 2555 นายอำเภอแหวนเพชร จ.สตูล ปี 2556 ข้าราชการ ที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จ.สตูล) สาขาการเมืองการปกครอง ปี 2559 ศิษย์เก่า ดีเด่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ปี 2560 โล่ประกาศ เกียรติคุณฯ ประเภทบุคคล ระดับดีเด่นด้านการพัฒนา นโยบายการแก้ปัญหายาเสพติด

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...