ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
ศธ.เคาะ เรียนออนไลน์ สพฐ,-อาชีวะ-กศน. /เริ่ม18พ.ค.
16 พ.ค. 2563

กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ กสทช. ออกแบบระบบการเรียนการสอนช่วงสถานการณ์โควิด-19 ผ่านสัญญาณฟรีทีวี 17 ช่อง ครอบคลุมทุกระดับชั้นการศึกษาขั้นพื้นฐานอาชีวะ และ กศน. เริ่ม 18 พ.ค.

สำหรับรูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านสัญญาณฟรีทีวี 17 ช่อง แบ่งเป็น

ทีวีดิจิตอลช่อง 37-39 เป็นเนื้อหาในระดับชั้น อนุบาล 1 – อนุบาล 3

ทีวีดิจิตอลช่อง 40-45 เป็นเนื้อหาในระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-6

ทีวีดิจิตอลช่อง 46-51 เป็นเนื้อหา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

ทีวีดิจิตอลช่อง 52 เป็นเนื้อหาสำหรับนักเรียน นักศึกษาของ กศน.

ทีวีติจิตอล ช่อง 53 เป็นเนื้อหาสำหรัยนักเรียน อาชีวะ

โดยเนื้อหา ในระดับชั้น อนุบาล 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับความอนุเคราะห์ จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 และ กศน. อาชีวะ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นฝ่ายดำเนินการเรื่องเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาที่จะสอน จะเป็นสาระวิชาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตร เช่น ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ ส่วนจะเสริมในวิชาใดเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนที่จะดำเนินการนอกจากนี้แล้ว ยังมีแอพพลิเคชั่น เว็ปไซต์ และ ยูทูป DLTV เพื่อให้นักเรียนทุกคน สามารถไปชมย้อนหลังทางออนไลน์ได้ตลอดเวลา ในส่วนของตารางการเรียน ทกระดับชั้น จะเรียนพร้อมกันในเวลา 08.30-11.30 น. และจะ รีรัน สองช่วง คือ 14.30 น. และ 20.30 น.

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การเรียนรู้ที่โรงเรียนยังคงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด แต่ถ้าหากไม่สามารถทำได้ สื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านฟรีทีวีทั้ง 17 ช่อง จะเป็นสื่อหลักในการจัดการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการใช้สื่อออนไลน์ ต้องขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ และขอชื่นชม ครู นักเรียนทั่วประเทศ มีการปรับตัวตามสถานการณ์ ซึ่งต้องเอาความปลอดภัย เป็นตัวตั้งต้นในการจัดการ เพราะเรายังไม่รู้ว่าการระบาดของโควิด 19 จะระบาดไปนานเท่าใด จึงต้องประเมินและปรับไปตามสถานการณ์

นายณัฏฐพล กล่าวว่า ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาด โควิด-19 มีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อม เพื่อให้การศึกษาไทยสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้วันนี้ตัวเลขยืนยันผู้ติดเชื้อจะเป็นศูนย์ แต่เรายังมั่นใจร้อยเปอร์เซนต์ไม่ได้ว่าโรงเรียนจะปลอดภัยต่อนักเรียน ทั้งนี้ข้อมูลจากสาธารณสุขได้ออกมาระบุชัดเจนว่า เมื่อเด็กมีการติดเชื้ออาการจะน้อยมาก หรือไม่แสดงอาการเลย ซึ่งอาจมีเชื้อแพร่ไปสู่ครู และผู้ปกครองที่บ้านได้ เราจึงต้องเตรียมพร้อมในทุกพื้นที่ให้รอบด้าน ซึ่งประเทศไทยถือมีความพร้อมกว่าในหลายประเทศในการจัดทำสื่อการเรียนสอนผ่านทีวีทางไกล ยืนยันการเรียนการสอนมีความพร้อมทุกชั้นเรียน

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า การเรียนผ่านทีวีทางไกล ต้องการให้เด็กนักเรียนได้รับการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งละโรงเรียนอาจเสริมการเรียนการสอนออนไลน์ หรือแบบอื่นเพิ่มเติม ควบคู่ไปด้วยในอนาคตหากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 มีความรุนแรง เวลานั้นผู้ปกครองต้องทำงานที่บ้าน พร้อมขอชื่นชมคุณครูทั่วประเทศที่ได้มีการปรับตัวรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ซึ่งเราจะต้องใช้เวลาช่วง 45 วันนี้ ที่ไม่สามารถเรียนได้ตามปกติ ปรับแนวทางการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ระหว่างรอเปิดเรียนในภาคปกติ ในเดือนกรกฎาคม

ด้าน พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า 18 พฤษภาคม นี้ จะเป็นการปรับพื้นฐาน ทั้งครูและนักเรียน เพื่อประเมินความเข้าใจในการรับข้อมูลและปรับตัว เมื่อถึงวันที่ 1 กรกฎาคม หากไม่สามารถไปเรียนที่โรงเรียนได้ ก็จะได้เรียนทางทีวีหรือออนไลน์ ได้อย่างต่อเนื่ออย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า DLTV อาจแก้ปัญหาไม่ได้ทั้งหมด เนื่องจากการเรียนผ่านทีวี ประสิทธิภาพการสอนไม่เท่ากับมีครูสอนจริงๆ ในห้องเรียน แต่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดแบบนี้ ระบบดังกล่าว มีความจำเป็น และพร้อมมากที่สุด

ส่วนกรณีที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. สำรวจพบเด็กในกลุ่มยากจน และยากจนพิเศษ ทั่วประเทศ 7 แสนคน ที่ประสบปัญหาโภชนาการต่ำ เพราะโรงเรียนเลื่อนการเปิดเทอม 2 เดือน เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ต้องพึ่งพาอาหารกลางวันที่โรงเรียน ซึ่งทาง กสศ.ได้ของบประมาณอุดหนุนอาหารกลางวันให้เด็กไว้จำนวน 630 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ทางกระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติช่วยเด็กชั้นปฐมวัย 5 แสนคนจำนวน 300 ล้านบาท แต่ขณะนี้ยังขาดงบประมาณ 330 ล้านบาท โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ระบุว่า ในสัปดาห์หน้าจะนำเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี ยืนยันว่า จะดำเนินการช่วยเหลือ โดยเฉพาะในเรื่องของนม ส่วนการจัดใช้งบประมาณ อาจจจะใช้งบกลาง หรืองบส่วนใดจะต้องหารือก่อน เพราะก่อนหน้านี้ได้นำงบกระทรวงเข้าไปสนับสนุนแล้ว

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...