ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
อปท.เชิญเป็นแขก ย้อนกลับ
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า : DEPA) กระบี่มือหนึ่ง : นวัตกรรมดิจิทัลสู่สังคมไทย
01 มิ.ย. 2563

ในโลกสมัยใหม่ที่วิทยาการก้าวล้ำและพัฒนาขึ้นไปอย่างมาหยุดยั้ง หรือที่กำลังกล่าวกันว่า โลกกำลังเข้าสู้ยุตดิจิทัล หรืออะไรๆ ก็อัตโนมัติไปหมด ประเทศไทยเราเองก็เช่นเดียวกัน มีการขยับขยาย ปรับปรุง ปรับรูปแบบ เพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วที่ว่านี้ด้วย โดยจะเห็นได้จากการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมานั่นเอง อย่างไรก็ตาม ภายใต้กระทรวงดิจิทัลฯ ดังกล่าวนี้ ยังมีอีกหนึ่งหน่วยงานที่เป็นกลไกสำคัญในการช่วยขับเคลื่อน นั่นก็คือ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือที่เรียกกันว่า ดีป้า (DEPA)

มีภาระกิจหลักๆ ก็คือ จัดทำแผนส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล นโยบาย ดัชนี รายงานสถานการณ์และติดตามความก้าวหน้าเทคโนโลยีและนวตกรรมดิจิทัล, ลงทุนร่วมมือกับบุคคลหรือประกอบกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหรือนวัตกรรมดิจิทัล, พัฒนากำลังคนและบุคลากรด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล, พัฒนาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและชุมชน สังคมและท้องถิ่น รวมทั้ง ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบหรือมาตรการที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

ก่อตั้งขึ้นเมื่อต้นปี 2560 นี้เอง โดยมีผู้อำนวยการเป็นผู้กุมบังเหียน ซึ่งผู้อำนวยการคนแรกก็คือ ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ที่ว่ากันว่า ดร.ณัฐพล คนนี้คือ“กระบี่มือหนึ่ง” ที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมที่จะเข้ามาทำภาระกิจของ ดีป้า ให้ขับเคลื่อนไปได้ตามเป้าหมาย ซึ่งก็ไม่ผิด เพราะตลอดห้วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผลงานของดีป้า มีให้เห็นรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลักดัน “เมืองอัจฉริยะ” เรื่องของการสนับสนุนให้เกิด “สตาร์ต อัพ” และที่สำคัญคือ การนำและเข้าไปช่วยส่งเสริมให้นำเทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ ลงสู่ชุมชนทั้งด้านการเกษตรและอื่นๆ

อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ฉบับนี้ มีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับ ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ถึงความเป็นมา ก่อนที่จะมารับตำแหน่งหน้าที่นี้ และแนวทางการทำงานที่ตั้งใจ รวมถึงกิจกรรมยามว่างในวันสบายๆ ที่ว่างเว้นจากการทำงาน

ดร.ณัฐพล เล่าให้ฟังว่า ตอนเด็กๆ ไม่ได้เป็นเด็กที่เรียนดีสักเท่าไหร่ แต่สุดท้ายก็เรียนมาเรื่อยๆ จนจบปริญญเอกที่ออสเตรเลีย ที่ผ่านมา ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นที่มหาวิทยาลัยหอการค้า ก็เป็นชะตาชีวิตในเรื่องของการศึกษาให้มีโอกาสในส่วนตรงนี้ ซึ่งทั้งหมดที่ได้ศึกษามาก็ต้องมีความพยายาม

ส่วนจุดเริ่มต้นของการทำงานเลยก็คือ เป็นผู้อำนวยการที่ดูแลด้านการเตือนภัยเอสเอ็มอีหลายสาขาที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. แต่ก่อนหน้านั้นก็เป็นอาจารย์อยู่ด้วยที่มหาวิทยาลัยสยามและที่ปัญญาภิวัฒน์ และพอมาทำงานที่ สสว.ได้ 4-5 ปี ก็ย้ายไปอยที่ สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สังกัด กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสมัยนั้น) สักช่วงหนึ่ง แต่ก็รู้สึกว่ายังไม่ใช่ เพราะทำแต่เรื่องวิชาการ เรื่องตัวเลขสถิติ ก็เลยหันไปขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพาณิชย์ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสมาอยู่ที่กระทรวงอุตสาหกรรม และก็ย้ายมาอยู่ที่ดีป้าแห่งนี้

“หลังจากที่ได้เข้ามาทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า ก็มีความรู้สึกและได้พูดกับพนักงานเสมอว่า ประชาชนต้องมาที่หนึ่ง และจะทำอย่างไรให้คนที่เขาทำงานอยู่แล้วมีความสามารถในการที่จะทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งมีทั้งประชาชนเอง หน่วยงานราชการ เอกชน เพราะฉะนั้น เราต้องใช้พาร์ทเนอร์เหล่านี้มาร่วมกันทำงาน” ดร.ณัฐพล กล่าว พร้อมระบุด้วยว่า

“ส่วนรูปแบบในการที่เราจะไปทำนั้น ในอดีตที่ผ่านมา เราเป็นกลไกในการจัดประชุม จัดอบรม แต่ปัจจุบันจะเห็นว่า กลไกของดีป้าไม่ใช่แบบนั้นเลย คือจะคิดอยู่เสมอว่า จะทำอย่างไรให้คนไม่เดินเข้ามาขอเงินเท่านั้น เพราะเราไม่ได้เป็นหน่วยงานที่สามารถจ่ายเงินได้ตลอด ดังนั้น เราจึงต้องวางภาพขององค์กรให้ชัด ประกอบกับจะทำอย่างไรให้คนที่ทำงานกับเรามีส่วนร่วม”

ดร.ณัฐพล ยังเล่าให้ฟังด้วยว่า การทำงานอาจพบเจอปัญหาอยู่บ้าง โดยตอนเริ่มแรกที่ตั้งสำนักงานมาใหม่ๆ ก็จะเป็นเรื่องยากในการสรรหาบุคลากรและการจัดทำโครงสร้าง พร้อมยอมรับว่ามีปัญหา แต่โชคดีที่บุคลากรที่รับเข้ามาล้วนมีความรู้ความสามารถ มีทักษะและมีหัวที่ทันสมัย ดังนั้น พวกเขาจึงยอมรับในสิ่งที่องค์กรดำเนินการ ซึ่งได้พยายามทำให้องค์กรมีแนวความคิดที่ทันสมัยก้าวหน้า และพยายามให้บุคลากรในองค์กรได้แสดงความรู้ความสามารถ อย่างเช่นการให้เด็กจบใหม่ดูแลโครงการขนาดใหญ่ โดยมีพี่เลี้ยงคอยดูแล ซึ่งเรื่องอย่างนี้ทำให้ได้แสดงศักยภาพและมีความตั้งใจมุ่งมั่นในการทำงาน ซึ่งถ้าโครงการสำเร็จไปได้ ตัวเขาเองก็จะมีผลงาน

สำหรับแนวทางการทำงานนั้น ดร.ณัฐพล บอกว่า ตัวเขามักจะบอกกับบุคลกรของดีป้าอยู่เสมอก็คือ ให้คิดถึงประชาชนเป็นหลัก และเต้องเป็นคนถ่อมตัว และเป็นองค์กรแถวหน้าที่กล้าที่จะเดินไปในที่ที่มีความเสี่ยงก่อนคนอื่น เพราะนั้น มันคือสิ่งที่ทดลองในเรื่องของสังคมเศรษฐกิจและดิจิทัล นอกจากนี้ สิ่งที่ได้เน้นย้ำก็คือ อยากให้สังคมไทยมีความเท่าเทียม เรื่องคุณภาพคือจะทำทั้งทีต้องได้ผล เรื่องการบริการคือจะเห็นว่า บุคลากรมีความอ่อนน้อมและมีมารยาทที่ดี เป็นการให้บริการที่ดีกับทุกคนเรื่องการทำงาน จะไม่ถูกสร้างด้วยเงื่อนไขหรือขั้นตอนอะไรมากมาย

“คือเราจะทำให้มันง่ายสำหรับประชาชนในการเข้าถึง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเฟซบุ๊ก อินสตราแกรม หรือเว็บไซด์ และเรื่องของความสมาร์ท คือการทำงานของเรานั้น ไม่เลือกทำงานในเชิงปริมาณ แต่เราจะเลือกทำงานในเชิงคุณภาพ และให้คนมองเห็นผลที่ได้จากการทำงาน ดังนั้น ก็เลยทำให้ดีป้าเป็นที่รู้จัก”

สุดท้าย ดร.ณัฐพล ได้เล่าถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตว่า ทุกวันนี้มาทำงานต้องตื่นตั้งแต่ตีห้ากว่า จะกลับก็มืดค่ำ แต่สิ่งที่สามารถผ่อนคลายได้บ้าง เป็นเรื่องของการพบปะพบเจอเพื่อนฝูง ออกไปรับประทานอาหาร ส่วนถ้ามีเวลาว่างจริงๆ ก็จะอยู่บ้านเลี้ยงปลา เพราะเป็นคนที่ชอบดูชอบเลี้ยงปลาคาร์ฟ เพราะชอบดูมันว่ายน้ำและเติบโต นอกจากนี้ ก็ปลูกต้นไม้บ้าง ก็เป็นการพักผ่อนสบายๆ ในแบบฉบับของการพักผ่อนอยู่บ้าน

สำหรับ ดร.ณัฐพล จบปริญญาเอกและปริญญาโทด้านการจัดการการเงินการธนาคาร จาก Swinburne University of Technology ประเทศออสเตรเลีย ผ่านการทำงานหลายกระทรวง มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนและธุรกิจระหว่างประเทศ การจัดการการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการนำนวัตกรรมมาใช้ในเชิงพาณิชย์ ผ่านการทำงานเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ SMEs รายสาขา สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงอุตสาหกรรม

และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการร่างแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ขณะดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิจัยและจัดการนโยบาย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์วิสาหกิจ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว) กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และรองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...