ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ย้อนกลับ
10นาทีมหัศจรรย์รักเขียน เรียน อ่านฉบับกทม.(สัมภาษณ์พิเศษ)
09 ก.ค. 2559

          นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีเมื่อรัฐบาลได้จัดการศึกษาขั้นพื้นที่ให้กับเด็กๆด้วยการให้มีการเรียนฟรี 15ปีตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 อย่างน้อยอาจเรียกได้ว่าเป็นความเท่าเทียมกันทั้งประเทศ แม้ที่ผ่านมามักจะมีคำกล่าวในทำนองที่ว่า เด็กต่างจังหวัดเรียนหนังสือไม่เก่งเท่ากับเด็กกรุงเทพฯ เด็กในเมืองมีโอกาสทางศึกษาที่ดีกว่าเด็กในต่างจังหวัด ซึ่งวันนี้ลองมาฟังทรรศนะจากผู้ที่รับผิดชอบเรื่องการศึกษา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อย่าง ดร.ผุสดี ตามไท  เล่าให้ฟังว่าแท้ที่จริงแล้ว เด็กในกทม.ก็มีที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้เช่นเดียวกัน

อปท.นิวส์ – มีผู้ปกครองบอกว่าลูกเรียนอยู่โรงเรียนสังกัดกทม.อยู่ป.5แล้วยังอ่านหนังสือไม่ออก กทม.ไม่มีการประเมินครู?

ดร.ผุสดี – อาจเป็นความไม่เข้าใจ หรือลูกอ่านไม่ออกจริง คือกทม.จะรับนักเรียนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนที่มีปัญหาเรื่องการพัฒนาการช้า หรือจะเป็นออทิสติก เด็กมีปัญหาพวกนี้หรือเปล่า แต่เราก็ยอมรับเด็กกทม.ยังมีอ่านหนังสือไม่ออก เหมือนกับเด็กทั่วประเทศไม่ว่าจะสังกัดไหนก็ตาม แต่ตัวเลขนี้ลดลงเรื่อยๆเราเก็บตัวเลขมาตั้งแต่ปี 2553 มีตั้งแต่ 10กว่าเปอร์เซ็นนิดๆลงมาเรื่อยๆ กระทั่งถึงปี2558 เหลืออยู่ 6.6 เปอร์เซ็น เพราะฉะนั้นก็ยังคงมีปัญหาอยู่ ในเรื่องของอ่าน เขียน ต้องยอมรับว่าเป็นจริง ทีนี้ความยากลำบากของกทม.คือมีความหลากหลาย  มีความไหวตัวสูง มีเด็กต่างชาติ เด็กที่ต้องการพัฒนาเรียนรู้ การย้ายเข้ามาของพ่อแม่ เด็กเรียนได้ไม่ถึงเทอมก็ย้ายอีก ลักษณะนี้ทำให้เป็นอุปสรรค

          ส่วนที่2 กทม.ตั้งใจจะลดให้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เป็นศูนย์ ช่วงอนุบาล เราจะใช้งานวิจัยที่บอกว่า เด็กๆช่วงก่อนเข้าสู่ระบบโรงเรียน ควรเตรียมความพร้อมด้านอื่นๆมากกว่า ไม่ต้องไปขู่เข็ญ ให้เขาลุกขึ้นมาเขียนได้  หรืออ่านออก เพียงแต่ให้สื่อสารได้ ให้พูดให้ฟังกันได้ วาดได้ ให้เด็กได้พัฒนาเต็มที่ พวกกล้ามเนื้อ การไปบังคับให้ลุกขึ้นเขียนตามแบบฝึกหัด มันจะไปหยุดยั้งการพัฒนาของเด็กอย่างไม่สมควร ช่วงอนุบาลจึงให้ครูดูเด็กให้พัฒนาช่วยตัวเองได้ สื่อสารได้ อยู่กับเพื่อนได้ พอมาประถม 1 ให้เวลาไปก่อน ฝึกวิทยายุทธ์การอ่านเขียน พอเข้าป.2 ก็ไปติดตามดู การอ่านเขียนของเด็กๆมีอยู่ตรงไหนบ้าง วัดมาเรื่อยๆทุกปี ตรงไหนที่พบว่าเด็กมีปัญหา  กทม.มีโครงการเยอะเรื่องการอ่าน เช่นโครงการโรงเรียนรักการอ่าน อ่านสร้างสุขในโรงเรียน พาน้องท่องอ่าน หนึ่งเล่มหนึ่งเรื่อง ให้เด็กๆได้อ่านหนังสือ รักการอ่าน พัฒนาอ่านเขียน ฯลฯ ปีนี้ความจริงจะเริ่มแล้วเหมือนลักษณะคล้ายที่เกาหลี คือกิจกรรม 10 นาทีมหัศจรรย์ยามเช้า ฝึกสร้างรูป ให้นักเรียนรักการอ่าน ส่วน 6.6 เปอร์เซ็นที่ยังอ่านไม่ออก เราให้ครูแยกไว้ จะได้มองเห็นชัด เด็กปกติ กับเด็กมีปัญหา เด็กต่างด้าว

อปท.นิวส์ – มีบทวิจัยคนไทยอ่านหนังสือน้อย เพราะตอนประถมอ่านหนังสือไม่ออก ก็เลยไม่อยากอ่าน ?

ดร.ผุสดี – ใช่ คนไทยอ่านหนังสือน้อย นี่ล่ะ เราต้องเข้มให้ภาษาไทยเป็นฐาน เช่น ให้เด็กๆทำโครงงานง่ายๆสักเรื่อง ต้องให้เข้าใจเรียนรู้ภาษาไทย ให้มีการใช้ภาษาไทยอยู่ในนั้น เราทำในรูปลักษณ์ต่างๆ เพื่อจะได้รู้สึกว่าสนุก สร้างความเข้าใจ เด็กจะได้รู้สึกแตกต่างจากที่ถูกบังคับให้นั่งเรียนตามปกติ

อปท.นิวส์ – กรุงเทพเคยเป็นเมืองหนังสือโลกเมื่อปี57 ?

ดร.ผุสดี – เราได้รับการเลือกจากยูเนสโก้ให้เป็น ซึ่งภาพรวมก็ดี ช่วยขึ้นเยอะ ช่วยขับเคลื่อนให้น่าสนใจมากขึ้น ต่อเนื่องกันมาก็ยังทำกันมา เรื่องการใช้ห้องสมุด ห้องสมุดชุมชน ให้ครูพานักเรียนไปดูเรียนรู้ ศูนย์สุขภาวะของสสส.

อปท.นิวส์ – ตกลงปฏิรูปการศึกษาที่ให้เรียนฟรีเป็น 15ปี ?

ดร.ผุสดี –   " ของเรา ได้ฟรีอยู่แล้ว กทม.จัดให้มากกว่ารัฐบาลหาให้ด้วยซ้ำ เช่น อาหารเช้า คือกทม.ขับเคลื่อนด้วยงานวิจัยเป็นหลัก อาหารเช้ามันเป็นสิ่งที่จำเป็น อาหารเช้าจะเป็นตัวส่งสารอาหารไปสู่เซลสมองในเรื่องการทำงาน ท่านผู้ว่าฯสุขุมพันธุ์ เล็งเห็นเป็นสิ่งสำคัญ "  ชีวิตของเด็กในกทม.ตื่นขึ้นมาออกจากบ้าน ไม่มีโอกาสได้กินที่บ้าน ก็มากินที่โรงเรียน พ่อแม่ไม่ต้องเสียสตางค์เพิ่ม เป็นการขับเคลื่อนความพร้อมให้เด็กๆ ทั้งความปลอดภัย สุขภาพ  สร้างชุมชนการเรียนรู้ให้กับครูด้วย เหมือนกระทรวงทำนำร่องทางอาชีพ ให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ให้ครูภายในโรงเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ดีกว่าต่างคนต่างทำ แล้วขยับสู่เครือข่าย กทม.มี 438 โรงเรียน มี 80 เครือข่ายอยู่ใกล้ๆกัน ขจัดอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

อปท.นิวส์ – ตอนนี้เราได้เตรียมอะไรไว้แล้วบ้างในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาตามรัฐธรรมนูญ ?

ดร.ผุสดี – อุ๊ย!! (เสียงอุทานตกใจ) ของเราทำอยู่แล้ว ท่านผู้ว่าฯท่านมองไกลไปกว่ารัฐธรรมนูญ ที่ต่างจากรัฐธรรมนูญคือ 1 สร้างชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อพัฒนานักเรียน 2กิจกรรม 10นาทีมหัศจรรย์ยามเช้า ตั้งใจยกเป็นโครงการพิเศษ อีกเรื่องคือที่รัฐบาลประกาศ ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ แต่เราจะเพิ่มเวลารู้โดยยึดภาษาไทย สร้างความเข้มข้นด้วยธรรมชาติมากขึ้น

อปท. นิวส์ – ข้อสอบโอเน็ตปีที่แล้ว ที่สทศ.พลาด ท้วงติงกันเยอะ ?

ดร.ผุสดี – พูดกันจริงแล้ว สำนักที่ทำงานแบบนี้ต้องมีความผิดพลาดน้อยที่สุด มันจะได้ไม่เป็นอุปสรรคต่อสภาพความเป็นจริง ต้องแก้ไข แต่ของเรานี่จะทำประเมินภายใน นิเทศภายใน เช่น ทั้งปีแทนที่จะคอยสอบปลายปี ช่วงระยะที่เรียนมา จบหน่วยก็สอบเลย  ถ้าไม่ได้ก็ซ่อมเลย ไม่เช่นนั้นจะสั่งสมความไม่รู้ไปเรื่อยๆ ฐานจะพร่องหมด  ฉะนั้นต้องจัดการ ประเมินภายในเพื่อพัฒนา ซึ่งไม่ได้ประจานใคร หรือโอ้อวดใคร แต่เพื่อจะรู้จุดบกพร่อง เพื่อถมให้เต็ม ซ่อมกันไปทีละหน่อย

          ส่วนเรื่องประเมินครูกทม. แรกเข้าจะดำรงตำแหน่งเป็นครูผู้ช่วย 2 ปี และในช่วงนี้จะต้องประเมิน 8 ครั้งก่อนถึงจะได้บรรจุ ช่วงระยะเวลาต่างๆทุกปี กทม.จะประเมินโรงเรียน เรียกว่า  Smart School  ส่วนหนึ่งของการประเมินโรงเรียนก็จะประเมินครูด้วย คือของครูจะดูว่า ครูเข้าท่าไหม เป็นคนดี มีความสมารถในการจัดการเรียนรู้ วิธีการสอน การดูแลห้องเรียน ดูแลบรรยากาศเอื้อให้เด็กได้เรียนรู้ในห้องเรียน และการประเมินก็จะทำโดยผู้บริหาร บวกกับคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นมา สุดท้ายประเมินเพื่อการแก้ไขพัฒนา เช่น เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เยอะต้องมีตัวชี้วัด คือต้องเป็นศูนย์ (0)

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...