ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สธ.ชี้ ไทยพ้นการโควิด-19 ระบาดระลอกแรกแล้ว
09 ก.ค. 2563

ไทยพ้นการระบาดโควิด-19 ระลอกแรกแล้ว หลังไม่พบการติดเชื้อภายในประเทศติดต่อกัน 44 วัน กระทรวงสาธารณสุข เตือนการ์ดตกไม่ได้

9 ก.ค.2563 นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ไทยไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศติดต่อกันเป็นวันที่ 44 แล้ว ทำให้สิ้นสุดการระบาดระลอกที่ 1 แล้ว แต่ไทยยังต้องเตรียมการให้พร้อมเพื่อรองรับการระบาดระลอก 2 เนื่องจากทั่วโลกขณะนี้ยังคงมีการระบาดเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และเมื่อไทยพยายามเปิดประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ กระทรวงสาธารณสุขเห็นด้วยแต่ต้องเปิดประเทศโดยใช้หลักการเปิดอย่างมีสติ สิ่งสำคัญ คือ มาตรการป้องกัน ทั้งการสวมหน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง ยังคงต้องทำอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง

ส่วนกรณีที่นักวิทยาศาสตร์จาก 32 ประเทศ ส่งหนังสือถึงองค์การอนามัยโลก ระบุว่า การระบาดของโรคโควิด-19 น่าจะเป็น Airborne คือ การแพร่กระจานเชื้อในอากาศ มากกว่า Droplet คือ การแพร่กระจายเชื้อด้วยละอองฝอย

อย่างที่เคยระบุไว้ กรณีนี้จากความรู้ที่ไทยมีด้วยประสบการณ์รับมือโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา เชื้อโควิด-19 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ เชื้อชอบทำลายเซลล์เยื่อหุ้มของเนื้อปอดการติดต่อยังเป็นการสัมผัสจากสารคัดหลั่ง จากการไอจามฝอยละอองน้ำลายในระยะ1-2 เมตร คือ แบบ Droplet

ส่วนสิ่งที่เป็น Airborne นั้นช่วงหนึ่งกระทรวงสาธารณสุขเคยชี้แจ้งว่า เป็นการติดเชื้อในอากาศจากห้องระบบปิดที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ห้องไอซียู หรือ ห้องที่ใช้หัตถการใช้เครื่องมือเป็นห้องแอร์ มีการปิดห้องจึงมีโอกาสที่ฝอยละอองจะอยู่ในห้องเหล่านี้ได้นาน แต่ในสถานที่โล่งแจ้งไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะมีเรื่องกระแสลม อากาศสามารถถ่ายเทและมีแสงแดด ดังนั้นข้อมูลนี้เป็นข้อค้นพบใหม่ ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการ แต่หากโควิด-19 ติดง่ายทางอากาศเหมือนโรควัณโรค ตัวเลขของผู้ป่วยทั่วโลกคงไม่ใช่ 11-12 ล้านคน น่าจะมีจำนวนมากกว่านี้แน่นนอน ซึ่งองค์การอนามัยโลกคงต้องตรวจสอบต่อไป แต่ขณะนี้ข้อมูลยังยืนยันว่าติดทางฝอยละออง หรือ Droplet ที่ป้องกันได้ด้วยวิธีที่ดำเนินการกันอยู่ จึงขอให้ประชาชนอย่ากังวล

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...