ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
129วันปฏิบัติการณ์ขอคืนพื้นที่นายทุนสปก.(รายงานพิเศษ)
04 ส.ค. 2559

          เรียกว่าได้ผลทันตาเห็นจากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจตามมาตรา 44  แก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้วางระยะปฏิบัติการณ์ไว้ 129 วัน ขณะนี้เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร (ส.ป.ก.) ได้แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งปฏิรูปที่ดินจังหวัด นิติกร นายช่างสำรวจ ช่างสำรวจ นายช่างโยธา วิศวกรสำรวจ วิศวกรโยธา ในพื้นที่เป้าหมาย เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และประกาศกำหนดพื้นที่เป้าหมายการกับผู้ครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมิชอบ พร้อมจัดทำแผนที่ประกอบเพื่อให้บุคคลในท้องถิ่นนั้นรู้ตำแหน่งของพื้นที่เป้าหมายแล้ว
          อย่างไรก็ตามการตรวจยึดที่ดินนั้นกระทำผ่านหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินของผู้ครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ ส.ป.ก. จังหวัดถือปฏิบัติ โดยประกาศมีสาระสำคัญ 3 ส่วนคือ 1 หลักฐานใดบ้างที่นำยื่น หลักฐานที่นำยื่นเป็นหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายอื่นตามข้อ 3 วรรคสอง แห่งคำสั่งหัวหน้า คสช. ได้แก่ โฉนดที่ดิน โฉนดตราจอง หรือตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 น.ส.3 ก. น.ส.3 ข. หรือแบบหมายเลข 3) หลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ใบแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดินตามมาตรา 27 ตรี (ส.ค.2) 
          ใบจอง (น.ส.2) ใบเหยียบย่ำ หนังสือแสดงการทำประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ได้แก่ หนังสือแสดงการทำประโยชน์ในเขตนิคมสร้างตนเอง (น.ค.3) หรือหนังสือแสดงการทำประโยชน์ในเขตนิคม สหกรณ์ (ก.ส.น. 5) หนังสือแสดงสิทธิอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐโดยชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ผู้ถือครองที่ดินจะนำมาแสดงยังรวมถึงหลักฐานที่ยืนยันการครอบครองทำกินในที่ดินดังกล่าวเพื่อขอรับการจัดที่ดินด้วยเช่น ใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท5) หลักฐานที่แสดงการครอบครองที่ดิน ส่วนที่ 2 หลักเกณฑ์การตรวจสอบ กำหนดให้ตรวจสอบความมีอยู่จริงและตำแหน่งที่ตั้งที่ดินของหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินของผู้ครอบครองที่ดินที่ยื่นมากับที่ตั้งที่ดินบริเวณพื้นที่เป้าหมายเป็นสำคัญ
          ส่วนที่ 3 วิธีการตรวจสอบโดยหลักๆความมีอยู่จริงของหลักฐานที่ผู้ครอบครองที่ดินนำมายื่นให้ตรวจสอบจากหลักฐานฉบับสำนักงานที่ดิน กรณีเป็นหลักฐานตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือหน่วยงานอื่นที่ออกหลักฐานกรณีเป็นหลักฐานตามกฎหมายอื่น และใบเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท5) หลักฐานที่แสดงการครอบครองที่ดิน ต้องเป็นหลักฐานที่มีมาก่อนคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับนี้ใช้บังคับ ส่วนการตรวจสอบตำแหน่งที่ดินจากแผนที่ของสำนักงานที่ดิน และเขตการปกครองที่ปรากฏในหลักฐานตรงหรือสัมพันธ์กับเขตการปกครองกับตำแหน่งที่ดินบริเวณพื้นที่เป้าหมายเป็นหลักฐาน     
          พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ปิดประกาศยึดคืนพื้นที่เป็นครั้งแรกในนครราชสีมา มีพื้นที่เป้าหมายยึดคืนมากที่สุด 130 แปลงมีเนื้อที่ 111,074.87ไร่ โดยนำไปให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอำเภอสีคิ้ว สูงเนิน ปากช่อง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเมื่อ 8 ธ.ค. 2534 ปากช่อง มีพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน 311,064 ไร่จัดให้เกษตรกรแล้ว 142,638 ไร่ สำหรับที่ดินแปลงหมายเลข 8069 เนื้อที่ 535-2-11 ไร่ ดำเนินปิดคำบังคับ เป็นพื้นที่อยู่ในเขตปฏิรูปตำบลปากช่อง มีพล.ต.ต. ชาลี เภกะนันทน์ เป็นผู้ครอบครองไม่ยอมเข้ากระบวนการปฏิรูปที่ดิน จึงฟ้องขับไล่เมื่อปี 2552 ศาลพิพากษา 16 เมษายน พ.ศ. 2558 จำเลยถือครอบครองที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์บอกให้ออกแล้วแต่เพิกเฉย จึงพิพากษาจำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาท รื้อถอนสิ่งก่อสร้างขนย้ายวัสดุต่างๆ ออกไป   
          ทั้งนี้ส.ป.ก. จัดทำพื้นที่เป้าหมายที่ยังไม่เข้ากระบวนการปฏิรูปที่ดินตั้งแต่ 500ไร่ขึ้นไปเสร็จแล้วกว่า 235 แปลง และทยอยส่งแผนที่แนบท้ายที่ใช้ปิดประกาศพื้นที่เป้าหมายไปยัง ส.ป.ก. จังหวัด พร้อมทำโรดแมปทั้ง 3 กรณี เพื่อแก้ไขปัญหาครอบครองที่ดินผิดกฎหมาย คือ 1.ที่ดินที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปมีเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ขึ้นไป เพิ่มขึ้นมากกว่า 427 แปลง เนื้อที่มากกว่า 432,000 ไร่ 2.ที่ดินจัดให้แก่เกษตรกรไปแล้วแต่มีบุคคลกว้านซื้อจากเกษตรกรและครอบครองทำประโยชน์โดยผิดกฎหมาย และครอบครองเกินกว่า 100 ไร่ ซึ่งคาดว่ามีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 20,000 ไร่ และ 3.ที่ดินที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ครอบครองส่งมอบคืนให้ ส.ป.ก. มีเนื้อที่ตั้งแต่ 500 ไร่ ขึ้นไปขณะนี้มีอยู่ประมาณ 10,000 ไร่ 
          ส่วนม.44 ที่ออกมาเป็นประโยชน์อย่างไรนั้น นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาฯส.ป.ก. กล่าวไว้ในเครื่องหมายคำพูดทิ้งไว้ให้ชวนคิดว่า  " คล่องตัวขึ้นม.44 แก้ข้อขัดข้องกฎหมายปฏิรูปที่ดิน คือกฎหมายปฏิรูปที่ดินไม่มีบทลงโทษผู้ที่เข้ามาอยู่ในที่ของสปก . เป็นการใช้อำนาจในกลไกของกฎหมายบังคับให้มาแสดงตัว เอาหลักฐานมาพิสูจน์ ถ้าไม่ใช่เอกชนก็เป็นที่ของเรา ที่เอกชนก็ต้องมีหลักฐาน ถ้าผิดไปฟ้องศาลก็แค่ซื้อเวลา 7ปี สมมุติคุณเป็นนายทุนไปกว้านซื้อที่ ทางอาญาก็ไม่ผิด ทางแพ่งใช้เวลานาน คุ้มกับการลงทุนไหม คุณไปซื้อนส.3ใช้ประโยชน์ไป 7ปี คุณเอาเปรียบรัฐ เอาเปรียบเกษตรกร ผมเห็นว่า ม.44  คืนความเป็นธรรมให้เกษตรกรบังคับมาแสดงตัว ไม่มาให้ทหารเข้าไปยึดได้เลย แต่กฎหมายปกติทำไม่ได้
          สมมุติในบ้านเมืองปกติ ผมจะไปแก้กฎหมายปฏิรูปที่ดินเขียนว่า ที่ดินสปก. ห้ามไม่ให้ใครยึดถือครอบครอง  ใครยึดถือมีความผิด แล้วผมมีอำนาจเข้าไปยึด รื้อถอน ถามว่ากฎหมายแบบนี้เสนอช่วงบ้านเมืองปกติได้ไหม คุณเป็นนักการเมือง คุณเป็นรัฐมนตรี จะกระทบฐานเสียง คุณจะทำหรือ กระทบเพื่อนการเมืองของพวกคุณ  ไปทะเลาะกันไปสภาเปล่าๆ ไม่มีใครทำหรอก  " เลขาฯสปก. กล่าว

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...