ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
ดีอีเอส เอาจริง เว็บผิด ก.ม.-หมิ่นฯ เปิดเพจ “อาสาจับตาออนไลน์” แจ้งเบาะแส
13 ส.ค. 2563

จากสถานการณ์การกระทำผิดกฎหมายโดยสื่อออนไลน์ที่อาจรุกลาม ขยายเป็นความเสียหายมากขึ้นนั้น กระทรวงดิจัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) โดยรัฐมนตรีว่าการฯ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ไม่ได้นิ่งนอนใจได้เดินหน้าทั้งการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเอาผิดทั้งในคดีอาญา-ปรับเงิน และเปิดเพจแจ้งเบาะแส“อาสาจับตาออนไลน์” และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แค่สัปดาห์เดียว มีการแจ้งเบาะแสเข้ามาแล้วถึง 1,050 ราย

นาย พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เครดิตภาพจาก https://siamrath.co.th/n/127554

 

ทั้งนี้ นาย พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยถึงมาตรการดังกล่าวทั้งหมดว่า เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ดีอีเอสได้ดำเนินการเปิดเพจ “อาสาจับตาออนไลน์”เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส และเพียงสัปดาห์แรก พบว่ามีผู้ส่งข้อมูลแจ้งเบาะแสสื่อสังคมออนไลน์ เว็บผิดกฎหมายเข้ามาจำนวน 1,050 รายการ แยกเป็นการแจ้งเรื่องเดียวกัน 559 รายการ ซึ่งหลังผ่านกระบวนการตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานมีประมาณ 317 รายการที่เห็นว่า เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 โดยได้มีการยื่นศาลขอปิดกั้นจำนวน 181 รายการ และศาลมีคำสั่งแล้ว 7 รายการ และยังมีส่วนที่อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 174 รายการ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหลอกลวงถูกฉ้อโกง 35 รายการ กลุ่มพนันออนไลน์จำนวน 25 รายการ มีการประสานให้ตำรวจดำเนินการกลุ่มข่าวปลอมจำนวน 1 รายการ และประสานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ทำการตรวจสอบ และกลุ่มที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อกฎหมายจำนวน 101 รายการ
“ผมได้ให้นโยบายกับฝ่ายปฏิบัติว่า หลังรับเรื่องร้องเรียนแล้ว จะต้องมีการตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายใน 48 ชั่วโมง และส่งให้ศาลอนุมัติคำสั่ง เพื่อให้ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และตำรวจที่เกี่ยวข้องเข้าจับกุมผู้กระทำผิดได้โดยเร็ว รวมทั้งส่งต่อไปยังแพลตฟอร์มต่างประเทศ และผู้ให้บริการอินเตอร์เนตในประเทศไทย ทำการปิดเว็บหรือลบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยที่ผ่านมาเฉพาะครึ่งปีแรกของปี 2563 ได้รับแจ้ง 8,715 เว็บ และส่งศาลเพื่อออกคำสั่งไปแล้วทั้งสิ้น 7,164 เว็บ” นายพุทธิพงษ์ กล่าว พร้อมเปิดเผยด้วยว่า

“ที่ผ่านมา เมื่อส่งคำสั่งศาลให้ปิดหรือลบออกไปยังแพลตฟอร์มต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ยูทูป กูเกิล หรืออื่นๆ ถ้าเขาไม่ดำเนินการก็ปล่อยไว้อย่างนั้น แต่วันนี้เราจะบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ถ้าภายใน 15 วันที่เราส่งคำสั่งศาลไปให้แพลตฟอร์มต่างประเทศ หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย แล้วไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลไทยที่ให้ปิดหรือลบออก เราจะดำเนินการตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 27 ซึ่งตำรวจจะรับไปดำเนินคดีอาญาทันที โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา คือตั้งแต่ เม.ย.- มิ.ย. มีเพจเฟซบุ๊กจำนวน 1,129 ชิ้น ยังไม่มีการลบตามคำสั่งศาลไทย ซึ่งผมได้ลงนามส่งจดหมายแจ้งไปแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กแล้วให้ดำเนินการตามคำสั่งศาลไทย หากยังไม่ดำเนินการลบ เราก็จะดำเนินการตามกฎหมายทั้งคดีอาญาและโทษปรับ ซึ่งเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนรูปแบบกดดันและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด จะลดปัญหาเว็บเพจที่ไม่เหมาะสมได้” นายพุทธิพงษ์ กล่าว

นอกจากนี้ จากเหตุการณ์ชุมนุมของนักศึกษาที่ผ่านมา ซึ่งมีโพสต์เนื้อหาไม่เหมาะสมกระทบต่อจิตใจประชาชนคนไทย ได้สั่งให้รวบรวมหลักฐานที่ผิดกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 10-11 ส.ค. 63 (เวลา 16.53 น.) มีโพสต์ที่ประชาชนแจ้งเข้ามา และตรวจสอบทางออนไลน์พบว่าเข้าข่ายความผิด รวบรวมได้ทั้งสิ้น 114 URLs แยกเป็นเฟซบุ๊ก 75 URLs ทวิตเตอร์ 28 URLs ยูทูป 11 URLs โดยจะมีการรวบรวมหลักฐานทั้งหมดส่งศาลต่อไปโดยเร็ว และเมื่อมีคำสั่งศาล จะส่งให้แพลตฟอร์มทั้ง 3 ค่าย ถ้าภายใน 15 วันไม่ปิดหรือลบ จะดำเนินคดีทันที และปรับแพลตฟอร์มด้วย อัตราโทษไม่เกิน 200,000 บาท และรายวันไม่เกิน 5,000บาท ต่อ URLs ตาม พ.ร.บ คอมฯ มาตรา 27
ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ร่วมกันแจ้งเข้ามา หากต้องการส่งหลักฐานเพิ่มเติม ส่งได้เลยที่ m.me/DESMonitorหรือเพจ “อาสา จับตา ออนไลน์” จะมีเจ้าหน้าที่รับเรื่องตลอด 24 ชม.ครับ

ผลการดำเนินการเพจ "อาสาจับตาออนไลน์"

รายงานผลการดำเนินงานของกระทรวงดิจิทัลฯ ในการเปิด เพจ "อาสาจับตาออนไลน์" ให้ประชาชนแจ้งเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม โดยเร่งให้มีการเก็บพยานหลักฐานภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อยื่นขอคำสั่งศาลปิดกั้นเว็บไซต์พร้อมทั้งดำเนินการตรวจสอบผลการปิดกั้นและตั้งกรรมการเปรียบเทียบปรับตาม มาตรา 27 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยมีสถิติผลการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้

1. สถิติตั้งแต่วันที่  1- 8 ส.ค. 63 มีประชาชนแจ้งให้ตรวจสอบ 1,050 URLs. ส่งศาลเพื่อขอปิดกั้นแล้วจำนวน 181 URLs, ฉ้อโกงและเรื่องอื่นๆ 35 URLs (ให้คำปรึกษาประชาชนแล้ว)

2. การตรวจสอบการดำเนินการตามคำสั่งศาลตั้งแต่เม.ย. - มิ.ย. 63 (3 เดือนที่ผ่านมา)ศาลมีคำสั่งปิดกั้น/ลบ เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายจำนวน 1,500 URLs แบ่งเป็นFacebook จำนวน 1,365 URLsปิดให้แล้ว 236 URLsยังไม่ปิดให้จำนวน 1,129 URLs, YouTube จำนวน 135 URLsปิดให้แล้วทั้งหมด 135 URLs

ในวันนี้กระทรวงดิจิทัลฯ ดำเนินการเด็ดขาดโดยมีหนังสือแจ้งเตือน (Letter of Notice) ไปยังผู้ให้บริการที่ยังไม่ปิดตามคำสั่งศาล ให้เร่งดำเนินการปิดกั้นเนื้อหาดังกล่าวโดยเร็วหากไม่ดำเนินการภายใน 15 วันอาจเข้าข่ายการกระทำความผิดตาม มาตรา 27 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550มีความผิดทั้งทางคดีอาญาและมีโทษปรับ ไม่เกิน 200,000 บาท และปรับรายวันไม่เกิน 5,000

3.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯแล้วเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 63 โดยมีองค์ประกอบของผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทน ปอท. และ ผอ.กม. (กระทรวงดิจิทัลฯ) คณะกรรมการดังกล่าวจะได้ออกเกณฑ์ในการปรับ และดำเนินการอย่างจริงจังกับผู้ให้บริการที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการดำเนินการทางอดีอาญาดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการเปรียบเทียบค่าปรับจะเนินการโดยคณะกรรมการฯทำให้เห็นว่าใช้กฎหมายอย่างจริงจังและเข้มงวด

4. การดำเนินการกับเว็บไซต์พนันออนไลน์กระทรวงฯได้ประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติและลงพื้นที่ร่วมกันได้จับกุมไปแล้ว 20 กว่ารายมีวงเงิน 1,000 กว่าล้านบาท

12 สิงหาคม 2563 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) โพสต์ข้อความผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก ระบุว่า “จากเหตุการณ์ชุมนุมล่าสุดเมื่อวานนี้ ซึ่งมีโพสต์เนื้อหาไม่เหมาะสมกระทบต่อจิตใจประชาชนคนไทย ผมสั่งให้รวบรวมหลักฐานที่ผิดกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 10-11 ส.ค. 63 (เวลา 16.53 น.) มีโพสต์ที่ประชาชนแจ้งเข้ามา และตรวจสอบทางออนไลน์พบว่าเข้าข่ายความผิด รวบรวมได้ทั้งสิ้น 114 URLs แยกเป็นเฟซบุ๊ก 75 URLs ทวิตเตอร์ 28 URLs ยูทูป 11 URLs”

“จะมีการรวบรวมหลักฐานทั้งหมดส่งศาลในวันพรุ่งนี้ และเมื่อมีคำสั่งศาล จะส่งให้แพลตฟอร์มทั้ง 3 เจ้า ถ้าภายใน 15 วันไม่ปิดหรือลบ เราจะดำเนินคดีทันที และปรับแพลตฟอร์มด้วย อัตราโทษไม่เกิน 200,000 บาท และรายวันไม่เกิน 5,000บาท ต่อ URLs ตาม พ.ร.บ คอมฯ มาตรา 27 ต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ร่วมกันแจ้งเข้ามา หากต้องการส่งหลักฐานเพิ่มเติม ส่งได้เลยที่ m.me/DESMonitorหรือเพจ “อาสา จับตา ออนไลน์” จะมีเจ้าหน้าที่รับเรื่องตลอด 24 ชม.ครับ”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...