ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
นิพนธ์ เร่งรัด ทุกหน่วย ลดการสูญเสียทางถนน หลังโควิด-19 ซา พลิกสถิติ ช่วงโรคระบาดอุบัติเหตุลดลง จ่อ งัดใช้มาตรการ “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” งดขายสุราช่วงเทศกาล พ่วงสร้างความตระ
21 ส.ค. 2563

ที่ห้องประชุมดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เป็นประธานการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีนายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ ผอ.กองบรูณาการความปลอดภยังทางถนน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตัวแทนกระทรวงคมนาคม ตัวแทนกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานและตะวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) และภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน องค์กร มูลนิธิต่างๆเข้าร่วมประชุม โดยมีการรายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)พบว่าช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2563 ที่มีการประก่ศสถานการณ์ฉุกเฉินจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ลดลง คือ อุบัติเหตุเกิดขึ้น 1,307 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 1,260 ราย  เสียชีวิต 167 ราย เมื่อเทียบกับสงกรานต์ปี 2562 ซึ่งเกิดอุบัติเหตุ 3,338 ครั้ง  ลดลง 2,031 ครั้ง (ร้อยละ 60.81) บาดเจ็บ 3,442 ราย ลดลง 2,182 คน (ร้อยละ 63.39) เสียชีวิต 386 ราย ลดลงจากปีที่แล้ว  219 ราย   การขับรถเร็วยังเป็นสาเหตุหลักอันดับสูงสุดของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน  รองลงมาคือ ตัดหน้ากระชั้นชิดและดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับ  ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ เวลา 16.01- 20.00 น.  ยานพาหนะที่เกิดอุบัติหตุสูงสุด คือ รถจักรยานยนต์ และถนนที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ ถนนในชุมชน อบต./หมู่บ้าน เพิ่มขึ้น 3.33 % แต่ถนนทางหลวง กลับมีสถิติลดลง 5.08 %  และอีกร้อยละ 37.57 เป็นถนนทางตรง ที่มักเกิดอุบัติเหตุใช้ความเร็วสูง เมื่อเปรียบเทียบกับ ครึ่งปีแรกปี 2562  (มกราคม-มิถุนายน)ยอดอุบัติเหตุทั้งหมด 10,454 ราย เปรียบเทียบกับปี 2563 ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากอุบัติทางถนนลดลงทั้งหมด 8,392 ราย ลดลงกว่า 2,062 ราย

นายนิพนธ์  กล่าวว่า อุบัติเหตุทางถนน ถือเป็นภัยคุกคามต่อการเสียชีวิตของประชาชนอยู่ในขณะนี้ ประเด็นเร่งด่วนที่ต้องบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนในการดำเนินการเสริมสร้างประสิทธิภาพการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยใช้กลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด และศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยถนนอำเภอ ในการขับเคลื่อนนโยบาย กรอบแนวคิด ยุทธศาสตร์ มาตรการ ไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ให้เกิดผลป็นรูปธรรม.  หากดูสถิติพบหลังมีการผ่อนปรนมาตรการต่างๆ รวมถึงยกเลิกเคอร์ฟิว พบว่า สถิติทางถนนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2562 ในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่าสถิติอุบัติเหตุทางถนน 2 ปี มีตัวเลขใกล้เคียงกัน สะท้อนให้เห็นว่า ภายหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 คลี่คลายลง ปัญหาอุบัติหตุทางถนนเริ่มมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งในแก้ปัญหาดังกล่าวหากทุกฝ่ายได้ร่วมมือกันและช่วยกันอย่างจริงจัง โดยกำหนดมาตรการและแนวทางการดำเนินการในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ก็จะสามารถช่วยในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อรักษาชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนได้ ทั้งยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืนอีกด้วย


จากนั้นผู้แทนหน่วยงานต่างๆได้รายงานสรุปผลภาพรวมของการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตลอดจนแนวทางในการขับเคลื่อนภารกิจด้านความปลอดภัยทางถนนที่ผ่านมารวมถึงการดำเนินการในระยะต่อไป อาทิเช่น การจัดทำแผนแม่บทด้านความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2564 ตามกรอบปฎิญญาสต็อกโฮล์ม และเป้าหมายโลก 12 เป้าหมาย ศึกษา ทบทวน และปรับปรุงแก้ไขระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งกฎหมาย จราจร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนน
ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ ผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ผลการบังคับใช้กฎหมาย ในแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การชับรถเร็ว การดื่มสุราแล้วขับ รถจักรยานยนต์ ทั้งในช่วงปกติและช่วงเทศกาล
ให้มีความเข้มข้น เช่น  การงดจำหน่ายสุรา 1 วัน ใน 1 เทศกาล ขับเคลื่อนและพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการความปลอดภัยทางถนนในระดับพื้นที่ให้เกิดความต่อเนื่อง พร้อมกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบมุ่งเป้าในประเด็นที่เป็นสาเหตุหลัก ได้แก่ การขับรถเร็ว การดื่มสุราแล้วขับ และการขับขี่รถจักรยานยนต์ให้เป็นรูปธรรม จัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนนให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ความสำคัญกับประเด็น ขับรถเร็ว เมาแล้วขับ และการขับขี่จักรยานยนต์ โดยมีหัวข้อการรณรงค์ “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ”


นายนิพนธ์   กล่าวต่อว่า. ตนขอเน้นย้ำโดยให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน รวมถึงการวางแผนงานในการดำเนินการ เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเกิดเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งยังได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน รวมทั้งให้มีการประชาสัมพันธ์ถึงมาตรการ กฎหมาย และแนวทางต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบโดยทั่วถึง และเกิดความตระหนักรู้ เพื่อสร้างวินัยในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยร่วมกัน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...