ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินหน้าขยายพื้นที่เกษตรแบบแปลงใหญ่ที่จังหวัดพิจิตร ห่วงปัญหาภัยแล้ง ประสานฝนหลวงออกปฏิบัติการต่อเนื่อง
14 ก.ย. 2563

วัดคลองทรายเหนือ ม.4 ต.หนองหญ้าไทร อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นางดาเรศนร์ กิตติโยภาส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ เดินทางลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานภายใต้นโยบาย "การตลาดนำการเกษตร" และ “โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่” ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร โดยมีหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในจังหวัดพิจิตร ผู้บริหารโรงงานน้ำตาลพิษณุโลก ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และเกษตรกรให้การต้อนรับ พร้อมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการฯ ซึ่งในภาพรวมมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่ 117 แปลง เกษตรกรจำนวนกว่า 4,000 ราย รวมพื้นที่กว่า 100,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมดกว่า 2,000,000 ไร่

นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จังหวัดพิจิตรยังมีพื้นที่ร่วมโครงการเกษตรแบบแปลงใหญ่ไม่มาก จึงต้องเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจถึงประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการฯ ให้เกษตรกรเข้าใจ โดยเฉพาะการรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองด้านการตลาด การลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต การสนับสนุนของภาครัฐในการพัฒนาคุณภาพ และการบริหารจัดการ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น สำหรับปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำในช่วงที่ผลผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก ยืนยันว่า ปีนี้รัฐบาลยังเดินหน้าโครงการประกันรายได้ รวมถึงมาตรการคู่ขนานอื่นๆ ซึ่งจะเสนอเข้า ครม. เห็นชอบในเร็วๆ นี้ ส่วนภัยแล้ง ยอมรับว่าปีนี้สถานการณ์น่าเป็นห่วง เพราะปริมาณน้ำในเขื่อนหลักทุกเขื่อนยังน้อยกว่าเป้าหมาย ฝนทิ้งช่วงนาน ในระยะเร่งด่วนได้ประสานศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงพิษณุโลก ขึ้นบินทำฝนหลวงต่อเนื่องเกือบทุกวัน แต่จังหวัดพิจิตรเป็นพื้นที่ทุ่ง ไม่ค่อยมีป่าไม้ ทำให้ความชื้นมีไม่มาก การทำฝนหลวงจึงเป็นไปได้ยาก หรือแม้ทำได้ก็ยังมีปัจจัยเรื่องลมที่ทำให้กำหนดจุดฝนตกตรงพื้นที่เป้าหมายได้ยาก ส่วนในระยะยาว อยู่ระหว่างการทำฝายขั้นบันไดเพื่อกักเก็บน้ำตลอดลำน้ำยม ขณะนี้เสร็จแล้ว 3 ฝาย เหลืออีก 3 ฝาย จะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2566 จะทำให้สถานการณ์น้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่จังหวัดพิจิตรดีขึ้น นอกจากนี้ ต้องส่งเสริมเกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่เหมาะกับการทำนาหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย ซึ่งจะเป็นทางออกของเกษตรกร อย่างไรก็ตามหากพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง หรืออุทกภัย จังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เกษตรกรก็จะได้รับเงินชดเชยช่วยเหลือตามเกณฑ์ที่รัฐบาลกำหนด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...