ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
กรมการจัดหางาน..เตือนนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ระวัง!! โทษปรับสูงหนึ่งแสนบาท แนะให้นำเข้าตาม MOU
06 พ.ย. 2558

กรมการจัดหางานเตือนนายจ้าง/สถานประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต หากถูกจับได้มีโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นถึงหนึ่งแสนบาท ต่อการจ้างแรงงานต่างด้าวหนึ่งคน ในกรณีที่นายจ้างยังคงมีความจำเป็นต้องจ้างแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ สามารถดำเนินการได้โดยวิธีนำเข้าแรงงานต่างด้าว อย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้ “MOU”
                    นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลของกรมการจัดหางาน เดือนกันยายน 2558 พบว่า มีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว และกัมพูชา) ได้รับอนุญาตทำงานตามมาตรา 9 เป็นประเภทพิสูจน์สัญชาติ จำนวน 1,020,185 คน และนำเข้าตาม MOU จำนวน 313,732 คน   ซึ่งภายหลังที่สิ้นสุดการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว และกัมพูชา) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน2558 ที่ผ่านมาแล้วนั้น ยังคงมีนายจ้าง/สถานประกอบการที่แจ้งความจำเป็นต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยวิธีนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้ “MOU” ซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทยมีคู่ภาคี 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่ร่วมมือกันนำแรงงาน  ต่างด้าวเข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยนายจ้าง/สถานประกอบการสามารถยื่นขอโควตาได้ ณ สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1-10 หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด เมื่อนายจ้างยื่นเรื่องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวแล้ว กรมการจัดหางานจะจัดส่งคำร้องให้ประเทศต้นทางภายใน 6 วัน เมื่อประเทศต้นทางอนุมัติ นายจ้างจะได้รับเอกสารไปยื่นขอวีซ่าภายใน 7 วัน โดยในส่วนขั้นตอนการขอใบอนุญาตทำงานนั้น แรงงานต่างด้าวจะได้รับอนุญาตทำงานไม่เกิน 7 วัน  สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 2,000 บาท ได้แก่ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน 1 ปี จำนวน 1,000 บาท  (เป็นค่าคำขอ 100 บาท ใบอนุญาตทำงาน 900 บาท) ค่าตรวจลงตรา จำนวน 500 บาท (ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี) ค่าตรวจสุขภาพ 500 บาท สำหรับกิจการประมง เกษตร ปศุสัตว์และงานรับใช้ในบ้าน ซึ่งไม่ต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคมจะเพิ่มค่าประกันสุขภาพ 1 ปี จำนวน 1,600 บาทต่อคน รวมค่าใช้จ่ายในประเทศสำหรับกลุ่มนี้เป็นเงินจำนวน 3,600 บาท ระยะเวลาการจ้างงานครั้งแรกอนุญาตทำงานไม่เกิน 2 ปี และขอขยายระยะเวลาการจ้างงานได้อีก 2 ปี รวมแล้วไม่เกิน 4 ปี จากนั้นเดินทางกลับประเทศต้นทางเพียง 30 วัน และกลับมาทำงานใหม่ได้
                     นายอารักษ์ฯ กล่าวต่อว่า นายจ้าง/สถานประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต หากถูกจับจะต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นถึงหนึ่งแสนบาทต่อการจ้างแรงงานต่างด้าวหนึ่งคน ส่วนแรงงานต่างด้าวจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองพันจนถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามพ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1-10 หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...