ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
พาณิชย์เผยแผนพัฒนา SMEs ธุรกิจรูปแบบใหม่ และธุรกิจ Startup สู่การเป็น Smart Enterprise หวังให้เป็นเครื่องยนต์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยยุค 4.0
13 ก.ย. 2559

           นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญแก่ธุรกิจ SMEs ธุรกิจรูปแบบใหม่ และธุรกิจ Startup กระทรวงพาณิชย์มีเป้าหมายที่จะพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs เพื่อมุ่งสู่การเป็น Smart Enterprise โดยการสร้าง New Business Model ที่มีนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยี โดยจะนำร่องใน ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจแฟรนไชส์ และธุรกิจบนพื้นฐานนวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value base enterprise) รวมทั้งสร้างระบบนิเวศน์ทางการค้า (Trade Ecosystem) เพื่อให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของ Startup อาทิ การออกกฎหมายฉบับใหม่ที่ให้บุคคลคนเดียวสามารถจดทะเบียนนิติบุคคลได้ ทั้งนี้ การพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs และ Startup จะเป็นการทำงานร่วมกันของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพ

               สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ นั้น กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะปรับแนวทางใหม่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์เป็นรายสาขา อาทิ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจเครื่องดื่ม เพื่อสร้าง Business Format มีการบริหารจัดการที่เต็มรูปแบบ และเตรียมความพร้อมที่จะขายรูปแบบธุรกิจมากกว่าการขายเฉพาะสินค้า ก่อนขยายสู่ตลาดต่างประเทศ โดยจะเป็นการทำงานเชื่อมโยงระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งจะเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการโดยนำเทคโนโลยีของธุรกิจ Startup ที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการเงิน บัญชี โลจิสติกส์ สินค้าคงคลัง และการตลาดมาใช้เป็นเครื่องมือให้ธุรกิจแฟรนไชส์

               ในส่วนของ ธุรกิจบนพื้นฐานนวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value base enterprise) มุ่งเน้นการสร้าง Global Brand โดยแบ่งแนวทางการพัฒนาออกเป็น ระดับ ได้แก่

               ระดับที่ การขยายตลาดและใช้ตลาดเป็นตัวนำ (Demand-Driven & Market Expansion) โดย จะเน้นการสร้างแรงบันดาลใจ (inspiration) และปรับวิธีคิดของผู้ประกอบการ (Entrepreneur Mindset) มุ่งเน้นการใช้ตลาดเป็นตัวนำ (Demand driven) และเสริมทักษะการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value creation)ของสินค้า/บริการ

               ระดับที่ แนวคิดการออกแบบและกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ (Branding Strategy & Design Thinking) โดยการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ (New business model) และการดำเนินธุรกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์ ใน กลุ่ม ได้แก่ สินค้าเกษตรและอาหาร (Food & Agriculture) สุขภาพและความงาม (Health & Wellness ธุรกิจบริการ (Hospitality & Service) และ สินค้าไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Product) โดยนำแนวคิดการออกแบบในกระบวนการธุรกิจ เพื่อสร้างความแตกต่าง

               ระดับที่ การพัฒนาสินค้าเฉพาะกลุ่มและแบรนด์ที่เป็นฮีโร่ (Customization & Thai Brand Heroes) โดยการเสริมความเข้มแข็งสู่ตลาดต่างประเทศเป้าหมาย โดยมีการ Customize สินค้า/บริการให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้บริโภคและความต้องการของแต่ละตลาด พร้อมทั้งสร้าง Thai Brand Heroes

               ระดับที่ การสร้างที่ยืนในตลาดโลกและการสร้างแบรนด์ร่วมกับพันธมิตรที่มีชื่อเสียงในเวทีโลก(Global Presence & Co-Brand with Champions) โดยจะสนับสนุนการแสวงหาพันธมิตรในต่างประเทศให้แก่ผู้ประกอบการ อาทิ การสร้างแบรนด์ผ่านสื่อชั้นนำ ดีไซเนอร์ที่มีชื่อเสียง และแบรนด์ชั้นนำ เน้นการต่อยอดให้เกิดการสร้างแบรนด์ร่วมกัน (Co-Branding) และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรในกลุ่มผู้ประกอบการและ Startup

           นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์จะเป็น Platform กลางในการนำธุรกิจ Startup ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ การขนส่ง การตลาด มาให้ผู้ประกอบการ SMEs ใช้เป็นเครื่องมือในการยกระดับและพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพระดับสากล

                                ในเร็วๆ นี้ กระทรวงพาณิชย์จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ บนพื้นฐานนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นเวทีแสดงผลงานและเจรจาธุรกิจให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการนวัตกรรม และกลุ่ม Startup ในงาน Thailand Innovation and Design Expo 2015 หรือ'T.I.D.E. 2016' ระหว่างวันที่ 15 – 18 กันยายน 2559 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และ งานแสดงสินค้าของขวัญและงานแสดงสินค้าของใช้ในบ้าน ครั้งที่ 42 หรือ งาน BIG+BIH Oct 2016  ณ ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค บางนา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่า แนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs และธุรกิจรูปแบบใหม่ จะเสริมสร้างผู้ประกอบการไทยให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ การสร้าง   แบรนด์ การปรับการตลาดรูปแบบใหม่ และการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมทั้งสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเข็มแข็งและก้าวสู่ตลาดโลกต่อไปได้อย่างมั่นคงในอนาคต

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...