ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
กพร.ให้สถานประกอบการกุ้ฝึกฝีมือ1ล้าน
15 ก.ย. 2559

          ​กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เผยผลงานรอบ 1 ปีที่ผ่านมา สามารถพัฒนากำลังแรงงานได้เกินเป้าหมายที่วางไว้ จากเดิมที่กำหนดไว้ 3,676,180 คน เป็น 3,880,486 คน
​นายกรีฑา สพโชค อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  เปิดเผยภายใน “งานแถลงข่าวผลงานภารกิจกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน” ณ โรงแรมปริ๊นส์ตัน พาร์ค สวีท กรุงเทพมหานคร ว่าในปีงบประมาณ 2559 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ดำเนินการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานไทยให้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ เป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม ให้เข้มแข็งสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน
          ​โดยมีการวางเป้าหมายพัฒนากำลังแรงงานให้ได้ทั้งสิ้น 3,676,180 คน โดยผลการดำเนินงานได้เกินเป้าหมายที่วางไว้ 3,880,486 คน มีผลสัมฤทธิ์คิดเป็นมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 105.56 ซึ่งมีการพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ อาทิ เทคโนโลยีสารสนเทศ โลจิสติกส์และระบบราง เทคโนโลยีออโตเมชั่น ท่องเที่ยวและบริการ พร้อมกับมีการขับเคลื่อนนโยบายต่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน ดังนี้
​โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานไทย มีสถานประกอบกิจการเข้าร่วม 260 แห่ง สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ไม่น้อยกว่า 1,135 ล้านบาท พัฒนากำลังแรงงานได้เฉลี่ย 24,862 คน
​โครงการการพัฒนาทักษะต่างประเทศให้กับแรงงานไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มุ่งเน้นจังหวัดที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมการผลิต ภาคการท่องเที่ยวและบริการ มีการดำเนินการฝึกอบรมไปแล้ว 27,901 คน
          ​นโยบายการพัฒนากำลังแรงงานรองรับประชาคมอาเซียน ในสาขาต่างๆ อาทิ ด้านโลจิสติกส์ เทคโนโลยียานยนต์ การก่อสร้าง ท่องเที่ยวและบริการ ไอที 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มีการดำเนินการฝึกอบรมไปแล้ว 1,239,544 คน
          ​นโยบายการพัฒนาทักษะฝีมือสนับสนุนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น การพัฒนาฝีมือและศักยภาพกลุ่มเครือข่ายแรงงานนานาชาติ CLMV ผลการดำเนินงาน 2,040 คน และฝึกอบรมฝีมือแรงงานในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด เน้นการฝึกใน 13 ประเภทกิจการ  ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOIและพัฒนาทักษะฝีมือคนไทยรองรับอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ  (Cluster, Super Cluster)  ดำเนินการแล้ว 17,123 คน และมีการพัฒนาต่อยอดทักษะฝีมือรองรับการพัฒนาประเทศไทย 4.0 เป็นต้น
​การฝึกอบรมของสถานประกอบกิจการที่ฝึกให้กับพนักงาน/ลูกจ้างของตนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 มีการดำเนินการไปแล้ว 3,612,470 คน ซึ่งสถานประกอบกิจการสามารถนำ ค่าใช้จ่ายการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีได้ ที่ผ่านมาสถานประกอบกิจการนำค่าใช้จ่ายไปลดหย่อนภาษีไปแล้วไม่น้อยกว่า 3,600 ล้านบาท ซึ่งลูกจ้าง/พนักงานทำงานได้ประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนการผลิตไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี
          ​พัฒนาทักษะฝีมือพ่อครัวแม่ครัวไทยให้มีทักษะฝีมือได้มาตรฐาน ดำเนินการได้มากกว่า 10,000 คน ส่งเสริมการประกอบอาชีพทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี พร้อมกับเป็นการสร้างชื่อเสียงด้านอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
          ​พร้อมทั้งนี้มีการจัดทำพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (ฉบับที่๒) พ.ศ.2557 ขึ้น เพื่อควบคุม พัฒนา และยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาที่อาจเป็นอันตรายให้ต่อสาธารณะด้วยการกำหนดให้มีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ หรือ Licenseขึ้นโดยเริ่มที่ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร เป็นสาขาแรก และจะมีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 26 ตุลาคม นี้ ผู้ที่จะได้รับ License ต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ มีผู้ผ่านการทดสอบจำนวน 49,073 คน และมีผู้ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถในสาขานี้ 5,070 คน
ดำเนินการให้กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานกู้ยืมเป็นค่าใช้จ่ายฝึกอบรมฝีมือแรงงานหรือการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2559 – 12 มกราคม 2560 สถานประกอบกิจการ สามารถยื่นขอกู้ยืมเงินจากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานวงเงินสูงสุดถึง 1 ล้านบาท จากเดิมไม่เกิน 3 แสนบาทต่อครั้ง และยังลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเหลือร้อยละศูนย์ จากเดิมร้อยละ 3 ต่อปี มีกำหนดชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน
          มีการปฏิรูปองค์กร จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังแรงงาน 20 ปี และการบูรณาการภาคการศึกษาและทุกภาคส่วนตามแนวทาง “ประชารัฐ” เช่น ร่วมจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานของประเทศในสาขาต่างๆ พัฒนาต่อยอดเด็กอาชีวศึกษา ผู้ว่างงาน ผู้สูงอายุ คนพิการ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าทำงาน ริเริ่มแนวคิดขยายการให้บริการประชาชนจากเดิม 3.6 ล้านคนต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านคนต่อปีภายในปี 2564 ต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...