ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
มกอช.ติวเข้ม8หลักสูตรพัฒนามาตรฐานสินค้าส่งออก
17 ม.ค. 2564

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการ มกอช. มีนโยบายเน้นหนักเรื่องการพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจประเมินของหน่วยรับรอง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจทั่วไป

ในการตรวจประเมินตามมาตรฐานสากลและมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) เพื่อให้สอดรับกับการถ่ายโอนภารกิจด้านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3 ด้าน ได้แก่ งานตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติงาน งานรับรองมาตรฐาน GAP และงานรับรองมาตรฐาน GMP

มกอช. โดยกองส่งเสริมมาตรฐาน (กสม.) จึงได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมพัฒนาผู้ตรวจประเมินตามมาตรฐานสากลและมาตรฐานสินค้าเกษตร จำนวน 8 หลักสูตร ประกอบด้วย

1.หลักสูตรผู้ตรวจประเมิน/หัวหน้าผู้ตรวจประเมินระบบบริหารงานคุณภาพ CQI and IRCA Certified ISO 9001 : 2015 QMS Lead Auditor Training (PR328 Course Specification) (Course Reg No : 18126) จำนวน 2 รุ่น

2.หลักสูตรผู้ตรวจประเมินระบบควบคุมภายในแบบกลุ่มตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ. 9001-2556) (Internal Control System for Food Crop Auditor)

3.หลักสูตรการตรวจประเมินตามมาตรฐานพืชอาหาร ภายใต้หลักการมาตรฐาน ISO 19011 : 2018 (Food Crop Auditing Course In accordance with ISO 19011 : 2018 Guidelines for Auditing Management Systems)

4.หลักสูตรข้อกำหนดและการตรวจประเมินภายในตามมาตรฐาน ISO/IEC 17021-1 : 2015 (ISO/IEC 17021-1 Introduction and Internal Auditor)

5.หลักสูตรข้อกำหนดและการตรวจประเมินภายในตามมาตรฐาน ISO/IEC 17020 : 2012 (ISO/IEC 17020 Introduction and Internal Auditor)

6.หลักสูตรการพัฒนาผู้ตรวจประเมินตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติ

ที่ดีสำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด (มกษ.9047-2560)

7.หลักสูตรหลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี และระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (GHP/HACCP) จำนวน 2 รุ่น

และ 8.หลักสูตรข้อกำหนดและการตรวจประเมินภายในตามมาตรฐาน ISO/IEC 17065 : 2012 (ISO/IEC 17065 Introduction and Internal Auditor) รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง

ทั้งหมดนี้จะดำเนินการภายใต้ “โครงการพัฒนาผู้ตรวจประเมินตามมาตรฐานสากลและมาตรฐานสินค้าเกษตร” เพื่อสร้างองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพ และเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพให้เพียงพอต่อความต้องการในการขอรับรองมาตรฐานของเกษตรกร รวมถึงเพื่อให้สอดรับกับนโยบายการถ่ายโอนภารกิจ

โดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงทักษะและเทคนิคต่าง ๆ ในการตรวจประเมิน และสามารถนำหลักการพื้นฐานด้านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรและยกระดับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ เป้าหมายหลักเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารในยุค new normal ให้กับผู้บริโภคและประเทศคู่ค้า

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...