ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมร่วมส่งเสริมการจัดการขยะอย่างยั่งยืนจากการปลูกจิตสำนึกคนในชาติ
04 พ.ย. 2559

          นายสากล ฐินะกุล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ในฐานะที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่สร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน จึงรับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน Road Map ในกิจกรรมการสร้างวินัยคนในชาติ มุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน ด้วยการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการจัดการขยะจากแหล่งกำเนิด ตามแนวคิด Zero Waste หรือ การจัดการขยะเหลือศูนย์ โดยใช้หลัก 3Rs คือ Reduce การลดปริมาณขยะ Reuse การใช้ซ้ำ และ Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ และการจัดการขยะที่เหลืออย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมา กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มีการดำเนินโครงการโครงการเมืองสะอาดคนในชาติมีสุข โดยการขับเคลื่อนพื้นที่ 1 จังหวัด 1 อปท.ต้นแบบ ด้านการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยใช้หลักการ 3Rs ลด ใช้ซ้ำ นำมาใช้ใหม่ โดยขอให้จังหวัดจัดกิจกรรมรณรงค์การจัดการขยะตามแผนงานอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย คัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง ที่มีรูปแบบการจัดการขยะอย่างมีมาตรฐาน ตั้งแต่ต้นทาง ชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่างๆ ให้เป็นอปท.ต้นแบบ
          โครงการประกวดชุมชนปลอดขยะ Zero waste เฉลิมพระเกียรติ 89 พรรษา 89 ชุมชน ปี 2559โดยชุมชนที่ชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช :ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 แล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และโครงการประกวดโรงเรียนปลอดขยะ Zero waste School เฉลิมพระเกียรติ 61 พรรษา 61 โรงเรียน ปี 2559 โดยโรงเรียนชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
          จากผลการดำเนินงานการส่งเสริมให้มีการจัดการขยะที่ต้นทางของชุมชนและโรงเรียนปลอดขยะ zero waste ปี 2559 มีการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ดังนี้ จำนวน 89 ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ คิดเป็น 14,553.33 กิโลกรัม/วัน (หรือ 14.55 ตัน/วัน) คิดเป็นร้อยละ 53.50 และจำนวน 61 โรงเรียน ที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ คิดเป็น 1,154.11 กิโลกรัม/วัน (หรือ 1.15 ตัน/วัน) คิดเป็นร้อยละ 59.82 รวมจำนวนขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ของชุมชนและโรงเรียนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 5,730 ตันต่อปี และจากจำนวนขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ดังกล่าว เมื่อนำมาคิดเป็นค่าขนส่งและค่ากำจัดขยะโดยเฉลี่ยตันละ 1,000 บาท จะประหยัดงบประมาณให้กับภาครัฐได้ถึง 5,730,000 บาท ในขณะที่มูลค่าของจำนวนขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ดังกล่าว มีราคาเฉลี่ยรายได้กิโลกรัมละ 6 บาท ดังนั้น จึงสร้างรายได้ให้กับชุมชนและโรงเรียนได้ประมาณ 34,380,000 บาท

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...