ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สังคม / บุคคล ย้อนกลับ
เด้งผบ.คุกแปดริ้วฐานปล่อยนักโทษติดเชื้อ660คน
02 มิ.ย. 2564

กรณีหนังสือคำสั่งของกระทรวงยุติธรรม โดย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ที่ 184/2564 เรื่องมอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เพื่อให้การบริหารราชการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเพื่อประโยชน์ของทางราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 แห่งพระราชาบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 5 พ.ศ.2545 มีคำสั่งมอบหมายให้ นายกรีฑา แก้วเทศ ตำแหน่งผู้บัญชาการเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการประจำกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง และให้ น.ส.สมสกุล แอลเฟรด นักทัณฑวิทยาเชี่ยวชาญ สำนักพัฒนาพฤตินิสัย กรมราชทัณฑ์ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

โดยเรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากวันที่31 พ.ค.64 ตามตัวเลขแจ้งยอดผู้ป่วยในเรือนจำฉะเชิงเทราที่ติดเชื้อโควิด-19 วันเดียวตรวจพบถึง 660 คน ทำให้เรือนจำมีผู้ป่วยสะสมสูงถึง 1,218 ราย เป็นผู้ต้องขังชาย 1,130 ราย และผู้ต้องขังหญิง 88 ราย ขณะที่เรือนจำกลางฉะเชิงเทรามีผู้ต้องขังรวมทั้งหมด 2,693 คน

นอกจากนี้ยังมีการส่งตัวผู้ต้องขังที่มีอาการหนักออกไปรักษานอกเรือนจำที่โรงพยาบาลพุทธโสธร จำนวน 8 ราย เป็นชาย 7 ราย และหญิง 1 ราย ซึ่งผู้ป่วย 8 รายนี้ มีผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคถึง 3 ราย ทำให้วันนี้ภายในศูนย์ปฏิบัติการโรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องทำงานกันอย่างหนัก เพื่อคัดแยก คัดกรองผู้ต้องขังส่วนที่เหลืออีกครึ่งเรือนจำที่ยังไม่ติดเชื้อ พร้อมกันนี้ยังมีการวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ตามหอนอนผู้ป่วยทั้ง 13 ห้อง เพื่อสอบสวนอาการที่เกิดขึ้นจากผู้ต้องขังที่ติดเชื้อทั้งหมด

ขณะที่ นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า สาเหตุที่พบผู้ป่วยในเรือนจำสูงถึง 660 รายนั้น เกิดจากการที่ตนสั่งการให้มีการตรวจเชิงรุกสวอป ผู้ต้องขังทั้ง 2,693 ราย จากปกติที่มียอดติดเชื้อในเรือนจำวันละ 50-100 ราย ทุกวัน จึงจำเป็นต้องมีการตรวจเชิงรุกเพื่อคัดกรองแยกผู้ป่วยและผู้ต้องขังที่ยังไม่ติดเชื้อออกจากกัน

โดยขณะนี้ด้านในเรือนจำได้แบ่งโซนออกเป็น 3 โซนอย่างชัดเจน คือ โซนสีเขียว เป็นโซนที่ปลอดภัย ขณะนี้มีผู้ต้องขังอยู่โซนนี้ จำนวน 1,020 ราย โซนสีเหลือง คือ โซนโรงพยาลสนามที่กักตัวรอผลตรวจเชื้อ จำนวน 211 ราย และโซนสีแดง คือ โซนผู้ป่วยที่ติดเชื้อยู่ในขณะนี้ โดยผู้ต้องขังทั้งหมดที่มีอาการเล็กน้อยจะทำการรักษาในเรือนจำทั้งหมด ซึ่งมีทีมแพทย์ประจำและคอยตรวจตราผ่านระบบกล้องวงจรปิด และวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ตลอด 24 ชั่วโมง

หากผู้ต้องขังรายใดมีอาการหนักก็จะประสานรถจากโรงพยาบาลพุทธโสธรมารับตัวโดยทันที ซึ่งการเคลื่อนย้ายผู้ต้องขังที่ป่วยนั้น เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลจะทำด้วยความระมัดระวังและป้องกันตัวตามมาตรการของระบบสาธารณสุข ก่อนเคลื่อนย้ายเข้าห้องแรงดันลบนำตัวรักษาที่โรงพยาบาลพุทธโสธร อยากให้ประชาชนมั่นใจว่าจะไม่มีการแพร่เชื้อจากผู้ต้องขังถึงประชาชนภายนอกแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม หากเกิดการระบาดมากกว่านี้ ตนเองได้วางแผนและเตรียมการแบ่งโซนสีไว้อย่างชัดเจนแล้ว ซึ่งหากมีการระบาดหรือติดเพิ่มมากขึ้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขก็จะมีการคัดกรองและคัดแยกนำไปรักษาตามจุดต่างๆ ที่วางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว ส่วนอีกหนึ่งกรณีคือ ผู้ต้องขังที่พ้นโทษแล้ว ยังคงมีการกักตัวให้อยู่ในโซนสีเขียวอีก 14 วัน เพื่อสังเกตอาการ และจะทำการสวอปหาเชื้อก่อนจะปล่อยตัวผู้ต้องขังที่พ้นโทษ เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่มีนักโทษที่ถูกปล่อยออกมาแพร่เชื้อสู่ชุมชน.

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...