ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
พพ. แจงผลสำเร็จโครงการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนในภาคความร้อนมีผู้สนใจกว่า 51 ราย
12 มิ.ย. 2564

นางสาวนวลจันทร์ เตชะเสริมสุขกูล รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนาแถลงผลสำเร็จของการดำเนินงาน “โครงการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนในภาคความร้อน” ณ ห้องประชุมแคนนา โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร และผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการสนับสนุนเงินลงทุนบางส่วนสำหรับติดตั้งเครื่องจักร สำหรับการผลิตและใช้พลังงานทดแทนในภาคความร้อน  เพื่อผลักดันให้มีสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในภาคความร้อนเพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับแผน AEDP 2018  โดยแบ่งผู้ได้รับการสนับสนุนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อดำเนินโครงการผลิตเชื้อเพลิงพลังงานทดแทน เช่น จัดตั้งโรงงานผลิตไม้สับ จัดตั้งโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด เป็นต้น โดยจะสนับสนุนไม่เกินร้อยละ 80 ของเงินลงทุนแต่ไม่เกิน 3,000,000.00 บาท และ 2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตรและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก (SME) ซึ่งเป็นผู้ใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน เช่น การเปลี่ยนหัวเผาที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปเป็นหัวเผาที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลในหม้อไอน้ำ หรือใช้ในระบบอบแห้งต่าง ๆ เป็นต้น โดยจะสนับสนุนไม่เกินร้อยละ 40 ของเงินลงทุนแต่ไม่เกิน 3,000,000.00 บาท  รวมทั้งสองกลุ่มจำนวนไม่น้อยกว่า 50 แห่ง

 ผลการดำเนินโครงการฯ มีผู้เข้าร่วมโครงการกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งสิ้น 51 แห่ง เป็นกลุ่มผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล 9 แห่ง ประกอบด้วยกลุ่มผลิตไม้สับ 5 แห่ง ผลิตเปลือกมะพร้าวสับ 1 แห่ง ชีวมวลอัดเม็ด 2 แห่ง และผลิตไม้บด จำนวน 1 แห่ง ผลิตความร้อนคิดเป็นปริมาณรวม 31.99 ktoe/ปี ส่วนกลุ่มผู้ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล มีจำนวน 42 แห่ง ได้แก่ ผู้ใช้แกลบ 4 แห่ง ใช้ไม้สับ 7 แห่ง กะลาปาล์ม 4 แห่ง ขี้เลื่อย 5 แห่ง ชีวมวลอัดเม็ด 20 แห่ง และซังข้าวโพด 2 แห่ง คิดเป็นปริมาณความร้อนรวมเท่ากับ 56.52 ktoe/ปี ผู้ผลิตและผู้ใช้มีมูลค่าการลงทุนติดตั้งเครื่องจักรรวมทั้งสิ้น 340,158,802.55 บาท ภาครัฐให้การสนับสนุน 140,001,204.00 บาท 

นอกจากนี้การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลในโครงการนี้ สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรที่นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาขายเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล คิดเป็นเงิน 62,207,768.42 บาท/ปี และสร้างกำไรสุทธิจากการขายเชื้อเพลิงชีวมวล ได้เท่ากับ 11,263,113.02 บาท/ปี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...