ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม ปี 2559
28 พ.ย. 2559
         "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนตุลาคม ปี 2559 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง นำโดยภาคตะวันออกและภาคใต้ ตามแรงขับเคลื่อนของการบริโภคสินค้าและบริการ โดยเฉพาะสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย ตามรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีในหลายภูมิภาค นอกจากนี้ รายได้จากการเยี่ยมเยือนของนักท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดี ช่วยให้เศรษฐกิจภูมิภาคยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี"
 
        นายพรชัย ฐีระเวช รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม ปี 2559 "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนตุลาคม ปี 2559 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง นำโดยภาคตะวันออกและภาคใต้ ตามแรงขับเคลื่อนของการบริโภคสินค้าและบริการ โดยเฉพาะสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย ตามรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีในหลายภูมิภาค นอกจากนี้ รายได้จากการเยี่ยมเยือนของนักท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดี ช่วยให้เศรษฐกิจภูมิภาคยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี" โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้
 
         ภาคใต้ เศรษฐกิจขยายตัวอย่างชัดเจน จากการบริโภค ภาคเกษตร และการท่องเที่ยวเป็นหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่าย ยอดรถยนต์นั่ง และยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 5.1 1.9 และ 6.2 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 24.6 ต่อปี สำหรับการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณที่ดี จากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี ขณะที่ด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนที่ร้อยละ 13.4 และ 20.7 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
 
         ภาคตะวันออก เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภค การลงทุนภาครัฐและเอกชน การท่องเที่ยว และภาคเกษตร สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 13.7 และ 4.9 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 22.1 ต่อปี ตามผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้น สำหรับรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 24.2 ต่อปี ประกอบกับการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ จากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่และเม็ดเงินลงทุนในโรงงานขยายตัวร้อยละ 5.9 และ 1.2 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดีทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนที่ร้อยละ 43.1 และ 84.6 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
 
         ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย และการลงทุนภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ จากการบริโภคภาคเอกชน โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 3.7 และ 4.6 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ การลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.8 ต่อปี ขณะที่ด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะจำนวนผู้เยี่ยมเยือนที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 ต่อปี สำหรับด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค 
 
         ภาคกลาง เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากการบริโภคสินค้าและบริการภาคเอกชน และรายได้จากการท่องเที่ยวจากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย เป็นสำคัญ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.3 ต่อปี สอดคล้องกับผลผลิตภาคเกษตรกรรมที่ยังขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรจะชะลอลง สำหรับด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะจำนวนผู้เยี่ยมเยือนรวมที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปี ส่งผลให้รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทยขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 8.9 ต่อปี ส่วนด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
 
        ภาคตะวันตก เศรษฐกิจส่งสัญญาณขยายตัวต่อเนื่อง จากการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน ตามรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีชึ้น และการท่องเที่ยวขยายตัวดี สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนของภาคเอกชน จากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 และ 4.6 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.3 ต่อปี ขณะที่ด้านอุปทาน การท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนที่ร้อยละ 4.5 และ 18.2 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
 
         กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจภูมิภาคยังฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป จากการบริโภคภาคสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย และภาคเกษตร เป็นสำคัญ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อยยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี ตามรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี ขณะที่ด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยว ยังขยายตัว โดยเฉพาะรายได้จากการเยี่ยมเยือนคนไทยที่ขยายตัวได้ร้อยละ 13.2 ต่อปี ส่วนด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
 
        ภาคเหนือ เศรษฐกิจภูมิภาคยังคงทรงตัว อย่างไรก็ดี การลงทุนภาครัฐยังเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี อีกทั้งการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรขนาดใหญ่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง จากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี ซึ่งยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวในภูมิภาค ในด้านการบริโภคสินค้าและบริการชะลอลงเล็กน้อย สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรชะลอลง อย่างไรก็ดี ผลผลิตภาคเกษตรกรรมยังปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 13.7 ต่อปี ขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคมอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.0 เช่นเดียวกับอัตราการว่างงานในเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
 
โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามเอกสารแนบ
เอกสารแนบ
 
รายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม ปี 2559
 
       "เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนตุลาคม ปี 2559 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง นำโดยภาคตะวันออกและภาคใต้ ตามแรงขับเคลื่อนของการบริโภคสินค้าและบริการ โดยเฉพาะสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย ตามรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีในหลายภูมิภาค นอกจากนี้ รายได้จากการเยี่ยมเยือนของนักท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดี ช่วยให้เศรษฐกิจภูมิภาคยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี"
 
       1. ภาคใต้ : การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดี สอดคล้องกับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้ ส่วนรายได้เกษตรกรขยายตัวเป็นบวก และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น 
ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวดี โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายในเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าคงทนสะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวได้ร้อยละ 1.9 และ 6.2 ต่อปี ตามลำดับ ตามการปรับตัวดีขึ้นในจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ ชุมพร กระบี่ สงขลา นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี เป็นต้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน  ในขณะที่การลงทุนเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวเล็กน้อย สะท้อนได้จากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ในเดือนตุลาคมขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี 
        ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยในเดือนตุลาคม มีจำนวนนักท่องเที่ยว 3.4 ล้านคนครั้ง ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 13.4 ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 20.2 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือน อยู่ที่ 51,804 ล้านบาท ขยายตัวในอัตราเร่งเช่นกันที่ร้อยละ 20.7 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปี และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 23.4 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตขยายตัวในอัตราเร่ง สอดคล้องกับราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในเกณฑ์ดี ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวเช่นกัน ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 88.0 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง และอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม และอุตสาหกรรมโรงเลื่อย โรงอบไม้ เป็นสำคัญ 
ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยในเดือนตุลาคม อัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ 68,575 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.3 ของกำลังแรงงาน 
 
         2. ภาคตะวันออก : การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยมีการลงทุนภาครัฐช่วยสนับสนุน สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีมากทั้งจำนวนและรายได้ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวตามราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในระดับสูง ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น
ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่าย ในเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 13.7 ต่อปี ต่อปี เช่นเดียวกันกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย สะท้อนจากยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ที่ขยายตัวเช่นกันที่ร้อยละ 4.9 ต่อปี ตามการปรับตัวดีขึ้นของรายได้เกษตรกร และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนที่ยังส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนได้จากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 5.9 และ 1.2 ต่อปี ตามลำดับ ด้านการลงทุนภาครัฐในภูมิภาคขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 24.2 ต่อปี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค 
         ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวดีทั้งจำนวนและรายได้ โดยในเดือนตุลาคม มีจำนวนนักท่องเที่ยว 4.26 ล้านคนครั้ง ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 43.1  ต่อปี แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 32.4 ต่อปี และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 84.4 ต่อปี ส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือนตุลาคม ปี 2559 อยู่ที่ 18,087 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 84.6 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 51.7 ต่อปี และรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 124.8 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวในอัตราเร่ง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรขยายตัวเช่นกัน ส่งผลให้รายได้เกษตรขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 22.1 ปี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 99.2 ปัจจัยบวก ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และผลประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และอุตสาหกรรมหนังและเครื่องหนัง เป็นต้น
ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนตุลาคม อัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ  0.5 ต่อปี ในขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ 28,341 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค 
 
        3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้น จากการบริโภคภาคเอกชน โดยมีการลงทุนภาครัฐช่วยสนับสนุน สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
        ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายในเดือนตุลาคม ขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย สะท้อนจากยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวในอัตราเงที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี ตามการขยายตัวของจังหวัดหลายจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดสอำนาจเจริญ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดเลย เป็นต้น  โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของผลผลิตสินค้าเกษตร สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้งคลี่คลายลง และมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่วนรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจภายในภูมิภาค โดยในเดือนตุลาคม ปี 2559 ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ร้อยละ 11.8 ต่อปี
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ โดยในเดือนตุลาคม มีจำนวนนักท่องเที่ยว 3.5 ล้านคนครั้ง ขยายตัวร้อยละ 0.1 ต่อปี ตามการขยายตัวของนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นสำคัญ โดยขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตขยายตัวในอัตราเร่ง ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลผลิตเกษตรสำคัญ อาทิ มันสำปะหลัง ข้าวโพด และปศุสัตว์ เป็นต้น ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ที่ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 78.0  ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และ ผลประกอบการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม เป็นต้น 
ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนตุลาคม อัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับที่ยังเอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ 80,206 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
 
           4. ภาคกลาง : เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี
ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยดูจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ เฉพาะส่วนที่เก็บบนฐานการใช้จ่ายในเดือนตุลาคม ขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 ต่อปี ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากผลลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัว โดยฉพาะผลผลิตข้าวโพดและปศุสัตว์ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้งคลี่คลายลง และมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
          ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวยังคงขยายตัว โดยในเดือนตุลาคม มีจำนวนนักท่องเที่ยว 1.5 ล้านคนครั้ง ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปี  แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปี และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 4.2 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวดีในจังหวัด สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตขยายตัวในอัตราเร่งจากผลผลิตสำคัญ อาทิ ข้าวโพด มันสำปะหลัง และปศุสัตว์ เป็นต้น แต่ราคาชะลอตัวเล็กน้อย ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น จากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 89.3 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และ ผลประกอบการที่ดีขึ้น  โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมรองเท้า เนื่องจากการส่งออกไปอินเดีย อินโดนีเซีย และกลุ่มประเทศ CLMV เพิ่มขึ้น
         ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยเดือนตุลาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ 17,824 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค 
 
         5. ภาคตะวันตก : การบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะสินค้าคงทนขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีมากทั้งจำนวนและรายได้ ส่วนรายได้เกษตรกรขยายตัวเป็นบวก จากการขยายตัวของผลผลิตสินค้าเกษตร 
ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนสะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 3.3 และ 0.6 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตกรที่ปรับตัวที่ขึ้น เนื่องผลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัวในระดับสูง สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้งคลี่คลายลง 
         ในด้านอุปทาน พบว่าการท่องเที่ยวขยายตัวทั้งจำนวนและรายได้ โดยในเดือนตุลาคม มีจำนวนนักท่องเที่ยว 2.84 ล้านคนครั้ง ขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี โดยเป็นปรับตัวเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นสำคัญ โดยขยายตัวที่ร้อยละ 7.4 ต่อปี ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม และกาญจนบุรี เป็นต้น สอดคล้องกับส่วนรายได้จากการเยี่ยมเยือ อยู่ที่ 9,577 ล้านบาท ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 18.2 ต่อปี แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทยขยายตัวร้อยละ 21.5 ต่อปี รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี ส่วนภาคเกษตรพบว่าผลผลิตขยายตัวในอัตราเร่ง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น จากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 89.3 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และ ผลประกอบการที่ดีขึ้น  โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมรองเท้า เนื่องจากการส่งออกไปอินเดีย อินโดนีเซีย และกลุ่มประเทศ CLMV เพิ่มขึ้น
          ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเดือนตุลาคม อัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ 16,457 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงาน
 
         6. กทม. และปริมณฑล: การบริโภคสินค้าและบริการขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทนของผู้มีรายได้น้อย ด้านอุปทานด้านเกษตรขยายตัวดีจากผลผลิตและราคาสินค้าเกษตร สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม 
         ในด้านอุปสงค์ พบว่าการบริโภคและบริการสินค้ายังคงขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี ตามการขยายตัวยอดจดทะเบียนใหม่ในจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี เป็นสำคัญ เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี 
         ในด้านอุปทาน พบว่าภาคเกษตรพบว่าผลผลิตในระดับสูงที่ร้อยละ 9.2 ต่อปี ส่งผลให้รายได้เกษตรขยายตัวเช่นกัน ที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 89.3 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และ ผลประกอบการที่ดีขึ้น  โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมรองเท้า เนื่องจากการส่งออกไปอินเดีย อินโดนีเซีย และกลุ่มประเทศ CLMV เพิ่มขึ้น 
ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในตุลาคม อัตราเงินเฟัอทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ 100,774 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค 
 
         7. ภาคเหนือ : เศรษฐกิจยังคงทรงตัว อย่างไรก็ดี การลงทุนภาครัฐ ยังเป็นกลไลหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ในด้านอุปสงค์ พบว่า ในด้านรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลในภูมิภาคในตุลาคม ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรขนาดใหญ่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง จากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี ตามการขยายตัวในระดับสูงในจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก และนครสวรรค์ เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวในภูมิภาค ในด้านการบริโภคสินค้าและบริการชะลอลงเล็กน้อย 
          ในด้านอุปทาน พบว่าภาคเกษตรพบว่าผลผลิตในระดับสูงที่ร้อยละ 13.7 ต่อปี  สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยดูจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 76.3 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ คำสั่งซื้อ ยอดขาย และ ผลประกอบการที่ดีขึ้น  โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ และอุตสาหกรรมเซรามิกเนื่องจากการส่งออกไปจีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศ CLMV เพิ่มขึ้น 
         ในด้านเสถียรภาพภายใน พบว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยในเดือนตุลาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.0ต่อปี ขณะที่จำนวนการว่างงานในเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ 61,192 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค 
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...