ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจับมือผู้ประกอบการ สนับสนุนใช้ระบบอัตโนมัติลดการสัมผัสฝ่าวิกฤตโควิด – 19
10 ก.ค. 2564

ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตในภาคอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการ SME จำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาเข้าถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ดังนั้น กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแก่สถานประกอบการ ผ่านการปรับปรุงกระบวนการผลิต ตั้งแต่การพัฒนาแนวความคิด และวิเคราะห์ปัญหาที่หน้างาน ตลอดจนมีการปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยการนำระบบอัตโนมัติ หรือหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเข้ามาช่วย ซึ่งจะเพิ่มเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) และลดการสัมผัสและแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรน่าโควิด-19 ได้อีกทางหนึ่ง

นางสาวอลิสา เลิศเดชเดชา ผู้บริหารบริษัท ไทยเฮอบิไซด์ จำกัด และเข้าร่วมโครงการกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแก่สถานประกอบการ เปิดเผยว่า “ด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดผลกระทบต่อทุกธุรกิจไปจนถึงกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เพราะว่าทางบริษัทเองก็ต้องรักษามาตรการความปลอดภัย เช่น การเว้นระยะห่างในการทำงาน การลดเวลาในการทำงาน ซึ่งทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้นในขณะที่ผลผลิตน้อยลง บริษัทจึงมีแนวคิด ว่า ณ เวลานี้ถึงเวลาที่ต้องพัฒนาปรับปรุงกลยุทธ์ในการดำเนินงานและการบริหารงานให้ก้าวพ้นวิกฤตนี้ได้อย่างยั่งยืนจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ผลกระทบที่บริษัทเจอก่อนเข้าร่วมโครงการนั้น บริษัทต้องหยุดกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนทำให้ไม่มีผลผลิต ขาดรายได้ เพราะต้องกักตัวพนักงานทำให้ไม่มีแรงงานและต้องหยุดการทำงาน เพราะสมัยก่อนบริษัทใช้แรงงานคนจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ทางบริษัทได้หลายแนวคิดในการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้น ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ดำเนินการให้ความรู้และคำแนะนำการเปรียบเทียบวัดมาตรการกระบวนการปรับปรุงเครื่องจักรให้เป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น สามารถตัดสินใจในการลงทุนได้ด้วยจุดคุ้มทุนไม่เกิน 2 ปี ถึงแม้ว่าระยะเวลาจะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ  2 เดือน แต่บริษัทได้ประโยชน์อย่างมาก ดังนั้นต้องการเพิ่มขีดความสามารถในกระบวนการผลิตในเบื้องต้นให้อยู่ที่ 30 - 50% และหลังจากนี้ มีแผนพัฒนาระบบให้เป็นอัตโนมัติเต็มรูปแบบ เพื่อที่จะต่อยอดจากระบบฐานข้อมูลเดิมไปสู่ระบบ ERP ที่ใช้อยู่ และพัฒนาต่อเนื่องมาสู่ระบบปัญญาประดิษฐ์สามารถใช้จับและวางแผนได้อย่างแม่นยำมากขึ้น โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมาก เพราะว่าทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ความสนใจและช่วยในการพัฒนา SME ของประเทศไทยโดยมีความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 หน่วยที่มีที่ปรึกษาคอยให้คำปรึกษาแนะแนวทางให้สถานประกอบการ สามารถพัฒนาและต่อยอดไปได้ อยากจะฝากให้ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ดำเนินโครงการนี้ไว้ต่อหรืออาจจะมีโครงการที่หลากหลายสำหรับการพัฒนาและส่งเสริม SME ต่อๆ ไปในอนาคต”

“จากในปัจจุบันที่เทคโนโลยีต่างๆ เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องกะทันหันและรวดเร็ว SME เองก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ทันต่อผู้แข่งขันรายอื่นๆ จึงต้องมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็น SME 4.0 เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีความร่วมมือกับหลายภาคส่วน ที่ให้ความช่วยเหลือและความรู้โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับ SME ในการการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยหรือเข้ามาใช้ในสถานประกอบการ ซึ่งระบบอัตโนมัติไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่สามารถประยุกต์ใช้ได้ภายในโรงงานเองอย่างประสิทธิภาพและประสิทธิผล” กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้าย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...