ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์ ย้อนกลับ
ทักษะที่สำคัญของ Digital Literacy ในยุควิถีใหม่ New Normal
20 ก.ค. 2564

DigiC : โดย อ.ธวัชชัย สุขสีดา (อ.ตันรัก) วิทยากรตลาดดิจิทัล

ทักษะที่สำคัญของ Digital Literacy

ในยุควิถีใหม่ New Normal

                ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากยุคแอนะล็อกไปสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็วจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราในหลาย ๆ ด้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งการ ติดต่อสื่อสาร การทำงาน การทำธุรกิจ การทำธุรกรรม การเงิน การธนาคาร การซื้อสินค้า ฯลฯ

 เราจึงต้องปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ New Normal ที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา เรื่องการปรับตัว จากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี (Culture Shock)  และเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูญเสียความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน การโจรกรรมข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ เป็นต้น หากพูดถึงคำว่า Digital Literacy หลายคนอาจเคย ได้ยินคำนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไรและมีความสำคัญกับชีวิตของเรายังไง ลองไปทำความเข้าใจกันครับ

                Digital Literacy หรือการรู้ดิจิทัล หมายถึง ทักษะความ เข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือ ใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กร ให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยทักษะ ต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตในสังคมยุค ปัจจุบัน ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่นับวันจะมีความยุ่งยาก และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าเราเข้าใจและใช้เทคโนโลยีอย่าง สร้างสรรค์ ใช้ความรู้ด้านไอทีให้ได้มากกว่าแค่ความบันเทิง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่การเป็นประเทศไทยดิจิทัลในยุควิถีใหม่ New Normal ที่เราต้องมีทักษะที่สำคัญของ Digital Literacy ดังนี้

                1.การใช้ (Use) คือทักษะและความสามารถในการใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor) เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) อีเมล (e-mail) และเครื่องมือ สื่อสารอื่นๆ ไปสู่เทคนิคขั้นสูงขึ้นสำหรับการเข้าถึงและการใช้ ความรู้ เช่น โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน (Search Engine) และฐานข้อมูลออนไลน์ รวมถึงเทคโนโลยี ที่เกิดใหม่ เช่น Cloud Computing และ Internet of Things (IoT)

                2.การเข้าใจ (Understand) คือทักษะที่ทำให้เราเข้าใจบริบทและประเมินสื่อ ดิจิทัล เพื่อให้สามารถตัดสินใจ เกี่ยวกับอะไรที่ทำและพบบน โลกออนไลน์ เป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นเมื่อเริ่มเข้าสู่โลกออนไลน์ ทำให้เข้าใจ และตระหนักว่าเทคโนโลยีเครือข่ายมี ผลกระทบต่อพฤติกรรม ความเชื่อและความรู้สึกเกี่ยวกับ โลกรอบตัวของเราอย่างไร เราควรพัฒนาทักษะการจัดการ สารสนเทศเพื่อค้นหา ประเมิน และใช้สารสนเทศอย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อติดต่อสื่อสาร ประสานงานร่วมมือ และ แก้ไขปัญหา

                3.การสร้าง (Create) คือทักษะในการผลิตเนื้อหาและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพผ่านทางสื่อดิจิทัลประเภทต่างๆ การสร้างเนื้อหา ด้วยสื่อดิจิทัลเป็นมากกว่าการรู้วิธีการใช้โปรแกรมประมวล ผลคำหรือการเขียนอีเมล แต่ยังรวมถึงความสามารถในการดัดแปลงสื่อสำหรับผู้ชมที่หลากหลาย ความสามารถในการ สร้างและสื่อสารด้วยการใช้ Rich Media เช่น ภาพ วิดีโอ และเสียง ตลอดจนความสามารถในการมีส่วนร่วมกับ Web 2.0 อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบ เช่น การเขียน Blog การแชร์ภาพหรือวิดีโอ รวมถึงการใช้ Social Media รูปแบบต่าง ๆ

                ซึ่งตัวอย่างของการพัฒนาทักษะ Digital Literacy ในการใช้โปรแกรมสำนักงานสำเร็จรูป ได้แก่ Microsoft Word ในการทำรายงาน Microsoft Excel สำหรับการคำนวณ และ Microsoft Power Point เพื่อการ ทำงาน Presentation ซึ่งเป็นพื้นฐานในการผลิตผลงานใน การเรียนและการทำงาน การใช้งานอีเมล เพื่อติดต่อสื่อสาร และรับส่ง จดหมาย รวมถึงไฟล์ประเภทต่างๆ ได้ทุกเวลา การใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ เพื่อสืบค้นข้อมูล ความรู้ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีขีดจำกัด

สรุปได้ว่าประโยชน์ของ digital literacy สามารถช่วยสร้างสรรค์ตนเองและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถระบุทางเลือกและตัดสินใจ สามารถบริหารจัดการงานและเวลาได้ดีมากขึ้น และ ช่วยสร้างสมดุลในชีวิตและการทำงาน มีเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้และเติบโตอย่างเหมาะสม โดยถ้าเป็นคนที่มีทักษะ digital literacy จะยอมรับว่ามีความทันสมัย เปิดกว้าง ซึ่งจะช่วยดึงดูดและรักษาคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูง มาทำงานกับ องค์กรด้วยหน่วยงานได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากประชาชนและผู้รับบริการมากขึ้น

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...