ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติแจง 4 ประการ หลัง คปพ.ไม่เห็นด้วยกัยมติ ครม.
13 ธ.ค. 2559

          ตามที่ คปพ. ได้มีการยื่นหนังสือข้อร้องเรียนไม่เห็นด้วยในการที่ ครม.มีมติเห็นชอบให้ต่อระยะเวลาผลิตแปลง B8/32 ให้กับ บริษัท เชฟรอน (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีการให้ข้อคิดเห็นประกอบที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง นั้น ​กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  ขอชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 
ประการที่ 1
          กรณีที่ 1  การต่อระยะเวลาผลิตไม่รอกฎหมายที่ดำเนินการแก้ไขในปัจจุบัน
คำชี้แจง
          ​​- ร่างพระราชบัญญัติที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช.เป็นการเพิ่มระบบในการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนอกเหนือจากระบบสัมปทาน  และในขณะนี้ร่างฯ ดังกล่าวยังไม่มีข้อยุติในการบังคับใช้แต่อย่างใด อีกทั้งการต่อระยะเวลาผลิตเป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาสัมปทานเดิม
          ​​- การต่อระยะเวลาผลิตแปลง B8/32 เป็นการดำเนินการภายใต้สัญญาเดิมที่มีการกำกับดูแล/ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด จากหน่วยงานของรัฐทั้งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และกรมสรรพากร  โดยมีกฎหมายที่กำหนดเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้ ค่าภาคหลวงและรายได้อื่นๆ ที่มีความชัดเจนและรัดกุม  มุ่งเน้นผลประโยชน์ของประเทศชาติอยู่แล้ว
​​          กรณีที่ 2  การต่อระยะเวลาผลิตดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความไม่มั่นคงด้านพลังงานเช่นเดียวกับแหล่งบงกชและเอราวัณ มิได้กำหนดเงื่อนไขให้รัฐเข้าพื้นที่สัมปทานเพื่อถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ในการผลิตปิโตรเลียมต่อจากเอกชนเมื่อใกล้สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ​คำชี้แจง​​ในการต่อระยะเวลาผลิต B8/32 ได้กำหนดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อเตรียมการสำหรับการรับช่วงผู้ดำเนินงานในกรณีที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานในอนาคต ซึ่งเป็นการป้องกันและลดข้อห่วงกังวลที่เคยมีต่อแหล่งที่จะสิ้นสุดอื่นๆ

​​ประการที่ 2  กรณีที่มีข้อสงสัยเรื่องสัดส่วนการแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนระหว่างรัฐและเอกชน ซึ่งเปรียบเทียบก่อนและหลังการต่อระยะเวลาผลิต นั้น  
​คำชี้แจง 
​​          - ตัวเลขส่วนแบ่งผลประโยชน์ระหว่างรัฐและเอกชนที่นำเสนอเป็นสัดส่วนตัวเลขหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว  ซึ่งข้อมูลคนละพื้นฐานการคำนวณกับข้อมูลที่ คปพ.นำผลการพิจารณาของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติมากล่าวอ้าง  
​​ประการที่ 3  การกล่าวอ้างว่า พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 มาตรา 26 เป็นการร่างกฎหมายที่ทำให้ประชาชนเสียเปรียบ
​คำชี้แจง
          ​1. บทบัญญัติตามมาตรา 26 แห่งพ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 มุ่งเน้นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้รับสัมปทานดำเนินงานอย่างเข้มแข็ง 
          ​​2. การพัฒนาแหล่งที่อยู่ในช่วงปลายอายุของแหล่งจำเป็นต้องมีผู้ดำเนินงานที่มีความชำนาญในพื้นที่  และคาดหวังได้ว่าผู้รับสัมปทานรายเดิมที่มีการดำเนินงานมาแล้ว 20 ปีย่อมมีความสามารถที่จะผลิตปิโตรเลียมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการนำทรัพยากรที่มีอยู่ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องศักยภาพของแหล่ง ซึ่งหากเทียบกับการเปิดประมูลให้ผู้ดำเนินงานรายใหม่เข้าดำเนินการ  อาจต้องเสียเวลาในการศึกษา ซึ่งจะส่งผลต่อความต่อเนื่องในการผลิต  และอาจดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ารายเดิมจะส่งผลต่อความมั่นคงด้านพลังงานได้
​​ประการที่ 4  การต่อสัญญาสัมปทานออกไปอาจขัดต่อ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 มาตรา 26 วรรคสาม
​คำชี้แจง 
          ​​- บริษัทที่มีการอ้างถึงว่ามีปัญหาเรื่องภาษีมิใช่บริษัท เชฟรอน ออฟชอร์  (ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานในแปลง B8/32 นี้  และเป็นเรื่องภาษีของน้ำมันสำเร็จรูปที่ยังอยู่ระหว่างตีความด้านกฎหมายและอยู่ภายใต้ข้อกำหนดกฎหมายอื่น มิได้เป็นการประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแต่อย่างใด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...