ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
อปท.เชิญเป็นแขก ย้อนกลับ
ดร.วัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
16 ส.ค. 2564

ถ้าหากจะพูดว่าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อร้ายโควิด-19 ตลอดห่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันและอาจต้องต่อเนื่องไปอีกระยะ หน่วยงานหนึ่งและบุคคลผู้หนึ่งที่ต้องรับภาระหนัก เห็นจะหนีไม่พ้นกระทรวงคุณหมอ “สาธารณสุข” และผู้กุมบังเหียนคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแห่งนี้ นายอุทิน ชาญวีระกูล แล้วหากจะถามอีกว่า แล้วใครหละที่เป็นเสมือนมือขวา เป็นขุนพลคู่ใจ คำตอบก็คือ ดร.วัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นั่นเอง

ดร.วัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณหรือที่ใครๆ มักจะเรียกขานว่า “เฮียเม้ง” ถือเป็นหนุ่มไฟแรงที่มีพลังสร้างสรรค์และความมุ่งมั่นที่แรงกล้า และมีบทบาทสำคัญในหน่วยงานที่ต้องต่อสู้กับโรคร้ายในปัจจุบันอย่างโควิด-19 ในการร่วมคิดร่วมฝ่าวิกฤติกับนายอนุทิน มาตั้งแต่แรกเริ่มที่วันนี้ อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก จะนำท่านผู้อ่านมารู้จักกับเลขานุการหนุ่มผู้นี้

“เฮียเม้ง” เปิดเผยว่า มีบ้านเกิดในพื้นที่ที่เสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือจังหวัดสระบุรี ที่มีมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมลำดับต้นๆ ของประเทศไทย

ในด้านการศึกษา จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรี สาขาศิลปศาสตร์ ที่สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมไปถึงจบระดับปริญญาเอก ที่สถาบันที่มีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณะไอที มีตึกเรียนที่ไฮโซที่สุดเพราะติดแอร์ทั้งตึก ซึ่งเป็นตึกไว้เรียน ป.โทไอทีอย่างเดียว แล้วจึงมีการขยายมาเปิดเป็น ปริญญาตรีทีหลัง อย่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง

นอกจากนี้ยังได้เสริมความรู้ในรอบด้านผ่านการอบรมผ่านหลักสูตรต่างๆ อาทิ หลักสูตรนักบริหารการยุติธรรมทางการปกครองรุ่นที่4 ศาลปกครอง หลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชนรุ่นที่11 สถาบันพระปกเกล้าหลักสูตร TEPCoT11 – มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง(พตส.) ระดับสูงรุ่นที่ 7

หลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สําหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 8 หลักสูตร Academy of Business Creativity รุ่น 13 และหลักสูตร THE Media ร่วมกับสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ด้วยแนวคิดที่ต้องการช่วยเหลือผู้อื่น และคิดว่าการเมืองในท้องถิ่นควรจะทำได้ดีกว่านี้ ทั้งในระดับตำบล อำเภอหรือจังหวัด และอยากสร้างความโปร่งใสให้กับการเมืองท้องถิ่น ทำให้เฮียเม้งมีความสนใจและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการเมืองไทยมาอย่างยาวนาว โดยได้เข้ามาทำงานการเมืองมาตั้งแต่ปี 2646เป็นสมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) มาก่อน จนต่อมาได้มีการทาบทามให้เล่นสนามใหญ่ ฝ่ายบริหาร โดยเฮียเม้งเคยเป็นปรึกษาประธานวุฒิสภา ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และได้มาลงเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) บ้านเกิดตัวเองนั่นคือ จังหวัดสระบุรี

เฮียเม้ง เคยเป็น ส.ส.สระบุรี หลายสมัยในนามพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมเป็นที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา ก่อนจะไปลงเล่นการเมืองท้องถิ่นเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สระบุรี อีกทั้งในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2562 ที่ผ่านมา ‘เฮียเม้ง’ ลงสมัคร ส.ส.เขต 3 สระบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย

โดยการที่ได้มาเป็น ส.ส. ทำให้ได้ถูกเสนอชื่อเป็น 1 ใน 11 คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคภูมิใจไทย โดยได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดสระบุรี  ให้เข้ามาเป็นตัวแทนมีปากมีเสียงในสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว

ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เป็นผู้แทนประชาชนนั้น โดยช่วงที่มีการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม 2561 ที่มีการเลือกตั้งสระบุรี วันที่สนามการเมืองที่จังหวัดสระบุรีเริ่มมีบรรยากาศที่เข้มข้นดุเดือน แต่ ส.ส.เม้ง ไม่เคยหวั่น ประกาศกร้าวออกมาแล้วว่าจะสู้สุดใจขาดดิ้น ในฐานะ “เจ้าของพื้นที่เดิม” เพื่อยืนหยัดในการทำงานในพื้นที่ อีกทั้งทุกๆ วัน เสาร์ – อาทิตย์ ก็ได้มีการลงพื้นที่ไปที่จังหวัดสระบุรีทุกอาทิตย์เป็นการลงไปสัมผัสถึงบรรยากาศที่คุ้นเคย ในการร่วมกิจกรรมประเพณีต่างๆ ในพื้นที่

“เวลาเราลงพื้นที่ไปเจอชาวบ้านเข้ามาทัก ทำให้เราลืมความเหนื่อยไปเลย เหมือนกับได้มาทำสิ่งที่เรารัก ชาวมาจับมือมาให้กำลังใจเหมือนเป็นการพักผ่อนไปในตัว แต่เรารู้สึกมีความสุข สัปดาห์ไหนที่เราไม่มีงานเช่น กอล์ฟ”

ปัจจุบัน ‘เฮียเม้ง’ ได้นั่งเก้าอี้เลขานุการ รมว.สาธารณสุขอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นอดีตนักการเมืองชื่อดัง ซึ่งมารับตำแหน่งในห้วงเวลาที่โลกต้องเจอกับโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด -19 และมีภารกิจสำคัญที่ท้าทายมากมาย ซึ่งก็สามารถ ทำงานได้อย่างเต็มที่ และพยายามทำทุกทางที่จะให้ประชาชนคนไทยสามารถผ่านพ้นจากวิกฤติโควิด-19 ไปได้

โดยเนื่องจากเคยได้เรียนเกี่ยวข้องกับการบริหารมาก่อน ก็เลยนำมาช่วยการทำงานกับผู้บริหารระดับสูงพร้อมได้นำหลักวิชาการแพทย์ต่างๆ จากอาจารย์แพทย์ต่างๆ มาคิดร่วมกัน จึงเป็นการบูรณาการที่สมบูรณ์แบบแน่นอนว่านอกจากมาตรการช่วยเหลือในปัจจุบันแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้วางแผนการนำแพทย์แผนไทยมาใช้กับคนไทยมากขึ้น รวมถึงผลักดันให้เป็นสินค้าทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งอีกด้วย

                ทั้งนี้เฮียเม้งยังมีความห่วงใหญ่บ้านเกิดของตนเองและไม่อาจที่จะละทิ้งได้ โดยวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา เฮียเม้ง ได้ลงพื้นที่เยี่ยมจุดฉีดวัคซีนโควิด-19 บุคลากรทางการศึกษาวันแรกที่ อ.หนองแค สระบุรี อีกทั้งยังได้ลงพื้นที่ติดตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอสระบุรี หลังพบผู้ติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน ในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้เข้าไปตรวจเยี่ยมเพื่อรับฟังแนวทางการควบคุมป้องกันโรคตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข สะท้อนให้เห็นว่าแม้จะได้เดินบนเวทีใหญ่แต่ เฮียเม้ง ก็ไม่เคยลืมที่จะกลับมาสู่บ้านเกิดและลงพื้นที่แก้ปัญหาอย่างจริงจังอย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากการทำงานเพื่อบ้านเมืองแล้ว เฮียเม้ง ยังมีหัวด้านธุรกิจอีกด้วย โดยมีหลายกิจการประมาณ 7 บริษัท อาทิ โรงสีข้าว ปั๊มน้ำมัน ขายวัสดุก่อสร้าง ขายไอศกรีมของวอลล์ และเป็นตัวแทนแป๊ปซี่ที่นครสวรรค์และภาคเหนือตอนล่าง หรือ อารยะโภคภัณฑ์ โดยเป้าหมายที่ทำธุรกิจหลายรูปแบบเพื่อกระจายความเสี่ยงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์แม้แต่ในการทำธุรกิจให้เกิดความสมดุล ขณะที่ขับเคลื่อนกิจการให้ไปข้างหน้าอย่างมีศักยภาพได้

ซึ่งปัจจุบัน เฮียเม้ง เป็นคุณพ่อลูก 4 คน และเนื่องด้วยเคยเรียนด้านการบริหารจัดการมาก่อน มีหลักการสอนลูก พร้อมสอดแทรกวิธีคิดแบบบริหารจัดการได้อย่างน่าสนใจ ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันที่การสื่อสารมีมาหลายช่องทางและข้อมูลที่มีมากมายและเข้าหาคนอย่างรวดเร็วจนล้นเกินกว่าจะรับได้ทัน เฮียเม้งเข้าใจถึงยุคสมัยที่เปลี่ยนไป พร้อมสอนให้ลูกๆ ได้บริหารจัดการต่างๆ ทั้งการตั้งข้อตกลงให้ลูกๆ ว่า จะได้โทรศัพท์ตอนขึ้น ม.1 เท่านั้น เพื่อนๆ ลูกบางคนมีตั้งแต่ ป.5 ป.6 แต่ลูกของตนยังไม่มี ขณะที่เดือนหนึ่งจะให้ค่าอินเตอร์เน็ต 150 บาท ที่เหลือก็อยู่ที่ลูกว่า บริหารจัดการอย่างไร 

 

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...