ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์ ย้อนกลับ
“แก้กฎหมายสงฆ์ ทางออกของการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช”
16 ม.ค. 2560

                -หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาเห็นชอบการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์) เมื่อวันนี้ 29 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยสมาชิก สนช.รวม 81 คน เสนอให้กำหนดเรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นการตัดข้อความว่าด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมในการเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะออกไป

                -โดยพล.ต.อ.พิชิต ควรเดชะคุปต์ ผู้เสนอให้แก้ไขร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ระบุว่าจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องและสืบทอดดำรงรักษาไว้ซึ่งโบราณราชประเพณี ขณะที่นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนรัฐบาล ยืนยันต่อที่ประชุมว่า

                รัฐบาลไม่ขัดข้องที่จะดำเนินการ และขอให้เป็นไปตามขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญต่อไปจากที่ประชุมของ สนช.มี สมาชิกหลายรายได้อภิปรายให้การสนับสนุนการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ โดยระบุว่ากฎหมายบังคับใช้มากว่า 50 ปีแล้ว การแก้ไขจะช่วยให้เกิดความเหมาะสม ช่วยแก้ปัญหาการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชที่มีความขัดแย้งในปัจจุบัน ขณะที่การประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ทั้ง 3 วาระ ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง ก่อนที่ประชุมจะมีมติเอกฉันท์เห็นชอบด้วยคะแนน 182 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง และเตรียมจะประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

                ส่วนกฎหมายที่ สนช.แก้ไขคือ ข้อความในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ที่แก้ไขในปี 2535 ระบุว่า

                "ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช" และ

                "ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช"

                ส่วนข้อความที่ สนช.เห็นชอบให้แก้ไข เป็นการกลับไปใช้เนื้อหาเดิมเมื่อปี 2505ซึ่งระบุว่า

                ”พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่งและให้นายกรัฐมนตีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”

                -หากย้อนลำดับเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องแก้ พ.ร.บ.สงฆ์มาตรานี้จะเห็นว่า หลังจากที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 สิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 24 ตุลาตม 2556  มหาเถรสมาคมมีมติให้

                -สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์(ช่วง วรปุญฺโญป.ธ.9) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดปากน้ำเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

                -ต่อมาเมื่อเดือน  มกราคม .2559 ที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) มีมติเสนอชื่อสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์เป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แต่มีผู้ยื่นเรื่องคัดค้านมติดังกล่าว เนื่องจากสมเด็จช่วง ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอส.ไอ. สอบสวนกรณีมีรถยนต์เบนซ์โบราณอยู่ในครอบครอง และผลสอบสวนในเดือน กรกฏาคม 2559 ระบุว่ารถเบนซ์โบราณในความครอบครองของสมเด็จช่วง มีการกระทำผิดกฎหมายทุกขั้นตอน ทั้งการเลี่ยงภาษีด้วยการชำระภาษีต่ำกว่าราคารถ และปลอมแปลงเอกสารจดทะเบียนกับกรมการขนส่งและนอกจากนี้ยังมีปัญหาโยงใยไปยังวัดพระธรรมกายว่ามีส่วนเกี่ยวข้องผูกพันในฐานะอาจารย์กับลูกศิษย์อีกด้วย

                -จากปัญหาดังกล่าวทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่เสนอชื่อสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เพื่อทูลเกล้าฯแต่งตั้งสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ตามมติของมหาเถรสมาคมตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้หลายฝ่านออกมาเรียกร้องแต่นายกรัฐมนตรีกังยังไม่ได้ดำเนินการ และยังกล่าวว่า หากทุกฝ่ายยังขัดแย้งก็จะไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ทำให้การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ไม่มีขึ้นจนถึงปัจจุบัน

                -เมื่อฝ่ายบริหารไม่สามารถไม่ขับเคลื่อนปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และหากปล่อยไปเช่นนี้ก็น่าจะเกิดความเสียหายและนับวันแต่จะเกิดความขัดแย้งในสังคมและนำไปสู่ความแตกแยกในหมู่สงฆ์เอง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือ สนช. จึงได้แก้ปัญหาโดยเสนอแก้ไขข้อความในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505ดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหาร(รัฐบาล)ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์หลังจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ที่มีการแก้ไขมีผลบังคับใช้ต่อไป

                ต่อแต่นี้ไปการเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะเพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชจะไม่ผ่านมติมหาเถรสมาคมอีกต่อไปฝ่ายบริหารโดยนายกรัฐมนตรี มีอำนาจที่จะเลือกสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ที่เห็นว่าเหาะสมและไม่ต้องถืออาวุโสโดยสมณศักดิ์ตามที่กฎหมายเดิมกำหนด

                สรุปเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตีโดยตรงที่จะเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะเพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช โดยไม่ต้องผ่านมติของ มหาเถรสมาคมและไม่จำต้องมีอาวุโสโดยสมณศักดิ์ อีกต่อไป

                เมื่อกลับมาดูรายชื่อสมเด็จพระราชาคณะในปัจจุบันที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชจำนวน 8 รูปเป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย 4 รูป และฝ่ายธรรมยุติกนิกาย 4 รูป และทุกรูปเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง มีดังนี้

                สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย

 1.สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์(ช่วง วรปุญฺโญ)วัดปากน้ำเป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อ พ.ศ. 2538 อายุ 92 ปี (26 ส.ค.2468)                          

2.   สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม)วัดพิชยญาติการามวรวิหารเป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อพ.ศ. 2554อายุ 76ปี(2 ก.พ.2484)                               

3.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ)   วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร   เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อพ.ศ. 2557 อายุ 75 ปี(17พ.ย. 2485 )

4.  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)   วัดญาณเวศกวัน      เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อ  2559อายุ79ปี(12 ม.ค.2481) 

สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุต

 1. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหารเป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ.2544 อายุ 100 ปี(29ธ.ค.2460)

 2.สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร)  วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร  เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2552 อายุ 90 ปี(26 มิ.ย. พ.ศ.2470)

 3.สมเด็จพระวันรัต (จุนท์พฺรหฺมคุตฺโต)       วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร    เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2552 อายุ 81 ปี(17ก.ย.2479)

4.  สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)    วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร   เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2553 อายุ 70 ปี(22ต.ค. พ.ศ. 2490)

                นี่คือสมเด็จพระราชาคณะที่อยู่ในข่ายที่อาจจะถูกเสนอนามเพื่อทูลเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 และเมื่อได้รับการสถาปนาแล้วทรงมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดอำนาจ ตามนัยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505กำหนดอำนาจหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชไว้ดังนี้   

                “สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งและทรงตราพระราชบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม”

                ที่สำคัญสมเด็จพระสังฆราชนั้น ทรงอยู่ในฐานะประมุขสงฆ์ทั้งสองฝ่าย เป็นประดุจดังบิดาของเหล่าพระภิกษุสามเณรเป็นประมุขทางสงฆ์ ต้องมีความสง่างามประสานความสามัคคีปองดองของคณะสงฆ์ การที่ฝ่ายบ้านเมืองเป็นผู้ชื่อสมเด็จพระราชาคณะเพื่อทูลเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั้น มีความเปราะบางเป็นอย่างยิ่ง ทำอย่างไรให้สงฆ์ทั้งสองฝ่ายท่านยอมรับเพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกในหมู่สงฆ์ เพราะท่านไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วย

-หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาเห็นชอบการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์) เมื่อวันนี้ 29 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยสมาชิก สนช.รวม 81 คน เสนอให้กำหนดเรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นการตัดข้อความว่าด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมในการเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะออกไป

                -โดยพล.ต.อ.พิชิต ควรเดชะคุปต์ ผู้เสนอให้แก้ไขร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ระบุว่าจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องและสืบทอดดำรงรักษาไว้ซึ่งโบราณราชประเพณี ขณะที่นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนรัฐบาล ยืนยันต่อที่ประชุมว่า

                รัฐบาลไม่ขัดข้องที่จะดำเนินการ และขอให้เป็นไปตามขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญต่อไปจากที่ประชุมของ สนช.มี สมาชิกหลายรายได้อภิปรายให้การสนับสนุนการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ โดยระบุว่ากฎหมายบังคับใช้มากว่า 50 ปีแล้ว การแก้ไขจะช่วยให้เกิดความเหมาะสม ช่วยแก้ปัญหาการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชที่มีความขัดแย้งในปัจจุบัน ขณะที่การประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ทั้ง 3 วาระ ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง ก่อนที่ประชุมจะมีมติเอกฉันท์เห็นชอบด้วยคะแนน 182 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง และเตรียมจะประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

                ส่วนกฎหมายที่ สนช.แก้ไขคือ ข้อความในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ที่แก้ไขในปี 2535 ระบุว่า

                "ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช" และ

                "ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช"

                ส่วนข้อความที่ สนช.เห็นชอบให้แก้ไข เป็นการกลับไปใช้เนื้อหาเดิมเมื่อปี 2505ซึ่งระบุว่า

                ”พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่งและให้นายกรัฐมนตีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”

                -หากย้อนลำดับเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องแก้ พ.ร.บ.สงฆ์มาตรานี้จะเห็นว่า หลังจากที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 สิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 24 ตุลาตม 2556  มหาเถรสมาคมมีมติให้

                -สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์(ช่วง วรปุญฺโญป.ธ.9) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดปากน้ำเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

                -ต่อมาเมื่อเดือน  มกราคม .2559 ที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) มีมติเสนอชื่อสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์เป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แต่มีผู้ยื่นเรื่องคัดค้านมติดังกล่าว เนื่องจากสมเด็จช่วง ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอส.ไอ. สอบสวนกรณีมีรถยนต์เบนซ์โบราณอยู่ในครอบครอง และผลสอบสวนในเดือน กรกฏาคม 2559 ระบุว่ารถเบนซ์โบราณในความครอบครองของสมเด็จช่วง มีการกระทำผิดกฎหมายทุกขั้นตอน ทั้งการเลี่ยงภาษีด้วยการชำระภาษีต่ำกว่าราคารถ และปลอมแปลงเอกสารจดทะเบียนกับกรมการขนส่งและนอกจากนี้ยังมีปัญหาโยงใยไปยังวัดพระธรรมกายว่ามีส่วนเกี่ยวข้องผูกพันในฐานะอาจารย์กับลูกศิษย์อีกด้วย

                -จากปัญหาดังกล่าวทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่เสนอชื่อสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เพื่อทูลเกล้าฯแต่งตั้งสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ตามมติของมหาเถรสมาคมตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้หลายฝ่านออกมาเรียกร้องแต่นายกรัฐมนตรีกังยังไม่ได้ดำเนินการ และยังกล่าวว่า หากทุกฝ่ายยังขัดแย้งก็จะไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ทำให้การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ไม่มีขึ้นจนถึงปัจจุบัน

                -เมื่อฝ่ายบริหารไม่สามารถไม่ขับเคลื่อนปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และหากปล่อยไปเช่นนี้ก็น่าจะเกิดความเสียหายและนับวันแต่จะเกิดความขัดแย้งในสังคมและนำไปสู่ความแตกแยกในหมู่สงฆ์เอง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือ สนช. จึงได้แก้ปัญหาโดยเสนอแก้ไขข้อความในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505ดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหาร(รัฐบาล)ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์หลังจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ที่มีการแก้ไขมีผลบังคับใช้ต่อไป

                ต่อแต่นี้ไปการเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะเพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชจะไม่ผ่านมติมหาเถรสมาคมอีกต่อไปฝ่ายบริหารโดยนายกรัฐมนตรี มีอำนาจที่จะเลือกสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ที่เห็นว่าเหาะสมและไม่ต้องถืออาวุโสโดยสมณศักดิ์ตามที่กฎหมายเดิมกำหนด

                สรุปเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตีโดยตรงที่จะเสนอชื่อสมเด็จพระราชาคณะเพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช โดยไม่ต้องผ่านมติของ มหาเถรสมาคมและไม่จำต้องมีอาวุโสโดยสมณศักดิ์ อีกต่อไป

                เมื่อกลับมาดูรายชื่อสมเด็จพระราชาคณะในปัจจุบันที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชจำนวน 8 รูปเป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย 4 รูป และฝ่ายธรรมยุติกนิกาย 4 รูป และทุกรูปเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง มีดังนี้

                สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย

 1.สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์(ช่วง วรปุญฺโญ)วัดปากน้ำเป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อ พ.ศ. 2538 อายุ 92 ปี (26 ส.ค.2468)                          

2.   สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม)วัดพิชยญาติการามวรวิหารเป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อพ.ศ. 2554อายุ 76ปี(2 ก.พ.2484)                               

3.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ)   วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร   เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อพ.ศ. 2557 อายุ 75 ปี(17พ.ย. 2485 )

4.  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)   วัดญาณเวศกวัน      เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อ  2559อายุ79ปี(12 ม.ค.2481) 

สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุต

 1. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร)วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหารเป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ.2544 อายุ 100 ปี(29ธ.ค.2460)

 2.สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร)  วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร  เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2552 อายุ 90 ปี(26 มิ.ย. พ.ศ.2470)

 3.สมเด็จพระวันรัต (จุนท์พฺรหฺมคุตฺโต)       วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร    เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2552 อายุ 81 ปี(17ก.ย.2479)

4.  สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)    วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร   เป็นสมเด็จพระราชาคณะเมื่อปี พ.ศ. 2553 อายุ 70 ปี(22ต.ค. พ.ศ. 2490)

                นี่คือสมเด็จพระราชาคณะที่อยู่ในข่ายที่อาจจะถูกเสนอนามเพื่อทูลเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 และเมื่อได้รับการสถาปนาแล้วทรงมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดอำนาจ ตามนัยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505กำหนดอำนาจหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชไว้ดังนี้   

                “สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งและทรงตราพระราชบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม”

                ที่สำคัญสมเด็จพระสังฆราชนั้น ทรงอยู่ในฐานะประมุขสงฆ์ทั้งสองฝ่าย เป็นประดุจดังบิดาของเหล่าพระภิกษุสามเณรเป็นประมุขทางสงฆ์ ต้องมีความสง่างามประสานความสามัคคีปองดองของคณะสงฆ์ การที่ฝ่ายบ้านเมืองเป็นผู้ชื่อสมเด็จพระราชาคณะเพื่อทูลเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั้น มีความเปราะบางเป็นอย่างยิ่ง ทำอย่างไรให้สงฆ์ทั้งสองฝ่ายท่านยอมรับเพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกในหมู่สงฆ์ เพราะท่านไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วย

                                                                                                                                                                                                                                    วีรชาติ/เขียน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...