ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
ธรรมนูญสุขภาพฉบับใหม่ใกล้คลอด สช. เปิดเวทีฟังความเห็นทั่วประเทศ
12 พ.ย. 2558

          คณะกรรมการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เผยเนื้อหาธรรมนูญสุขภาพฉบับใหม่ใกล้แล้วเสร็จ เชื่อเป็นพิมพ์เขียวสำหรับภาพอนาคตของระบบสุขภาพไทย ๑๐ ปีข้างหน้าที่ดี พร้อมเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้าร่วมเวทีรับฟังความเห็นทั่วประเทศเดือน พ.. นี้ ก่อนนำเข้าสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๘

         นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ประธานกรรมการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ..๒๕๕๒ เปิดเผยว่า ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เป็นแผนแม่บทหลักของระบบสุขภาพพึงประสงค์ที่ทุกภาคส่วนต้องการให้เกิดขึ้นในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า จึงเป็นกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านสุขภาพ ที่คาดหวังให้ทุกภาคส่วน ทุกระดับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งราชการ เอกชน สภาวิชาชีพ องค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของ พ...สุขภาพแห่งชาติ พ..๒๕๕๐ ที่ผ่านมา การดำเนินงานถือว่าประสบความสำเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี

          นพ.ณรงค์ศักดิ์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ..๒๕๕๒ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ได้เร่งพิจารณาทบทวนและยกร่างธรรมนูญฉบับใหม่อย่างเต็มที่ตลอดช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อให้เนื้อหาของร่างธรรมนูญฉบับนี้ มีความทันสมัยและสอดรับกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพและแนวโน้มการปฏิรูปประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยวางแผนการทำงานให้เสร็จสิ้นเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติภายในเดือนมีนาคม ๒๕๕๙ ก่อนจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้สามารถประกาศใช้ได้ภายในกลางปีหน้า

          ขณะนี้ การยกร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับทบทวนร่างแรก ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว เชื่อว่าทั้งหมดจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศและประชาชน โดยการพัฒนาเนื้อหา ได้ปรับสาระของประเด็นเดิมที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เหมะกับสถานการณ์ในอนาคต เช่น ปรัชญาแนวคิดภาพพึงประสงค์ของระบบสุขภาพ การให้บริการสาธารณสุขและการประกันคุณภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุม โรคและปัจจัยคุกคามสุขภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ และยังได้เพิ่มเติมประเด็นใหม่ๆ ซึ่งพบว่ามีความสำคัญกับระบบสุขภาพมากขึ้น อาทิ สุขภาพจิต สุขภาพปัญญา การอภิบาลระบบสุขภาพ รวมถึงธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นการขยายผลและขับเคลื่อนใช้ประโยชน์ธรรมนูญสุขภาพในระดับตำบล อำเภอที่เป็นรูปธรรมชัดเจน  โดยขั้นตอนหลังจากนี้ คณะกรรมการฯ จะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนทั่วประเทศ พร้อมไปกับการเปิดช่องทางรับฟังความเห็นทางสื่อออนไลน์ และจะนำร่างฉบับนี้เข้ารับฟังความเห็นในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๘ ปลายเดือนธันวาคมด้วย

             สำหรับกำหนดการจัด เวทีรับฟังความคิดเห็น ต่อร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับทบทวน ทั้งในกรุงเทพมหานครและ ๔ ภูมิภาคนั้น มีกำหนดการเบื้องต้นโดย ภาคกลาง จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่ขอนแก่น ในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ต่อด้วย ภาคเหนือ ที่เชียงใหม่ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน และปิดท้ายเวทีภาคที่ ภาคใต้ จัดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘

          ส่วนเวทีรับฟังความเห็นจากองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ กำหนดจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๑-๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ โดยกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.), สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.), สำนักงานประกันสังคม, กรมบัญชีกลาง, สถาบันวิชาการ, องค์กร/สภาวิชาชีพด้านสุขภาพ, โรงพยาบาลรัฐและเอกชน, องค์กรภาคประชาสังคม, หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงอุตสาหกรรม, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, ภาคธุรกิจเอกชน, คณะกรรมการร่วมภาคเอกชนสามสถาบัน, กลุ่มองค์กรเอกชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มคนพิการ, กลุ่มสตรี, กลุ่มคนข้ามเพศ, กลุ่มเยาวชน, กลุ่มผู้สูงอายุ, กลุ่มคนไร้รัฐ, กลุ่มคนชายขอบ, กลุ่มนักบวชหรือกลุ่มศาสนาด้วย ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลและร่วมให้ความเห็นต่อร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพฉบับทบทวนนี้ ทาง www.nationalhealth.or.th ตั้งแต่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เป็นต้นไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...