ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
สถ.ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
28 มี.ค. 2560

           ด้วยสถานการณ์ขาดสารไดโอดีน พ.ศ. 2556 – 2558 จากการเฝ้าระวังสถานการณ์โรคขาดสารไอโอดีนในกลุ่มเสี่ยง 3 กลุ่ม ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุ 3-5 ปี และผู้สูงอายุ โดยการสุ่มตรวจปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะหญิงที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลก่อนได้รับสารไอโอดีน จังหวัดละ 300 คน กลุ่มเด็กอายุ 3 – 5 ปี และผู้สูงอายุสุ่มตรวจปัสสาวะกลุ่มละ 150 คนต่อจังหวัด พบว่าค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะของ          หญิงตั้งครรภ์เป็น 146.8, 155.7, และ 147.1 ไมโครกรัมต่อลิตร ค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะของเด็ก 3 – 5 ปี เป็น 226.6, 234.6, 201.1 ไมโครกรัมต่อลิตร และค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะของผู้สูงอายุ           เป็น 113.8, 111.3, 112.7 ไมโครกรัมต่อลิตรตามลำดับ โดยค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะของ        หญิงตั้งครรภ์ต้องไม่ต่ำกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลิตร และค่ามัธยฐานในปัสสาวะในเด็ก 3 – 5 ปี และผู้สูงอายุต้องไม่ต่ำกว่า 100 ไมรโครกรัมต่อลิตร

            นายจรินทร์  จักกะพาก อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมรณรงค์ด้านการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสานหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่คัดกรอง หรือค้นหาผู้ที่มีภาวะพร่องหรือขาดสารไอโอดีน หากพบผู้มีภาวะดังกล่าวก็ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีนของประชาชนให้เหมาะสมกับบริบท และศักยภาพของแต่ละท้องถิ่น เช่น จัดทำแผนแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ความรู้เรื่องไอโอดีน ตลอดจนการเลือกใช้ การเก็บรักษาเกลือเสริมไอโอดีน กรณีที่เป็นผู้ยากไร้ที่ประสบปัญหาภาวะพร่องและขาดสารไอโอดีน  ก็ให้จัดทำโครงการหาเกลือเสริมไอโอดีนให้กับครัวเรือน และหากพบว่ามีผู้ป่วยภาวะดังกล่าวให้นำส่งแพทย์เพื่อรับการรักษา นอกจากนี้ ยังให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขอความร่วมมือร้านค้าจำหน่ายเกลือเสริมไอโอดีนที่ได้มาตรฐานแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ปรุงอาหารกลางวัน โดยใช้เกลือเสริมไอโอดีนและผลิตภัณฑ์ปรุงรสเสริมไอโอดีน และให้ขอความร่วมมือเครือข่ายภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในหมู่บ้านและชุมชน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...