ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
เอทานอล พลังงานทดแทนที่ยั่งยืนจากภาคการเกษตร
04 เม.ย. 2560

            พลังงานทดแทนที่มีศักยภาพและเหมาะสมกับประเทศไทย คือ พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพ อันเป็นพลังงานที่ได้จากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกมากมายในประเทศ อาทิ มันสำปะหลัง นอกจากจะช่วยให้ประเทศมีความมั่นคงทางพลังงาน มีความมั่งคั่งจากการลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศพร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน

            กระทรวงพลังงาน ได้จัดทำแผนบูรณาการพลังงานแห่งชาติ (Thailand Integrated Energy Blueprint : TIEB) ขึ้น  1 ใน 5 แผนพลังงานหลัก ก็คือ แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 (Alternative Energy Development Plan : AEDP2015) โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ทั้งในรูปแบบไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ (เชื้อเพลิงสำหรับภาคขนส่งจากพลังงานทดแทน) เป็นร้อยละ 30 ของปริมาณความต้องการพลังงานรวมของประเทศภายในปี 2579

            กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล เป็นโรงงานผลิตเอทานอล กำลังการผลิต 400,000 ลิตรต่อวัน โดยมีความต้องการมันสด 4,000 ตันต่อวัน และมันเส้น 1,200 ตันต่อวัน หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ล้านตันต่อปี และเตรียมจะขยายสายการผลิตที่ 2 กำลังการผลิต 900,000 ลิตรต่อวัน รวมกำลังการผลิต 1.3 ล้านลิตรต่อวัน เพื่อรองรับความต้องการเอทานอลเพิ่มขึ้น แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 ซึ่งโดยรวมผู้ประกอบการโรงงานผลิตเอทานอลในปัจจุบันมีกำลังการผลิตรวม 5.80 ล้านลิตรต่อวัน (ข้อมูลจากสมาคมเอทานอลจากมันสำปะหลัง) และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการเอทานอลในภูมิภาค มีศักยภาพที่จะขึ้นเป็น Ethanol Hub ของภูมิภาค ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องของเอทานอล อาทิ ไบโอพลาสติก ไบโอเคมี และยังช่วยให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตเอทานอล อาทิ เอนไซม์ ยีสต์ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิต ซึ่งปัจจุบันยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

          นโยบายสำคัญของกลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล นอกจากมุ่งพัฒนาการผลิตเอทานอลเป็นพลังงานทดแทนเพื่อสร้างความมั่นคงของประเทศแล้ว ยังมุ่งเน้นการสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เพราะการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเอทานอล รวมถึงพลังงานทดแทนจากภาคการเกษตรภาพรวม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผน AEDP2015 ได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจกันทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร

            พลังงานทดแทนที่มีศักยภาพและเหมาะสมกับประเทศไทย คือ พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพ อันเป็นพลังงานที่ได้จากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกมากมายในประเทศ อาทิ มันสำปะหลัง นอกจากจะช่วยให้ประเทศมีความมั่นคงทางพลังงาน มีความมั่งคั่งจากการลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศพร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน

            กระทรวงพลังงาน ได้จัดทำแผนบูรณาการพลังงานแห่งชาติ (Thailand Integrated Energy Blueprint : TIEB) ขึ้น  1 ใน 5 แผนพลังงานหลัก ก็คือ แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 (Alternative Energy Development Plan : AEDP2015) โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ทั้งในรูปแบบไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ (เชื้อเพลิงสำหรับภาคขนส่งจากพลังงานทดแทน) เป็นร้อยละ 30 ของปริมาณความต้องการพลังงานรวมของประเทศภายในปี 2579

            กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล เป็นโรงงานผลิตเอทานอล กำลังการผลิต 400,000 ลิตรต่อวัน โดยมีความต้องการมันสด 4,000 ตันต่อวัน และมันเส้น 1,200 ตันต่อวัน หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ล้านตันต่อปี และเตรียมจะขยายสายการผลิตที่ 2 กำลังการผลิต 900,000 ลิตรต่อวัน รวมกำลังการผลิต 1.3 ล้านลิตรต่อวัน เพื่อรองรับความต้องการเอทานอลเพิ่มขึ้น แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 ซึ่งโดยรวมผู้ประกอบการโรงงานผลิตเอทานอลในปัจจุบันมีกำลังการผลิตรวม 5.80 ล้านลิตรต่อวัน (ข้อมูลจากสมาคมเอทานอลจากมันสำปะหลัง) และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการเอทานอลในภูมิภาค มีศักยภาพที่จะขึ้นเป็น Ethanol Hub ของภูมิภาค ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องของเอทานอล อาทิ ไบโอพลาสติก ไบโอเคมี และยังช่วยให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตเอทานอล อาทิ เอนไซม์ ยีสต์ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิต ซึ่งปัจจุบันยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

            นโยบายสำคัญของกลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล นอกจากมุ่งพัฒนาการผลิตเอทานอลเป็นพลังงานทดแทนเพื่อสร้างความมั่นคงของประเทศแล้ว ยังมุ่งเน้นการสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เพราะการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเอทานอล รวมถึงพลังงานทดแทนจากภาคการเกษตรภาพรวม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผน AEDP2015 ได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจกันทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...