ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
กรมการค้าภายในติดตามสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสินค้าเกษตร พร้อมกำหนดมาตรการรองรับผลักดันราคาให้สูงขึ้น
25 เม.ย. 2560

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน ได้ติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตรอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีปริมาณ 4.61 ล้านตันต่อปี ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้  จึงจำเป็นต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นมาทดแทน เช่น ข้าวสาลี และกากข้าวโพดจากการผลิตเอทานอล (DDGS) เพื่อให้อุตสาหกรรมปศุสัตว์มีวัตถุดิบเพียงพอในราคาต้นทุนที่สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกือบครึ่งหนึ่งปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์และ/หรือบุกรุกพื้นที่ป่า ซึ่งผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ นอกจากนี้ผู้ผลิตอาหารสัตว์หลายรายไม่รับซื้อ เนื่องจากจะเป็นปัญหาในการส่งออกปศุสัตว์ เพราะประเทศผู้ซื้อกำหนด เรื่อง การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นข้อแม้                    ในการซื้อด้วย กระทรวงพาณิชย์จึงได้เสนอแนวทางบริหารจัดการการนำเข้าวัตถุดิบทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยใช้มาตรการกำหนดอัตราส่วนการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ต่อการรับซื้อข้าวโพด 3 ส่วน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2560 ทั้งนี้ การที่มีผู้เสนอให้ระงับการนำเข้าข้าวสาลีนั้นไม่อาจดำเนินการได้ เนื่องจากจะขัดกับพันธกรณีของไทยภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) จึงต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง

          สำหรับการรับซื้อผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรจะจำหน่ายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลางในรูปฝัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยไม่สามารถแปรรูปและปรับปรุงคุณภาพหรือขนส่งไปถึงโรงงานซึ่งอาจอยู่ห่างไกล จึงต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพจากพ่อค้าคนกลางก่อนส่งให้โรงงานอาหารสัตว์ กรมการค้าภายในจึงได้เชื่อมโยงตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกร โดยได้ขอความร่วมมือสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากเกษตรกรในราคาไม่ต่ำกว่า กก.ละ 8.00 บาท ที่ความชื้น 14.5% (ราคา ณ กรุงเทพฯ และปริมณฑล) รวมทั้งเปิดช่องทางพิเศษเพื่อให้เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร/สหกรณ์ นำผลผลิตมาจำหน่ายโดยตรงได้ทันที แต่สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์จะรับซื้อในราคาต่ำ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการปรับปรุงคุณภาพข้าวโพดและสามารถจำหน่ายให้แก่โรงงานอาหารสัตว์ได้โดยตรง กระทรวงพาณิชย์จะมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มในรูปของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง 

          ปัจจุบันราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรจำหน่ายได้อยู่ในเกณฑ์ดี โดยข้าวโพดชนิดเมล็ด (ความชื้น 14.5%) โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ ราคา กก.ละ 7.90-8.00 บาท ส่วนผู้ค้าท้องถิ่นรับซื้อ ราคากก.ละ 6.50-6.70 บาท มีเพียงบางพื้นที่ที่เพาะปลูกในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์และผลผลิตมีคุณภาพต่ำจะจำหน่ายได้ในราคาลดลง ซึ่งกรมการค้าภายในจะได้มีการจัดตลาดนัดเชื่อมโยงให้ผู้ส่งออกและผู้รวบรวมรับซื้อข้าวโพด                      จากเกษตรกรในราคาที่เหมาะสมต่อไป

               สำหรับสินค้าเกษตรอื่นๆ ที่สำคัญ ส่วนใหญ่มีราคาสูงขึ้น เช่น กระเทียม หอมแดง พริก ในปี 2560 (เฉลี่ยเดือนเมษายน) ราคาอยู่ในเกณฑ์ดีและสูงกว่าราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีที่ผ่านมา ถึงร้อยละ 3 - 89                  เช่น ราคาหอมแดงหัวกลางมัดจุกแห้ง 7-15 วัน ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย กก.ละ 24.50 บาท สูงกว่าปี 2559 ซึ่งอยู่ที่                กก.ละ 20.41 บาท ราคากระเทียมสดคละที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยรายเดือน ณ วันที่ 21 เมษายน 2560                      กก.ละ 26.75 บาท สูงกว่าปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ กก.ละ 16.37 บาท ปัจจุบันอยู่ในช่วงปลายฤดู ยกเว้นถั่วเขียวที่มีราคาต่ำกว่า 3 ปีที่ผ่านมาเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเกษตรกรมีการปลูกทดแทนข้าวนาปรังจำนวนมาก แต่ผลผลิตยังไม่ได้คุณภาพตามความต้องการของตลาด

          อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตาม กรมการค้าภายในได้เตรียมมาตรการรองรับหากเกิดปัญหา โดยจะเชื่อมโยงไปยังโรงงานแปรรูป เป็นหอมแดงเจียว กระเทียมเจียว พริกป่น เครื่องแกง   วุ้นเส้นถั่วเขียว และส่งเสริมให้เกษตรกรแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น พริกแห้ง จัดหาตลาดให้เกษตรกร                นำสินค้ามาจำหน่าย เช่น ตลาดในความส่งเสริมของกรมการค้าภายใน พร้อมประสานหน่วยงาน เช่น                    กรมศุลกากรให้มีการควบคุมดูแลการนำเข้าอย่างเข้มงวด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตให้เข้าไปช่วยดูแลให้ความรู้เกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...