ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
กรมวิทย์ฯ เร่งพัฒนาชุดทดสอบตรวจหาแอนติบอดีเชื้อไวรัสซิกา
26 เม.ย. 2560
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาวิธีการตรวจไวรัสซิกาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ระบาดในประเทศไทย โดยเร่งพัฒนาชุดทดสอบตรวจหาแอนติบอดีเชื้อไวรัสซิกา เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยต่อไป
นายแพทย์สุขุม  กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  เปิดเผยว่า โรคติดเชื้อไวรัสซิกา มียุงลายเป็นพาหะนำโรคติดต่อมาสู่คนได้โดยการถูกยุงที่มีเชื้อกัด ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ส่วนน้อยจะมีผื่นไข้ ตาแดง และปวดข้อ นอกจากนี้มีรายงานการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกและทางเพศสัมพันธ์ อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับภาวะทารกแรกเกิดมีศีรษะเล็กตั้งแต่กำเนิด โดยในช่วงปี 2556-2558 พบการระบาดในหลายพื้นที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดเตรียมห้องปฏิบัติการให้พร้อมตรวจวินิจฉัย โดยการพัฒนาการตรวจโรคติดเชื้อไวรัสซิกาด้วยวิธี Real time RT-PCR ซึ่งดัดแปลงจากวิธีของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (US-CDC) พร้อมทั้งพัฒนาการตรวจแอนติบอดีชนิด IgM และ IgG เพื่อตรวจทารกแรกเกิดและมารดา ซึ่งสามารถตอบสนองต่ออุบัติการโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการมีความสำคัญต่อการควบคุมโรคไม่ให้แพร่กระจายไปในวงกว้างได้  นอกจากนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำลังพัฒนาชุดทดสอบวิธี Immunochromatography เพื่อตรวจหาแอนติบอดี IgM และ IgG ต่อเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพของชุดทดสอบก่อนการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการตรวจวินิจฉัยต่อไป 
 
       นายแพทย์สุขุม กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสซิกา 2 วิธี คือ 1.การตรวจสารพันธุกรรมไวรัสซิกา ในตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ และน้ำลาย ด้วยวิธี Real-time RT-PCR สามารถรู้ผลได้ภายใน 8 ชั่วโมง 2.การตรวจแอนติบอดีชนิด IgM และ IgG ต่อไวรัสซิกา ในตัวอย่างซีรัม ด้วยวิธี ELISA หากพบผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อไวรัสซิกา สถานพยาบาลทุกระดับสามารถส่งตัวอย่างมาที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในพื้นที่ต่างจังหวัดสามารถส่งตัวอย่างตรวจได้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่ง ที่ตั้งกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ  อย่างไรก็ตามวิธีป้องกันโรคติดเชื้อไข้ซิกาที่ดีที่สุดคือประชาชนต้องป้องกันตัวเองไม่ให้ยุงกัด และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งในและนอกบ้านโดยสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ทายาป้องกันยุงกัด นอนกางมุ้ง และหลีกเลี่ยงการเดินทางไปพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ทั้งนี้หากเดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด แล้วมีอาการออกผื่น มีไข้ ตาแดง ปวดข้อปวดศีรษะ โดยอาการจะปรากฏหลังผู้ป่วยได้รับเชื้อภายใน 3-12 วัน ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีและแจ้งประวัติการเดินทางให้แพทย์ทราบด้วย  
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...