ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
สปท. พิจารณาวาระ วัฒนธรรมทางการเมือง – พรบ.คุมไซเบอร์
15 พ.ค. 2560

ที่ประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. ที่มีร้อยเอกทินพันธุ์ นาคะตะ เป็นประธาน มีวาระการประชุมรายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง เรื่อง “การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย” ซึ่งเป็นเรื่องในวาระการปฏิรูปสำคัญและเร่งด้วน 27 วาระ ในกลุ่ม “คน” โดยนายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ แถลงถึงที่มาความจำเป็น เพราะที่ผ่านมานักการเมืองในสายตาประชาชนมีภาพที่ไม่ดี แม้จะมีความพยายามเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยแต่นักการเมืองบางฝ่ายกลับใช้โอกาสเพื่อแสวงหาผลประโยชน์เพื่อทุจริตคอรัปชั่น จนนำมาซึ่งความแตกแยกในประชาชน และบัดนี้นักการเมืองเองก็ยังให้ความเห็นดิสเครดิสการทำงานของรัฐบาลและคสช. รายงานฉบับนี้จึงเป็นการวางรากฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพคน เพื่อเรียกความเชื่อมั่นในนักการเมืองกลับมา ให้นักการเมืองเป็นผู้แทนของประชาชนอย่างแท้จริง พร้อมกล่าวถึงการทำงานของคณะกรรมาธิการฯ เกี่ยวกับการสร้างความปรองดองด้วยว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ทำงานเรื่องนี้ในหลายรูปแบบ แต่ฝ่ายการเมืองไม่ยอมรับ ซึ่งขณะนี้การสร้างความปรองดองก็เป็นการดำเนินการโดยคณะกรรมการ ป.ย.ป. แล้ว ส่วนการทำงานของคณะกรรมาธิการฯ ก็ยังเดินหน้าศึกษาต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต

ด้านนายกษิต ภิรมย์ ประธานอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนว่าด้วยแผนการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง ที่ต้องเริ่มตั้งแต่พื้นฐานการศึกษาในโรงเรียน การสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียน มีการเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตย โดยเฉพาะครูที่ต้องรู้เรื่องหลักการประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ และความรู้ทางประวัติศาสตร์ ในทุกระดับการสอน รวมถึงหลักสูตรภาคบังคับในระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ต้องมีการศึกษาเรื่องพลเมืองภาคบังคับ รวมถึงขอให้มีรายการสื่อวิทยุเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย เพื่อสร้างทักษะให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า รวมถึงการพัฒนาในสื่อโซเชียลมีเดีย และขอให้รัฐบาลพิจารณาเรื่องวัฒนธรรมทางการเมืองเป็นวาระแห่งชาติ โดยเฉพาะการจัดตั้งโรงเรียนการเมือง เพื่อเป็นแกนกลางขับเคลื่อนวัฒนธรรมประชาธิปไตย

นอกจากนี้ ที่ประชุม สปท. จะมีการพิจารณาผลการศึกษาและข้อสังเกตร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. .... ที่มีสาระสำคัญเพื่อแก้ไขสัดส่วนคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ กปช. จากเดิมให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน เปลี่ยนเป็นให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รวมถึงให้สำนักงาน กปช. มีฐานะเท่ากับกรม ที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี จากเดิมที่เป็นเพียงหน่วยงานของรัฐในฐานะนิติบุคคล และให้ กปช.เป็นองค์กรศูนย์กลางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้อำนาจตอบสนอง รับมือ ตอบโต้เชิงรุกกับกรณีทีเกิดภัยคุกคามอย่างมีนัยสำคัญหรือร้ายแรง

ส่วนมาตรการรับมือและการปฏิบัติต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ให้อำนาจ กปช. สั่งการไปยังหน่วยงานของรัฐหน่วยงานเอกชนให้แก้ไข ยกเลิก หรือยุติการกระทำที่เป็นภัยต่อความมั่นคงไซเบอร์ทันที กรณีหน่วยงานรัฐไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่ากระทำผิดวินัย และส่งเรื่องให้ ครม.พิจารณาได้ ส่วนกรณีเอกชน ให้อำนาจ กปช. สั่งตรงไปยังหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการก่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ยุติการกระทำหรืองดเว้นการกระทำได้ทันที ถ้าเกิดกรณีที่จำเป็นซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากเอกชนก่อน หากหน่วยงานเอกชนไม่ยินยอมสามารถใช้มาตรการทางคำสั่งศาลได้ นอกจากนี้ ยังเสนอเพิ่มมาตรการลงโทษด้วยการจำคุกและปรับเงินด้วย หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...