ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
“พาณิชย์” ชี้ตัวเลขการเลิกกิจการและตั้งใหม่ เหตุเพราะปรับเปลี่ยนรูปแบบทางธุรกิจ-เหตุผลทางกฎหมาย
30 พ.ค. 2560

 นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และนางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า และโฆษกกระทรวงพาณิชย์ ร่วมชี้แจงว่า กรณีเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) กล่าวว่า “3 ปี คสช. ตกงานสูงสุด-ปิดกิจการเพิ่ม-ทุนไทยไหลออก” โดยระบุถึงข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่าในปี 2557 ที่เกิดรัฐประหาร มีจำนวนผู้จดทะเบียนธุรกิจลดลง ขณะที่หลังการรัฐประหารในปี 2557 ตัวเลขการเลิกกิจการกลับเพิ่มขึ้นนั้น

ข้อเท็จจริงเหตุการณ์ในปี 2557 ทำให้ผู้ประกอบการและธุรกิจมีความกังวลและเกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป นอกจากนั้นในปี 2556 เป็นปีที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่สูงสุดในรอบ 7 ปี (ปี 2550-2556) เนื่องจากมีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจค้าสลากเพื่อขอรับโควตาการจัดสรรสลากกินแบ่งรัฐบาลและมีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจวิทยุกระจายเสียงตามมาตรการของ กสทช. ทำให้การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ในปี 2557 เมื่อเทียบกับปี 2556 ลดลง อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่เริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อสถานการณ์มีเสถียรภาพมากขึ้นและความเชื่อมั่นฟื้นตัว โดยตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2560 (ม.ค.-เม.ย.) มีการจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 1 ร้อยละ 7 และร้อยละ 10 ตามลำดับ

นอกจากนั้น เมื่อเปรียบเทียบจำนวนการจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่และจำนวนจดทะเบียนเลิกกิจการ พบว่า จำนวนกิจการที่ยกเลิกยังมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนกิจการที่ตั้งใหม่อย่างมาก และเป็นที่น่าสังเกตว่าประเภทธุรกิจจดทะเบียนที่จัดตั้งใหม่และธุรกิจที่จดทะเบียนเลิกกิจการส่วนใหญ่เป็นกิจการในสาขาธุรกิจเดียวกัน อาทิ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สะท้อนว่า การยกเลิกกิจการและตั้งใหม่ดังกล่าวน่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบทางธุรกิจและมีเหตุผลทางกฎหมายมากกว่าความเชื่อมั่น/สถานทางเศรษฐกิจ และตอกย้ำตัวเลขทางสถิติที่พบว่าจำนวนการยกเลิกกิจการมักจะสอดคล้องกับจำนวนการจัดตั้งธุรกิจใหม่

 

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...