ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
ป.ป.ช. เสนอ ครม. วางมาตรการทุจริตเบิกจ่ายยา
21 ก.ค. 2560

ป.ป.ช. เสนอ ครม. วางมาตรการทุจริตเบิกจ่ายยา

       นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. กล่าวว่า สืบเนื่องจากปัญหาค่าใช้จ่ายในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 20,476 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2545 เป็น 46,481 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2550 และยังคงมีอัตราค่าใช้จ่ายที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ 71,016 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2559

      ในการนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษามาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการเบิกจ่ายยา ส านักงาน ป.ป.ช. ศึกษาวิเคราะห์เพื่อเสนอมาตรการปรับปรุงระบบการควบคุมการเสนอการขายยา การสั่งจ่ายยา และการใช้สิทธิรักษาพยาบาล เพื่อลดค่าใช้จ่ายดังกล่าว ทั้งนี้ จากการศึกษาวิเคราะห์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ส านักงาน ป.ป.ท. กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมบัญชีกลาง เป็นต้น

      ทั้งนี้ สาเหตุที่ค่ารักษาพยาบาลในระบบสวัสดิการของข้าราชการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดจากหลายปัจจัยและมีกระบวนการเกี่ยวข้องโยงใยเครือข่ายการทุจริต 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มผู้ใช้สิทธิและเครือญาติ กลุ่มสถานพยาบาลและบุคลากรในสถานพยาบาล และกลุ่มบริษัทจ าหน่ายยา โดยมีพฤติกรรม ได้แก่

1. พฤติกรรมช็อปปิ้งยา เป็นพฤติกรรมการใช้สิทธิโดยทุจริตของผู้มีสิทธิและเครือญาติ ทั้งที่เป็นผู้ป่วยหรือไม่มีอาการป่วย ด้วยการตระเวนใช้สิทธิของตนตามโรงพยาบาลต่างๆ หลายๆ แห่ง ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ขอรับยาเกินความจ าเป็นทางการแพทย์ บางรายน ายาที่ได้จากการรักษาไปจ าหน่ายต่อ

2. พฤติกรรมยิงยา เป็นพฤติกรรมการจ่ายยาของบุคลากรในสถานพยาบาลโดยทุจริต เช่น สั่งจ่ายยาเกินความจำเป็นของผู้ป่วยหรือสั่งจ่ายยาเพิ่มเติมที่ไม่เกี่ยวกับโรคของผู้ป่วย บันทึกข้อมูลสั่งจ่ายยาสูงกว่าที่จ่ายจริง สั่งจ่ายยาโดยไม่มีการรักษา โดยมีเป้าหมายจ่ายยาออกไปมากๆ เพื่อท ายอดจ าหน่ายยา เป็นการร่วมกันระหว่างบริษัท จำหน่ายยา สถานพยาบาลและบุคลากรในสถานพยาบาล มีการจ่ายค่าคอมมิชชั่น หรือเปอร์เซ็นต์ยา การเสนอผลประโยชน์ให้จากยอดจ าหน่ายในหลายรูปแบบ เช่น ตัวเงิน ยาแถม การดูงานต่างประเทศ

    ดังนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงอาศัยอ านาจตามมาตรา 19 (11) แห่งพระราชบัญญัติประกอบ

รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เห็นชอบให้มีข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ดังนี้

1. ข้อเสนอแนะเชิงระบบ

(1) เสนอให้ผลักดันยุทธศาสตร์การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use : RDU) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ค านึงถึงเหตุผลทางวิชาการในการตัดสินใจจ่ายยามากกว่าค านึงถึงผลประโยชน์จากบริษัทยา

(2) การเสนอให้มีศูนย์ประมวลข้อมูลสารสนเทศด้านยา ซึ่งเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลทุกสังกัด

และกรมบัญชีกลาง เพื่อตรวจสอบการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และในระหว่างที่ยังไม่มีศูนย์ประมวลข้อมูลสารสนเทศด้านยาดังกล่าว กรมบัญชีกลางต้องมีมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

(3) กำหนดหลักเกณฑ์การจัดซื้อยา เพื่อป้องกันการซื้อยาโดยมีผลประโยชน์ต่างตอบแทน

     ทั้งนี้ต้องน าเกณฑ์จริยธรรมที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการขายยา และหลักเกณฑ์ตามมาตรา 103/7 และมาตรา 123/5 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาเป็นเกณฑ์ในการจัดซื้อ

2. ข้อเสนอแนะเชิงภารกิจ

(1) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายด าเนินการอย่างเข้มงวด

(2) ผลักดันให้มีการปฏิบัติตามเกณฑ์จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขายยา

(3) ปลุกจิตส านึกของบุคลากรของรัฐ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

ในการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังพฤติกรรมการส่งเสริมการขายยา การสั่งจ่ายยา และการใช้สิทธิอย่างไม่เหมาะสม

(4) ผลักดันให้มีการจัดท ามาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสม ตามมาตรา 123/5

    แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้ภาคเอกชนมีมาตรการป้องกันไม่ให้บุคลากรของตนเสนอประโยชน์ให้แก่บุคลากรของรัฐ เลขา ปปช.กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...