ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ดีอียัน พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ไม่จำกัดสิทธิการแสดงความคิดเห็น แต่ควรเคารพสิทธิผู้อื่น
15 ส.ค. 2560

กระทรวงดิจิทัลฯ ยืนยัน พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ไม่จำกัดสิทธิการแสดงความคิดเห็น แต่ต้องเคารพสิทธิผู้อื่น ไม่ทำลายความมั่นคงของชาติ ย้ำเป็นไปตามหลักสากล

          กระทรวงดิจิทัลฯ ยืนยัน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ไม่ได้บัญญัติขึ้นเพื่อจำกัดสิทธิประชาชนในการแสดงความคิดเห็น แต่ต้องมีขอบเขตไม่ทำลายสิทธิผู้อื่น หรือทำลายความมั่นคงของชาติ ย้ำกฎหมายตั้งขึ้นตามหลักกติกาสากลทุกประการ

          นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ เปิดเผยว่า ประเด็นการกล่าวหาว่ารัฐบาลละเมิดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ด้วยการควบคุมการแสดงความคิดเห็นบนสื่อโซเชียลมีเดีย โดยการตั้งข้อกล่าวหาในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 แก่ นายประวิตร โรจนพฤกษ์ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ และนายวัฒนา เมืองสุข ตามที่ นายแบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฮิวแมน ไรท์วอทช์ ภาคพื้นเอเชีย ได้กล่าวอ้างและเผยแพร่ข่าวผ่านสื่อมวลชน นั้น

         กระทรวงดิจิทัลฯ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบกฎหมายดังกล่าว ขอชี้แจงทำความเข้าใจก่อนว่า หลักการพื้นฐานของการใช้สิทธิและเสรีภาพ ตามหลักสากล นั้น จะต้องไม่ไปกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัติของกฎหมายใดๆ

       สำหรับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ไม่ได้บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน หรือขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) แต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ได้ให้ประโยชน์ในการคุ้มครองคนดีที่รู้จักใช้สิทธิและเสรีภาพแบบพอดีโดยไม่เกินขอบเขตและรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น รวมทั้งสามารถป้องปรามผู้กระทำความผิดและช่วยดูแลโลกไซเบอร์ให้เกิดความพอดี เพื่อการรักษาสมดุลระหว่างสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกับความมั่นคงของประเทศ หรือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ

          ทั้งนี้ กรณีที่เกิดขึ้นต่อบุคคลดังกล่าว น่าจะเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ อาจก่อให้เกิดความปั่นป่วนในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร ดังนั้น จึงอาจเข้าข่ายซึ่งอยู่ในเงื่อนไขที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินความผิดตามมาตรา 14 (3) ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ได้ อย่างไรก็ตาม ทั้งสามกรณีดังกล่าว ยังอยู่ในชั้นของการกล่าวหาและการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ทั้งในชั้นการสอบสวน ชั้นอัยการ และชั้นศาล ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและตามหลักสากลทุกประการ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...