ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
เปิดประชุม “นิเวศทางการเกษตร”ในเอเชียและแปซิฟิก หนุนใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ
30 พ.ย. 2558

เปิดประชุม “นิเวศทางการเกษตร”ในเอเชียและแปซิฟิก" สนับสนุนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ส่งเสริมการขจัดความหิวโหยและภาวะโภชนาการ พร้อมลดการพึ่งพาการใช้สารเคมีทางการเกษตร

  นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวต้อนรับในพิธีเปิดการประชุมในหัวข้อ “การประชุมร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเรื่องนิเวศทางการเกษตรในเอเชียและแปซิฟิก (Multi-stakeholder Consultation on Agroecology in Asia and the Pacific)ซึ่งสำนักงานองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (FAO/RAP) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวโดยจัดการประชุมเป็นลักษณะโต๊ะกลมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนิเวศทางการเกษตร (Agroecology) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งกำหนดจัดในวันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2558 ณ โรงแรม อีสติน แกรนด์ โอเทล สาทร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางการลดความยากจนในชนบท การขจัดความหิวโหยและภาวะโภชนาการ รวมถึงการลดการพึ่งพาการใช้สารเคมี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเกษตรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  สืบเนื่องจาก FAO ได้จัดการประชุม Symposium on Agroecology for Food Security and Nutrition เมื่อเดือนกันยายน 2557 ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า นิเวศทางการเกษตร ควรอ้างอิงบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและหลักการของชุมชนและภูมิภาค ในประเด็นสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม จึงได้จัดการประชุมเกี่ยวกับนิเวศทางการเกษตรในภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ แอฟริกา เอเชียลาตินอเมริกา แคริบเบียน และมาจัดในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่กรุงเทพฯ ในครั้งนี้

 

                นายธีรภัทร กล่าวต่อไปว่า นิเวศน์ทางการเกษตร เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเกษตรทั้งระบบการผลิตพืช สัตว์ ประมง ป่าไม้ รวมถึงการท่องเที่ยวที่ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและภาคการเกษตร โดยการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบกับนิเวศทางการเกษตร อาทิ           1.การเกษตรที่ต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อผลผลิต โดยใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี พันธ์ลูกผสม เป็นต้น หากกระทำอย่างไม่ถูกต้อง ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในทางลบได้ เช่น ดินเสื่อม ศัตรูพืชระบาด ทำให้ต้องใช้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้น 2.การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น อุทกภัย และความแห้งแล้ง เป็นต้น 3.การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะเป็นรากฐานการผลิตที่ใหญ่ขึ้นที่เกี่ยวข้องกับประชากรจำนวนมาก โดยเกิดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิเวศทางการเกษตรมากขึ้น ได้แก่ การท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน มีการเดินทางเคลื่อนย้ายได้ง่ายและสะดวกขึ้น และกิจกรรมการเกษตรที่มีแหล่งผลิตและการตลาดที่ใหญ่ขึ้น

 

                สำหรับการประชุมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ภาคเกษตรกรรม นักวิทยาศาสตร์ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาครัฐบาล ซึ่งในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ มีผู้เชี่ยวชาญด้านระบบปลูกพืช กรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยมีหัวข้อการประชุม ดังนี้ 1. นิเวศทางการเกษตรหนทางสู่ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการเพื่อการเปลี่ยนแบบแผนการทำการเกษตรในทวีปเอเชีย (Agroecology as a Path to Food and Nutrition Security for Agricultural Transition in Asia) 2.นิเวศทางการเกษตรและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (Agroecology and the use of natural resources in the context of climate change) 3.นิเวศทางการเกษตรนวัตกรรมทางสังคม การดำรงชีพและเทคโนโลยี (Agroecology: Social innovation,Livelihoods and Technology) และ 4.นโยบายสาธารณะซึ่งรวมถึงกฎหมายและกรอบนโยบายและการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมนิเวศทางการเกษตร (Public Policies(including Legal and Institutional Frameworksto Promote Agroecology)        

 

“รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมระบบนิเวศทางการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนการลดการพึ่งพาใช้สารเคมี เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยด้านโภชนาการและความมั่นคงทางอาหาร พร้อมทั้งส่งเสริมการเตรียมความพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน สำหรับการประชุมในครั้งนี้ จะเป็นการร่วมวิเคราะห์ปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อนิเวศทางการเกษตรในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ตลอดทั้งหาแนวทางป้องกันและการแก้ไขปัญหา ซึ่งผลจากการหารือดังกล่าวจะนำเสนอต่อรัฐบาลไทยและประเทศสมาชิก เพื่อเป็นแนวทางนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อระบบนิเวศทางการเกษตรของประเทศต่อไป” นายธีรภัทร กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...