ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
หมอแนะอาหาร ออกกำลังกาย สลายโรคหัวใจ
28 ก.ย. 2560

กรมการแพทย์เผยคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้น เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน แนะเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงจากอาหารไขมันสูง สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หันมาออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง

นายแพทย์ณรงค์  อภิกุลวณิช  รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า สมาพันธ์หัวใจโลก กำหนดให้วันที่  29 กันยายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์หัวใจโลก โดยมีประเด็นในการรณรงค์สำหรับปีนี้ คือ “แบ่งปันพลังใจ (Share the the power)” เนื่องจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและของโลก ซึ่งจากข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลก พบว่าในปีพ.ศ. 2555 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ 7.4 ล้านคน และข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในช่วงปี พ.ศ.2555-2558 พบอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจต่อประชากร1แสนคน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี พ.ศ. 2558 พบอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 28.92 ต่อประชากร1แสนคน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน สะท้อนให้เห็นว่าโรคหัวใจขาดเลือดเป็นโรคที่รุนแรงและต้องได้รับการดูแล
อย่างเร่งด่วน การรณรงค์เน้นให้ประชากรในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้มีภาวะอ้วน สูบบุหรี่และไขมันในเลือดสูง หันมาดูแลตัวเองใส่ใจสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง เน้นให้ทุกคนร่วมแบ่งบันวิธีสร้างพลังให้หัวใจของตนเองและมอบกำลังใจแก่คนรอบข้าง

สำหรับแนวทางการเพิ่มพลังให้ชีวิต ประกอบด้วย 1) การเติมพลังหัวใจ คือ การรับประทานอาหารและดื่มน้ำอย่างเหมาะสม งดการรับประทานอาหารสำเร็จรูปและแปรรูป ซึ่งมีโซเดียม น้ำตาลและไขมันสูง ลดการบริโภคเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลและน้ำผลไม้ที่มีรสหวาน รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่  เน้นผัก ผลไม้ให้ได้ 5 ส่วนต่อวัน หากมีเวลาควรจัดเตรียมอาหารเพื่อสุขภาพมื้อกลางวันมาจากบ้าน งดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2) การขยับหัวใจ คือ ทำตัวให้กระฉับกระเฉงสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ด้วยความถี่ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่มีข้อควรระวังในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนจะเริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจัง หากิจกรรมทำระหว่างอยู่บ้าน เช่น เดินชมสวน ปลูกต้นไม้ ทำความสะอาดบ้าน เต้นรำ ปั่นจักรยาน แอโรบิค หากอยู่ที่ทำงานควรขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ หรือหากที่ทำงานอยู่ใกล้บ้านสามารถเดินหรือปั่นจักรยานแทนการขับรถยนต์  

รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ มักเหนื่อยง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะเวลาทำงาน จุกแน่นหน้าอก จะมีอาการจุกบริเวณยอดอกตรงกลางมักเป็นในขณะออกกำลังกาย หลังจากหยุดออกกำลังกายอาการจะดีขึ้น มีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับ และอาการเจ็บนี้จะปวดร้าวไปที่หัวไหล่ซ้ายหรือไปที่กราม ถ้าอาการเจ็บหน้าอกนี้เป็นนานเกินกว่า 5 นาที พักแล้วไม่ทุเลาหรืออาการเจ็บรุนแรงขึ้นเรื่อยๆต้องรีบไปพบแพทย์ทันที  

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...