ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
คสช. เดินหน้ารับเรื่องร้องเรียนทุจริตและความเดือดร้อนประชาชน พร้อมปรับการทำงานโดยใช้กลไกระดับพื้นที่ช่วยติดตามผลความคืบหน้า
24 พ.ย. 2560

ี่กองบัญชาการกองทัพบก มีการประชุมคณะทำงานกลั่นกรองเรื่องร้องเรียนการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดย พลโท สิงห์ทอง หมีทอง รองเสนาธิการทหารบก ในฐานะหัวหน้าคณะทำงาน ฯ เป็นประธาน  ซึ่งประธานให้ความสำคัญต่อการติดตามผลความคืบหน้าและผลสำเร็จของการดำเนินการต่อเรื่องร้องเรียนที่ผ่านการกลั่นกรองของคณะทำงานฯ โดยเฉพาะเรื่องที่ส่งผลกระทบหรือสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน

สำหรับการทำงานของศูนย์รับเรื่องร้องเรียนฯ ในขณะนี้มีการปรับรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเรื่องร้องเรียนที่ผ่านการกลั่นกรองจาก คณะทำงานฯแล้ว จะมีการส่งข้อมูลให้หน่วยงานระดับพื้นที่ในสายงาน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรโดย ศปป.1 และ ศปป. 4  ,กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย และ กองกำลังชายแดนของกองทัพบก  เข้าช่วยตรวจสอบเบื้องต้นและติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินการให้มีความชัดเจนและรวดเร็วยิ่งขึ้น ก่อนส่งผลการปฏิบัติโดยรวมให้ ศอตช. ดำเนินการต่อไป  


คณะทำงานได้สรุปการดำเนินงานต่อเรื่องร้องเรียนที่ประชาชนแจ้งผ่าน ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ คสช. ตลอดระยะเวลา ๔ เดือนตั้งแต่ กรกฎาคม – พฤศจิกายน ๒๕๖๐  ซึ่งมีประชาชนร้องเรียนความเดือดร้อนในลักษณะต่างๆ เข้ามาจำนวน ๓,๐๑๒ เรื่อง แยกเป็น การแจ้งผ่านสายด่วน ๑,๐๒๔ เรื่อง , ตู้ ปณ. ๑,๔๓๑ เรื่อง , แจ้งด้วยตนเองในส่วนกลาง ๑๘๖ เรื่อง และแจ้งผ่านศูนย์รับเรื่องในภูมิภาค/หน่วยทหารทั่วประเทศอีก ๓๗๑ เรื่อง โดยข้อมูลส่วนใหญ่ยังคงเป็นการร้องเรียนเรื่องการประพฤติมิชอบ และการขอความช่วยเหลือจากปัญหาความเดือดร้อน อาทิ ปัญหาที่ดินทำกิน, ข้อพิพาททางกฎหมาย, การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคในชุมชน และความล่าช้าในการได้รับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ เป็นต้น ซึ่งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนฯ โดยคณะทำงานกลั่นกรองได้นำข้อมูลทั้ง ๓,๐๑๒ เรื่อง เข้าสู่กระบวนการพิจารณากลั่นกรองเป็นวงรอบทุกสัปดาห์ ควบคู่ไปกับการส่งต่อเรื่องร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเรื่องที่เป็นการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐโดยตรง จะถูกส่งให้ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนเรื่องที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชนจะส่งให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความเดือดร้อนนั้นๆ ดำเนินการแก้ไขตามอำนาจหน้าที่  

สำหรับผลการกลั่นกรองเรื่องร้องเรียนทั้ง ๓,๐๑๒ เรื่อง ในช่วง ๔ เดือนที่ผ่านมาสรุปได้ดังนี้  
๑. ส่งเรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐมีพฤติกรรมเข้าข่ายประพฤติมิชอบให้ ศอตช. ดำเนินการตามกรรมวิธี จำนวน ๔๔๗ เรื่อง โดย ศอตช. ได้นำเข้าสู่กรรมวิธีเรียบร้อยแล้ว ๒๗๐ เรื่อง ในจำนวนนี้มีผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรียบร้อยแล้ว จำนวน ๗๒ เรื่อง พร้อมกับได้นำเรื่องเข้าสู่การดำเนินคดีตามกฎหมาย ตามความผิดในกรณีต่างๆ เช่น  กรณีละเลยให้มีการปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำน้ำสาธารณะและปัญหามลพิษ  ,กรณีเอื้อประโยชน์การเสนอราคาสร้างถนน  , กรณีรายงานข้อมูลเท็จในการเบิกเงินช่วยเกษตรกร , กรณีการจัดซื้อถุงยังชีพช่วยเหลือน้ำท่วมไม่ตรงตามความเป็นจริง  , กรณีเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ประกอบการไม้แปรรูป   กรณีการเบิกเงินค่าจ้างแรงงาน แต่กลับใช้เครื่องจักรทำแทน  เป็นต้น  

๒. เรื่องที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชน โดยไม่เกี่ยวกับการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ได้ส่งเรื่องไปให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๑,๔๖๕ เรื่อง เพื่อเข้าสู่กระบวนการแก้ไขบรรเทาความเดือดร้อนตามช่องทางที่รัฐบาลมีอยู่
 
 ๓. เรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จำนวน ๓๑๕ เรื่อง ได้ส่งเรื่องให้ต้นสังกัดดำเนินการสอบสวน และมีผลการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว จำนวน ๓๓ เรื่อง
๔. เรื่องร้องเรียนที่ข้อมูลยังไม่เพียงพอ และรอรับรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้ร้อง ๒๑ เรื่อง โดยจะนำเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองในห้วงต่อไป
๕. เรื่องร้องเรียนที่ไม่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะสามารถดำเนินการได้ ๗๖๔ เรื่อง

อย่างไรก็ตาม ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนฯ ยังดำรงวัตถุประสงค์เดิมในการจัดตั้ง คือ จะให้ความสำคัญกับเรื่อง การทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นอันดับแรกก่อน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...