ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
กระแสตั้งอธิบดีกรมป่าไม้ ยังไม่สะเด็ดน้ำ
19 ธ.ค. 2560

                เมื่อ นายชลธิศ สุรัสวดี ถูกโยกจากอธิบดีกรมป่าไม้ ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและอยู่ระหว่างการพิจารณาแต่งตั้งอธิบดีกรมป่าไม้คนใหม่ หากดูข้าราชการในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีคุณสมบัติที่โดดเด่นและผ่านงานมาอย่างโชกโชน และเป็นหนึ่งในผู้ที่มีโอกาสก้าวขึ้นเป็นอธิบดีกรมป่าไม้คนใหม่ คงไม่พ้น นายอดิศร นุชดำรงค์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ซึ่งจบการศึกษา ระดับปริญญา M.F.S ( social Forestry) Yale University U.S.A และยังจบ วนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รุ่น 44 จะเกษียณอายุราชการ ในปี 2564

                นายอดิศร นุชดำรงค์ กล่าวกับ “อปท.นิวส์” ว่า จริงๆแล้วบรรดารุ่นพี่ รุ่นน้องที่เรียนจบมาจากโรงเรียนป่าไม้ สามารถขึ้นเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ได้ทุกคน ซึ่งแต่ละคนมีทั้งจุดเด่น จุดด้อยที่แตกต่างกัน ประการสำคัญขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชาว่าจะหยิบจุดเด่นของใครขึ้นมาพิจารณาและให้ความไว้วางใจ มากน้อยแค่ไหน เพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาของกรมป่าไม้ที่สะสมมานาน

              “ตอนนี้พื้นที่ป่าของเราถูกบุกรุกเย่อะมาก ประกอบกับอัตรากำลังที่อยู่ในภูมิภาค พูดง่ายๆ ไม่ได้เป็นสัดเป็นส่วน เป็นที่เป็นทาง ไม่เหมือนกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชซึ่งมีพื้นที่ชัดเจน ทำให้การดูแลป่าของกรมป่าไม้ กระจัดกระจาย ควรต้องมีการปรับโครงสร้าง ปรับอัตรากำลังกันใหม่ทั้งหมด”นายอดิศร กล่าว

                ต่อข้อถามผู้สื่อข่าวว่า พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เจ้ากระทรวงฯเคยเรียกพบเพื่อพูดคุยข้อราชการบ้างหรือไม่ นายอดิศร บอกว่า ยังไม่เคย ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า แล้วอย่างนี้จะอยู่สายตา รมต.ได้อย่างไร ทางนายอดิศรตอบว่า คงมีแต่ผลงานเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าเราทำงานได้ แต่ผมว่าโอกาสมันคงน้อย ต้องทำความเข้าใจว่า ตำแหน่งผู้ตรวจราชการก็เหมือนๆ กับกระทรวงฯอื่น มีงานในหน้าที่ แต่ว่า “ไม่มีเนื้อที่ในการทำงาน” ที่ชัดเจน ตำแหน่งผู้ตรวจก็ตรวจทุกมิติ ไม่ได้เน้นป่าไม้อย่างเดียว โอกาสพูดคุยกับปลัดกระทรวงฯก็น้อย เหมือนถูกจำกัด หากผู้ใหญ่มอบหมายอะไรมาก็ทำ ไม่สั่งก็ทำงานไปตามหน้าที่

                  ผู้สื่อข่าวถามว่าหากได้รับเลือกเป็นอธิบดีกรมป่าไม้จะทำอะไรบ้าง นายอดิศร กล่าวว่า ต้องดำเนินงานตามนโยบายของรัฐมนตรี และจะเร่งแก้ปัญหาเรื่องบุคคลในองค์กร เพราะทุกวันนี้ที่เกิดปัญหาคือตัวบุคคล ไม่ได้เกิดความขัดแย้งอะไรในพื้นที่ ขึ้นอยู่กับผู้บริหารต้องนิ่งและอยู่ในกรอบ ขณะที่การบริหารงานก็ยังคร่อมไปคร่อมมากันอยู่ หากตนเป็นอธิบดีกรมป่าไม้จะให้อำนาจกับภูมิภาค  ที่ผ่านๆมา ผอ.สำนัก ไม่สามารถจะแต่งตั้งโยกย้ายคนในระดับหัวหน้าหน่วยงานภาคสนามได้เลย ขึ้นอยู่กับอธิบดีกรมป่าไม้เพียงคนเดียว ทำให้หัวหน้าภาคสนามไม่เกรงใจผอ.สำนัก ตัวอย่าง หัวหน้าอุทยานฯ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ไม่เกรงใจผอ.สำนักสักเท่าไหร่ เพราะถือว่าขึ้นกับอธิบดี ในการแต่งตั้งโยกย้ายเพียงคนเดียว ทำให้มีการวิ่งเข้าหาอธิบดีอย่างเดียว ส่วนอธิบดีก็ไม่สามารถย้าย ผอ.สำนักได้ ทำให้ผอ.สำนักไม่เกิดการเกรงใจ เพราะผอ.สำนักก็วิ่งหาปลัด จริงแล้วหากจะกระจายอำนาจจริง ปลัดกระทรวงฯต้องให้อำนาจอธิบดี และอธิบดีก็มอบอำนาจให้ ผอ.สำนัก ให้ย้ายคนในหน่วยของตัวเองได้ แต่ทุกวันนี้เหตุเพราะ กฎ ก.พ.บังคับอยู่ แต่ก็สามารถเปลี่ยนถ่ายได้โดยการมอบอำนาจ  แต่นี้คือความคิดส่วนตัว เอาเข้าจริงแล้วไม่รู้ว่าปลัดกระทรวงฯจะเห็นด้วยกับตนหรือไม่ แต่ตนพร้อมที่จะถ่ายโอนอำนาจให้กับสำนักในพื้นที่ เพื่อจะได้เป็นผู้พิจารณาลูกน้องตัวเองว่าใครเหมาะสมอย่างไร โดยมีสิทธิ์เสนอย้ายได้เลย

                 ข่าวแจ้งว่า สำหรับผู้ที่อาจจะถูกเสนอชื่อให้เป็นอธิบดีกรมป่าไม้ มีทั้งหมด 7 คน ประกอบด้วย 1 ) นายสมชัย มาสเถียร รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ป่าไม้แพร่ รุ่น 21 ) เกษียณอายุราชปี 2561  2) นางสาวสุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (วน.43 ) เกษียณอายุ ราชการ ปี 2562  3) นายพงศ์บุญย์ ปองทอง  รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (วน.46) 4) เกษียณอายุ ราชการ ปี 2565 นายเสริมยศ สมมั่น หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (วน. 44 ) เกษียณอายุ ราชการ ปี 2562  5) นายอดิศร นุชดำรง ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (วน.44) เกษียณอายุ ราชการ ปี 2562  6) นายประลอง ดำรงไทย ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (วน.43) เกษียณอายุ ราชการ ปี 2563 7) นายรัฐฎา  สุริยกุล ณ.อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (วน.46)  เกษียณอายุ ราชการ ปี 2566

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...