ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
เปิดตัว Mobile Application “RDU รู้เรื่องยา” ครั้งแรกกับการให้ข้อมูลด้านยาที่ถูกต้องผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือ
10 ม.ค. 2561

          เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 เวลา 13.00  น.  ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์  จัดการแถลงข่าวเปิดตัว Mobile Application “RDU รู้เรื่องยา” ครั้งแรกกับการให้ข้อมูลด้านยาที่ถูกต้องผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือ

          คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์  ร่วมกันจัดการแถลงข่าว เปิดตัว Mobile Application “RDU รู้เรื่องยา” ครั้งแรกกับการให้ข้อมูลด้านยาที่ถูกต้องผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือ โดยแอปพลิเคชั่นนี้เป็นผลงานจากโครงการพัฒนานวัตกรรม Mobile Application ของหน่วยงานภาครัฐที่นำร่องโครงการ Health Tech ของประเทศไทย ซึ่งได้ออกแบบและพัฒนาสถาปัตยกรรม ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการจัดทำข้อมูลความรู้ด้านยาที่เป็นประโยชน์ให้แก่คนไทยได้นำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ความรู้ด้านยา

           ศาสตราจารย์นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ที่มาของการพัฒนาแอปพลิเคชั่น “RDU รู้เรื่องยา” เกิดขึ้นจากแรงสนับสนุนในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (Rational Drug Use : RDU) สามารถรับทราบข้อมูลยาที่ใช้ได้อย่างถูกต้อง และลดความซ้ำซ้อนในการใช้ยารักษาโรค ซึ่งแอปพลิเคชั่นนี้ได้รับนโยบายสำคัญจากรัฐบาล ในการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 

          การพัฒนาแอปพลิเคชั่น “RDU รู้เรื่องยา” จะเริ่มใช้งานในโรงพยาบาลรามาธิบดี ไปพร้อมกับโรงพยาบาลอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์ในการเข้าถึงฉลากยาและข้อมูลที่เข้าใจง่าย สะดวก เชื่อถือได้ รวมทั้งยังสามารถบันทึกข้อมูลยาที่ตนเองได้รับจากโรงพยาบาลต่าง ๆ (personal  drug information) ไว้ในโทรศัพท์มือถือ และยังสามารถใช้แสดงรายการยาที่ได้รับแก่แพทย์ เภสัชกร เมื่อมาพบแพทย์ในครั้งต่อไปอีกด้วย

          นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พร้อมให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลโครงสร้างพื้นฐานด้วยการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลบนระบบ GCloud หรือ บริการคลาวด์ภาครัฐที่มีมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยระดับสากล ในโครงการพัฒนานวัตกรรม Mobile Application "RDU รู้เรื่องยา" ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันจากหน่วยงานภาครัฐที่นำร่องโครงการ Health Tech ของประเทศไทย โดยได้ออกแบบและพัฒนาสถาปัตยกรรม ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในการจัดทำข้อมูลความรู้ด้านยาที่เป็นประโยชน์มหาศาลในการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีและยั่งยืนให้กับคนไทยในวันนี้ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้แล้วฟรี ทั้งในระบบ Android และ iOS

          ศาสตราจารย์นายแพทย์วินัย วนานุกูล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า การใช้งานแอปพลิเคชั่นสามารถทำได้ง่าย การดาวน์โหลดผ่านโทรศัพท์มือถือ เมื่อเข้าใช้งาน ท่านสามารถใช้งานในเมนูต่าง ๆ ได้แก่

           เมนูการสแกน QR Code บนซองยาเพื่อดูข้อมูลยา และบันทึกข้อมูลยาที่ได้รับ

           เมนูข้อมูลยา เพื่อค้นหาข้อมูลยาที่ได้รับ และเพื่ออ่านฉลากยา

           เมนูข่าวสารเรื่องยา เพื่อรับทราบข่าวสารเกี่ยวกับยาที่ทันสมัย

           เมนูสาระยาน่ารู้ เพื่อรับทราบวิธีการใช้ยาแต่ละประเภทอย่างถูกต้อง

           เมนูโรงพยาบาลและร้านยา เพื่อค้นยาโรงพยาบาลและร้านยาใกล้ตัวที่ท่านต้องการใช้บริการ

          ซึ่งการใช้งานแอปพลิเคชั่นนี้ สามารถทำการลงทะเบียนก่อนเข้าระบบ เพื่อการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพสำหรับการบันทึกข้อมูลการใช้ยาของท่าน และข้อมูลส่วนตัวที่ปรากฏจะแสดงก็ต่อเมื่อทำการ Login เรียบร้อยแล้ว

          จุดเด่นของแอปพลิเคชั่นนี้คือ การสแกน QR Code บนซองยาเพื่อดูข้อมูลของยาและบันทึกรายการยาที่ได้รับจากสัญลักษณ์ QR Code บนซองยาและใบสรุปรายการยา โดยจะแสดงลำดับยา วันที่และเวลาที่ได้รับยา รูปภาพยา ชื่อของโรงพยาบาลที่ได้รับยา จำนวนยา ชื่อสามัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษของยา รวมทั้งชื่อทางการค้าของยา 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...