ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
ตัวแทนเครือข่ายกู้ชีพ-กู้ภัย มูลนิธิ องค์กรการกุศล 4 ภูมิภาค เข้าร้องเรียนผ่านนายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ช่วยคัดค้านประกาศ สพฉ. เรื่องหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ พ.ศ.2560
17 ม.ค. 2561

          นายจุติไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ รับเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียน โดยรับฟังว่าเป็นเรื่องต้องช่วยดำเนินการส่งให้รัฐบาลเข้าใจมิติคนจนในชนบทนี้อย่างถ่องแท้ การที่มาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขออกมาตั้งมาตรฐานเรื่องหน่วยกู้ภัยนั้น มีช่องมีช่องโหว่ที่ควรปรับปรุงจริงในเรื่องของในเรื่องของการขาดบุคลากรที่มีการฝึกอย่างได้มาตรฐานเพื่อช่วยประชาชนให้ทันการณ์ 

          เพราะหน่วยพยาบาลที่มีแพทย์และพยาบาลเคลื่อนที่ประจำรถพยาบาลสามารถรองรับการบริการผู้ป่วยผู้ป่วยได้เพียงแค่ 25% ของของอุบัติเหตุทั้งหมดในขณะที่ต้องพึ่งใครหน่วยกู้ภัยในท้องถิ่นและท้องที่รองรับสถานการณ์ฉุกเฉินอีก 75% ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข ต้องการหน่วยกู้ภัยที่มีมาตรฐานให้สูงขึ้นแต่ใน ขณะเดียวกันมีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมอบรมแพงมากและมีฝึกเพียงแค่ 4 แห่งในประเทศไทยเท่านั้นไม่กระจายอย่างกว้างขวางจะทำให้จะทำให้ผู้ที่มีจิตอาสาเป็นหน่วยกู้ภัยฉุกเฉินเมื่อเข้าถึงสถานที่เกิดเหตุแต่ไม่สามารถไม่สามารถปฏิบัติการได้เพราะขัดกับประกาศประกาศของกระทรวงสาธารณสุขนี้ทำให้ทำให้ประชาชนประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บในท้องถนนต้องรอคอยรถพยาบาลที่ถูกต้องตามกฏหมายซึ่งอาจใช้เวลายาวนานกว่านานกว่า 4-5 เท่าของรถท้องถิ่น ทำให้ก็ทำให้ผู้ป่วยผู้ป่วยอาจถึงตายและพิการได้จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาเปิดศูนย์ฝึกประเทศและลดค่าใช้จ่ายในการใช้ฝึกอบรมที่เป็นค่าธรรมเนียม

          ด้านนายพิสิษฐ์ พงษ์ศิริศุภกุล เลขาธิการมูลนิธิพุทธธรรมฮุก 31 นครราชสีมา พร้อมตัวแทนเครือข่ายกู้ชีพ ทั้ง 4 ภูมิภาค คัดค้านประกาศ สพฉ. เรื่อง หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ พ.ศ.2560

          นายพิสิษฐ์ กล่าวว่า ประกาศฉบับดังกล่าว ส่งผลต่อเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัคร ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานระดับพื้นฐาน (First Responder: FR) ที่ได้ผ่านการอบรม และฝึกทักษะจนเชี่ยวชาญ ไม่สามารถลำเลียงผู้ป่วยได้ 

          ขณะที่ประกาศฉบับดังกล่าว ซึ่งได้ระบุเพิ่มเติม ว่าบุคลากรระดับ EMR ขึ้นไป ที่จะสามารถช่วยเหลือ และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้เท่านั้น ซึ่งทางปฏิบัติแล้วไม่มีพื้นที่ไหนจะปฏิบัติได้ เนื่องจากบุคลากรในระดับ EMR ในส่วนกลาง ยังมีน้อย ส่วนระดับภูมิภาคแทบจะไม่มีในบางพื้นที่รับผิดชอบ เพราะเฉลี่ยหนึ่งปี จะมีบุคลากรในระดับกล่าว สำเร็จออกมาไม่ถึง 200 คน

          จากข้อมูลบุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยปัจจุบันมี 3 ระดับ คือ ระดับพื้นฐาน First Responder (FR) ต่อมาคือระดับกลาง Basic Life Support (BLS) และระดับสูง Advance life support (ALS) หรือรถฉุกเฉินของโรงพยาบาลต่างๆ

          ขณะที่บุคลากรส่วนใหญ่ในมูลนิธิ สมาคม รวมทั้งกู้ชีพ-กู้ภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในระดับ FR ซึ่งผ่านการอบรม และทดสอบตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน ถึงจะขึ้นทะเบียนเป็น FR ได้ และข้อมูลย้อนหลังประมาณ 2 ปีก่อน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้ประกาศกำหนดในเรื่องการลำเลียงหรือรับส่งผู้ป่วยต้องเป็นระดับ Emergency Medical Responder (EMR) ซึ่งก็คือ FR ที่ผ่านการอบรมเพิ่มเติมอีก 16 ชั่วโมง แต่ในทางปฏิบัติปรากฏว่า สพฉ.ไม่สามารถดำเนินการปรับระดับขีดความสามารถของ FR ได้อย่างทั่วถึง  ซึ่งประกาศฉบับล่าสุดนี้ที่ระบุว่าการลำเลียงหรือรับส่งผู้ป่วยต้องเป็นบุคลากรระดับ EMR ขึ้นไป จะส่งผลโดยตรงต่อการปฏิบัติและเกิดความเสี่ยงแก่ผู้ป่วยที่รอการช่วยเหลืออย่างแน่นอน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...