ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
เดินหน้าปฏิรูปการผลิตสับปะรด เร่งเคลื่อนยุทธศาสตร์ระยะที่1
01 ก.พ. 2561

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญ ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ราชบุรี ชลบุรี พิษณุโลก และเพชรบุรี โดยปี 2560 พบว่า เนื้อที่เก็บเกี่ยวรวมทั้งประเทศ 0.527 ล้านไร่ ผลผลิต 2.175 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 4,129 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ร้อยละ 6.68 ร้อยละ 7.94 และ ร้อยละ 1.15 ตามลำดับ โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ปี 2560 อยู่ที่กิโลกรัมละ 4.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.18 บาท ของปี 2559 ร้อยละ 51.37 ส่วนราคาสับปะรดบริโภคสดปี 2560 อยู่ที่กิโลกรัมละ 10.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 13.45 บาท ของปี 2559 ร้อยละ 22.15

โดยสาเหตุที่ราคาลดลงเนื่องจากช่วงปี 2558- 2559 ราคาสับปะรดอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้เกษตรกรมีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น ส่งผล ให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก รวมทั้งสภาพอากาศแปรปรวนทำให้คุณภาพผลผลิตไม่ตรงตามความต้องการของโรงงานแปรรูปสับปะรด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาสับปะรดตามยุทธศาสตร์สับปะรดปี 2560-2569 ดังนี้

ด้านการผลิต โดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการผลิตสับปะรด มีกระทรวงเกษตรฯ เป็นหน่วยงานหลัก กำหนดพื้นที่เหมาะสมและกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพการผลิตสับปะรดโรงงานภายใต้ Agri-Map

ด้านการแปรรูป โดยคณะอนุกรรมการ ขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านอุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรด มีกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานหลัก กำหนดแนวทางการขับเคลื่อน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ศึกษาวิจัยและส่งเสริมการนำนวัตกรรม 2) ส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพ 3) ควบคุมคุณภาพบรรจุภัณฑ์สับปะรดให้ได้มาตรฐาน 4) การให้สิทธิประโยชน์หรือมาตรการจูงใจเพื่อส่งเสริมการลงทุน และ 5) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่จากสิ่งเหลือใช้จากกระบวนการแปรรูป

ด้านการตลาดและการส่งออก โดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการตลาดและการส่งออกสับปะรด มีกระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงาน หลัก ดำเนินการรณรงค์และส่งเสริมการบริโภคสับปะรดและผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ส่งเสริมการเจรจาทางการค้าเพื่อขยายตลาดใหม่

สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์สับปะรดด้านการผลิต ระยะที่ 1 (ปี 2561- 2564) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการผลิตสับปะรด มีมติเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการ ส่งเสริม 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 จังหวัดที่อยู่ในรัศมีรอบกลุ่มโรงงานฯ 100 กิโลเมตร เพื่อกำหนดเป็นพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสับปะรดเพื่อส่งเข้า โรงงานแปรรูปสับปะรด รวม 12 จังหวัด อาทิ อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ส่วนกลุ่มที่ 2 จังหวัดที่มีการปลูกสับปะรดโรงงานแต่อยู่ห่างไกลจากที่ตั้งของโรงงานแปรรูปสับปะรด กำหนดให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสับปะรดเพื่อเน้นการบริโภคผลสด อาทิ เชียงราย พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย และบึงกาฬ

ขณะนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนงาน โครงการ งบประมาณ ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่ม

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...