ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ปณท เตรียมขยาย ‘จุดรับพัสดุ’ รับอีคอมเมิร์ซโตทะลุ 3 ล้านล้าน
20 ก.พ. 2561

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) รุกขยาย จุดรับพัสดุ หรือ Drop off จุดให้บริการรับพัสดุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ค้าออนไลน์ที่จัดทำข้อมูลการฝากส่งผ่านระบบของไปรษณีย์ล่วงหน้าให้สามารถนำส่งพัสดุได้ทันทีครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพิ่มเป็น 1,000 แห่ง ณ ที่ทำการฯทั่วไทย ภายในปี 2561 รองรับมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซโตทะลุ 3 ล้านล้านบาทครั้งแรก ทั้งนี้ บริการดังกล่าว มีมาตรฐานในการจัดส่งที่ 1-2 วัน สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล และ 2-5 วัน สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด โดยรองรับการส่งน้ำหนักสูงสุดที่ 20 กิโลกรัม

นายวิบูลย์ เสรีชัยพร ผู้จัดการฝ่ายการบริหารลูกค้า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวว่า จากตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ระบุว่าในปี 2561 จะมีมูลค่าตลาดสูงทะลุ 3 ล้านล้านบาทเป็นครั้งแรก ไปรษณีย์ไทย จึงได้เตรียมแผนขยายจุดรับฝากส่งสินค้า (Drop off) บริการส่งสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ค้าออนไลน์ ที่จัดทำข้อมูลการฝากส่งผ่านระบบของไปรษณีย์ล่วงหน้าให้สามารถนำส่งพัสดุได้ทันที โดยครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

นายวิบูลย์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ไปรษณีย์ไทยได้เพิ่มจุดบริการรับพัสดุอย่างต่อเนื่อง สำหรับร้านค้าที่เป็นคู่ค้ากับมาร์เก็ตเพลส (Marketplace) และผู้รับรวบรวมการขนส่งต่างๆ อาทิ ลาซาด้า ช้อปปี ชิปป๊อบ ฯลฯ เพื่อรองรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็วจนถึงปัจจุบัน มีจุดให้บริการ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ต่างๆ มากกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ ครองอันดับจำนวนจุดให้บริการรับพัสดุมากที่สุดในไทย ซึ่งร้านค้าสามารถฝากส่ง ณ จุดบริการดังกล่าวได้ทุกแห่ง นอกจากนี้ ยังเตรียมขยายเพิ่มเป็น 1,000 แห่ง ภายในปี 2561

ทั้งนี้ จุดรับส่งสินค้า หรือ Drop off เป็นส่วนหนึ่งของบริการดี-โพสต์ (D-Post) ดี-แพคเกจ (D-Packet) บริการส่งสินค้าสำหรับธุกิจอีคอมเมิร์ซ และการจัดส่งสินค้าพร้อมเรียกเก็บเงินปลายทาง COD ที่มีมาตรฐานในการจัดส่งที่ 1-2 วัน สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล และ 2-5 วัน สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด โดยรองรับการส่งน้ำหนักสูงสุดที่ 20 กิโลกรัม

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...