ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
ปตท. มอบน้ำแข็งแห้ง สร้างฝนหลวงฯ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 20
02 มี.ค. 2561

       นายนพดล ปิ่นสุภา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. ได้มอบน้ำแข็งแห้งจำนวน 800 ตัน มูลค่ารวม 6,400,000 บาท (หกล้านสี่แสนบาท) ให้แก่ นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องใน “พิธีเปิดปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้ง ประจำปี 2561” ณ สนามบินนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อใช้ในปฏิบัติการทำฝนเทียมช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งทั่วประเทศ ซึ่ง ปตท. ได้สนับสนุนน้ำแข็งแห้งให้แก่โครงการฝนหลวงต่อเนื่องเป็นปีที่ 20  นับตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา รวมกว่า 10,320 ตัน และถังบรรจุน้ำแข็งแห้ง จำนวน 38 ถัง คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 84,400,000 บาท (แปดสิบสี่ล้านสี่แสนบาท) (รวมยอดปีนี้)

       โครงการฝนหลวงเกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ทุรกันดารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยทรงศึกษาข้อมูลด้านการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ เป็นเวลาถึง 14 ปี เพื่อหาวิธีทำฝนเทียมเพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ยากของราษฎร ตลอดจนเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค โดยเมื่อปี 2541 เกิดไฟป่าพรุโต๊ะแดง ที่ จังหวัดนราธิวาส พระองค์ได้ให้คำแนะนำในการใช้น้ำแข็งแห้งทำฝนเทียมเพื่อดับไฟป่า คณะทำงานฝนหลวงจึงได้ประสานงานกับ ปตท. เพื่อขอรับการสนับสนุนน้ำแข็งแห้ง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสนับสนุนน้ำแข็งแห้งเพื่อแก้ปัญหาความแล้งฝนนับตั้งแต่นั้น
ทั้งนี้ น้ำแข็งแห้ง เป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำฝนหลวง โดยเป็นตัวเพิ่มฝนและเร่งอัตราการตกของฝน ผลิตมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผลพลอยได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. โดยเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิประมาณ –79 องศาเซลเซียส ถูกนำมาผ่านกระบวนการอัดและทำให้เย็นลงภายใต้ความดันสูงกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เหลว แล้วลดความดันลงอย่างรวดเร็ว โดยการพ่นคาร์บอนไดออกไซด์เหลวสู่ความดันบรรยากาศ จะได้เป็นเกล็ดน้ำแข็งคล้ายเกล็ดหิมะ แล้วจึงนำมาอัดเป็นรูปแบบและขนาดต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ ซึ่งการสนับสนุนของ ปตท. นับเป็นการสร้างประโยชน์เพิ่มเติมให้กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนที่แยกออกจากก๊าซธรรมชาติ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...