ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ย้อนกลับ
แต่งตั้ง นายสกลธี ภัททิยกุล เป็นรองผู้ว่าฯ กทม.
11 เม.ย. 2561

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงนามคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 1215/2561 เรื่องให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามที่ได้มีคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 2650/2560 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2560 แต่งตั้ง พล.ต.อ.ชินทัต มีศุข เป็นรองผู้ว่าฯ กทม. อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 (3) และมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับข้อ 2 ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2559 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2559 จึงให้ พล.ต.อ.ชินทัต พ้นตำแหน่งรองผู้ว่าฯ กทม.และแต่งตั้ง นายสกลธี ภัททิยกุล เป็นรองผู้ว่าฯ กทม.

ขณะเดียวกัน พล.ต.อ.อัศวิน ได้ลงนามคำสั่ง กทม.ที่ 1216/2561 เรื่องให้ที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ กทม. ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าฯ กทม.พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ กทม. และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าฯ กทม. อาศัยตามอำนาจตามความในมาตรา 49 (3) มาตรา 56 และมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ผู้ว่าฯ กทม.จึงมีคำสั่ง ดังนี้ 1. นายศุภพงษ์ กฤษณพันธ์ พ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ กทม. 2. นายยุทธพันธุ์ มีชัย พ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ กทม. และ 3. พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิ์วงษ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าฯ กทม. และ แต่งตั้ง 1. พล.ต.อ.ชินทัต มีศุข ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ กทม. 2. พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิ์วงษ์ ตำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ กทม. และ 3. นายสมศักดิ์ ชาติสุขศิริเดช ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าฯ กทม.

นอกจากนี้ พล.ต.อ.อัศวิน ยังได้ลงนามคำสั่ง กทม.ที่ 1220/2561 เรื่องมอบหมายและมอบอำนาจให้รองผู้ว่าฯ กทม.สั่ง และปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าฯ กทม. เพื่อให้การปฎิบัติราชการแทนผู้ว่าฯ กทม. เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดย 1. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าฯ กทม. มีอำนาจสั่งการหรือปฏิบัติราชการเกี่ยวกับราชการของหน่วยงานหรือราชการ ได้แก่ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร สำนักการการโยธา สำนักการระบายน้ำ สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการจราจรและขนส่ง และสำนักงานเขตในส่วนทมี่เกี่ยวข้องกับฝ่ายโยธา ฝ่ายรักษาความสะอาด และสวนสาธารณะ และฝ่ายการคลัง

2. นางวรรณวิไล พรหมลักขโณ รองผู้ว่าฯ กทม. มีอำนาจในการสั่ง หรือการปฏิบัติราชการแทนเกี่ยวกับราชการของหน่วยงานหรือส่วนราชการ ได้แก่ สำนักการคลัง สำนักการศึกษา ยกเว้นการบรรจุแต่งตั้ง สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ก.ก.) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักงานการต่างประเทศและกองกลาง (ยกเว้นศูนย์รับแจ้งทุกข์) สำนักปลัด กทม. และสำนักงานเขตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายรายได้ ฝ่ายการศึกษาและโรงเรียนในสังกัด กทม.

3. นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าฯ กทม. มีอำนาจในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการแทนเกี่ยวกับราชการของหน่วยงาน หรือส่วนราชการ ได้แก่ สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนักผังเมือง สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร สำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปกครองและทะเบียน และกองงานผู้ตรวจราชการ สำนักปลัด กทม. การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร เฉพาะสำนักพัฒนาที่อยู่อาศัย และ สำนักงานเขตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ฝ่ายปกครองและทะเบียน

และ 4. นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าฯ กทม. มีอำนาจในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการแทนเกี่ยวกับราชการของหน่วยงานหรือส่วนราชการ ได้แก่ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักเทศกิจ สำนักพัฒนาสังคม สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักปลัด กทม. และสำนักงานเขตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายเทศกิจและฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ว่าฯ กทม. ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองผู้ว่าฯ กทม. เป็นผู้รักษาการแทนตามลำดับ ดังนี้ 1. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม 2. นางวรรณวิไล พรหมลักขโณ 3. นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ และ 4. นายสกลธี ภัททิยกุล โดยคำสั่งทั้งหมดมีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ลงนามเมื่อวันที่ 11 เมษายน

ทั้งนี้ พล.ต.อ.ชินทัต ให้สัมภาษณ์ว่า เพิ่งเห็นคำสั่งภายหลังเดินทางกลับมาจากปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมาย โดยการแต่งตั้งให้พ้นจากตำแหน่งรองผู้ว่าฯ กทม.ดังกล่าว มองว่า พล.ต.อ.อัศวิน ได้พิจารณาปรับตำแหน่งให้มีความเหมาะสม โดยส่วนตัวไม่ได้มีปัญหาขัดแย้งกับ พล.ต.อ.อัศวิน แต่อย่างใด เมื่อได้ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. ก็พร้อมปฏิบัติหน้าที่และยังคงช่วยงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็เป็นตำแหน่งเดิมก่อนตนเข้าดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้ว่าฯ กทม.

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...