ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ดีอี ดึงตัวแทนสหภาพ TOT-CAT ร่วมคณะทำงานศึกษา 4 บริษัทลูก
08 พ.ค. 2561

พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึงการจัดตั้งบริษัท โครงข่าย บรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด (NBN) และบริษัท โครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต จำกัด (NGDC) บริษัทลูกของ บมจ. ทีโอที หรือ TOT และบมจ. กสท โทรคมนาคม หรือ CAT เพื่อให้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี รวมถึงแนวทางการปรับโครงสร้างองค์กรตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งมีข้อห่วงใยของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจและพนักงานของ บมจ.ทีโอที และบมจ. กสท โทรคมนาคม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรอบคอบมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจของทั้ง 4 บริษัท มีความเข้มแข็งในระยะยาว

ดังนั้น กระทรวงดิจิทัลฯ จึงได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อพิจารณารายละเอียดด้านต่างๆ ในช่วงการเปลี่ยนผ่านนี้ โดยมีปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นประธานคณะทำงาน และประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ด้านเทคนิค ด้านการบริหารจัดการ และด้านการบริหารบุคคล ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้แทนจากคณะกรรมการของทั้ง 4 บริษัท กรรมการผู้จัดการใหญ่ของทั้ง 4 บริษัท ผู้แทนสหภาพ TOT และ CAT ผู้แทนพนักงานของ TOT, CAT, NBN และ NGDC ร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อให้การดำเนินงานของทั้ง 4 บริษัท ให้เป็นไปอย่างราบรื่น

รัฐมนตรี ดีอี ยังกล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หรือ "เน็ตประชารัฐ" เฟสที่ 2 จำนวน 15,732 หมู่บ้าน ที่กระทรวงดิจิทัลฯ ได้มอบหมายให้ บมจ.ทีโอที ดำเนินการนั้น จะมีการนำงบประมาณที่เหลือจากการดำเนินการในเฟสที่ 1 ที่ติดตั้งแล้วเสร็จครบ จำนวน 24,700 หมู่บ้าน มาดำเนินการในเฟสที่ 2 ต่อ ซึ่งมีงบเหลือประมาณ 2,600 ล้านบาท โดยจากการติดตั้งโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในเฟสแรกที่มีการเดินสายได้อย่างครอบคลุม ทำให้การดำเนินงานเฟสที่ 2 ไม่จำเป็นต้องเดินสายโครงข่ายใหม่ ซึ่งช่วยลดอุปสรรคในการทำงานได้ ในส่วนของโครงการอบรมหลักสูตรการพัฒนาวิทยากรแกนนำเพื่อการใช้ประโยชน์จากโครงการเน็ตประชารัฐ จะมีการอบรมกันอีกครั้งในช่วงเดือนมิถุนายน 2561 ซึ่งถือเป็นกลุ่มสุดท้ายของโครงการฯ ในการสร้างการรับรู้และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเน็ตประชารัฐไม่น้อยกว่า 1,000,000 คนทั่วประเทศ สอดคล้องตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของรัฐบาล

โดยจากการติดตั้งโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในเฟสแรกที่มีการเดินสายได้อย่างครอบคลุม ทำให้การดำเนินงานเฟสที่ 2 ไม่จำเป็นต้องเดินสายโครงข่ายใหม่ ซึ่งช่วยลดอุปสรรคในการทำงานได้ ในส่วนของโครงการอบรมหลักสูตรการพัฒนาวิทยากรแกนนำเพื่อการใช้ประโยชน์จากโครงการเน็ตประชารัฐ จะมีการอบรมกันอีกครั้งในช่วงเดือนมิถุนายน 2561 ซึ่งถือเป็นกลุ่มสุดท้ายของโครงการฯ ในการสร้างการรับรู้และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเน็ตประชารัฐไม่น้อยกว่า 1,000,000 คนทั่วประเทศ สอดคล้องตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของรัฐบาล

นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมา องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) ได้ทำความร่วมมือกับไทยในโครงการ Country Programme โดยไทยต้องการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับ OECD ในการขับเคลื่อนการพัฒนาและปฏิรูปประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ โดยโครงการฯ ดังกล่าวถือเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของไทยในอนาคต เกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิก OECD องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา โดยไทยจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนในการเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งไทยยังได้เชิญ OECD เข้ามาจัดประชุมในประเทศไทยอีกด้วย

ในส่วนของการดำเนินการด้านการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ซึ่งขณะนี้หลายๆ หน่วยงาน ทั้งระดับกระทรวง กรม เริ่มจัดทำข้อมูล Big Data กันมากขึ้น จากดำริของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้ทุกหน่วยงานเร่งวางขั้นตอนในการทำ Big Data โดยให้ทุกหน่วยงานวางแผนให้ครอบคลุมการเก็บข้อมูล รวมถึงการใช้ Big Data โดยศึกษาแนวทางของต่างประเทศให้ครบทุกมิติ และหน่วยงานใดมีความพร้อมก็เริ่มนำมาใช้ก่อน ซึ่งปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการดำเนินการอยู่แล้วทำให้สามารถนำออกมาใช้ได้ รวมถึงกระทรวงยุติธรรมที่มีการจัดเก็บเรื่องอัตลักษณ์บุคคล ก็เริ่มมีการนำออกใช้เป็นข้อมูลแล้ว นอกจากนี้ รมว.กระทรวงดิจิทัลฯ ยังได้มีการพูดคุยกับอธิการบดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อให้ช่วยส่งทีมร่วมออกแบบและจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ดังกล่าว

สำหรับความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. .... กระทรวงดิจิทัลฯได้มีการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ จะสามารถส่งเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ผ่าน ครม. แล้ว ก็สามารถส่งต่อเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...