ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
หม่อนไหมแปลงใหญ่ ปี’61 รุกต่อยอดไหมอุตสาหกรรม
04 มิ.ย. 2561

นางสุดารัตน์ วัชรคุปต์ เหล่าวิชยา อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตหม่อนไหมด้วยระบบแปลงใหญ่ว่า จากการที่กรมหม่อนไหมได้บูรณาการขับเคลื่อนพัฒนาการส่งเสริมปลูกหม่อนเลี้ยงไหมภายใต้ระบบเกษตรแปลงใหญ่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 ปัจจุบันมีหม่อนไหมแปลงใหญ่ รวม 9 แปลง อยู่ใน 7 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี นครราชสีมา น่าน อุดรธานี มุกดาหาร ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ รวมพื้นที่กว่า 3,419 ไร่ เกษตรกร จำนวน 1,106 ราย มีทั้งการผลิตไหมอุตสาหกรรม ไหมหัตถกรรม และหม่อนผลสดแปลงใหญ่ สามารถยกระดับประสิทธิภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้กับเกษตรกร รวมทั้งเพิ่มปริมาณผลผลิตใบหม่อนสูงขึ้นจากเดิม 1,800 กิโลกรัม/ไร่/ปี เป็น 2,500 กิโลกรัม/ไร่/ปี เพื่อที่จะเลี้ยงไหมให้ได้ผลผลิตรังไหมเพิ่มขึ้นจาก 90 กิโลกรัม/ไร่/ปี เป็น 130-140 กิโลกรัม/ไร่/ปี ขณะเดียวกันยังช่วยพัฒนาการผลิตรังไหมและเส้นไหมไทยให้มีคุณภาพมาตรฐาน พร้อมลดต้นทุน ช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาด และเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรด้วย

อย่างไรก็ตาม ปี 2561 นี้ กรมหม่อนไหม มีแผนเร่งสานต่อโครงการฯดังกล่าว ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขยายผลพื้นที่หม่อนไหมแปลงใหญ่เพิ่มมากขึ้น โดยมีเป้าหมายผลักดันแปลงที่มีศักยภาพและมีความพร้อมเข้าสู่ระบบหม่อนไหมแปลงใหญ่ จำนวน 16 แปลง ใน 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร เชียงราย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และชัยภูมิ รวมพื้นที่กว่า 4,187.50 ไร่ เกษตรกร 1,460 ราย เน้นส่งเสริมผลิตไหมอุตสาหกรรม และไหมหัตถกรรมป้อนตลาด เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตรังไหมและเส้นไหมภายในประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ และช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศอีกทั้งช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 50%

“ไทยถือเป็นผู้นำการผลิตไหมรังเหลืองหรือไหมหัตถกรรมที่มีศักยภาพสูง เป็นสินค้าคุณภาพและได้รับการยอมรับของตลาดโลก เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากไหมรังขาว โดยมีผลงานวิจัยยืนยันว่า ไหมรังเหลืองที่สาวด้วยมือลงกระบุง เปรียบเทียบกับไหมพันธุ์อื่นๆ ที่สาวด้วยเครื่อง พบว่า เส้นไหมรังเหลืองหรือไหมหัตกรรมมีความยืดหยุ่นสูง ทั้งยังมีความเหนียวและความนุ่มมากกว่า นอกจากนี้ เส้นไหมรังเหลืองยังมีความเลื่อมมัน ซักง่ายและไม่ยับ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสืบสานและอนุรักษ์ไหมไทยพื้นบ้านเอาไว้ตามพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าว 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...